ตรัง-ชาวบ้าน ต.นาข้าวเสีย อ.นาโยง จ.ตรัง ร้องน้ำประปาหมู่บ้านขุ่นเป็นสีแดง หรือสีชาเย็น เดือนร้อนหลายร้อยครัวเรือน มานานหลายปี ร้านอาหาร ซักอบรีด ร้านเสริมสวยกระทบหนัก วอน อบต.แก้ไขด่วน ด้านช่างอบต.นาข้าเสีย แจง ประปาหมู่บ้านสร้างตั้งแต่ปี 2529 เดิมอยู่ในความดูแลของคณะกรรมการหมู่บ้าน เพิ่งส่งมอบให้อบต. เมื่อ เมษายน 65 พบชำรุดหลายจุด อยู่ระหว่างตั้งงบซ่อมแซมระบบ วางท่อใหม่ตลอดสาย
พื้นที่ อ.นาโยง เป็นพื้นที่ติดเทือกเขาบรรทัด ฝนตกชุก เกิดน้ำป่าไหลหลากทุกปี น้ำท่วมทุกปี มีลำคลองสาขามากมาย มีระบบกักเก็บน้ำขนาดใหญ่ของชลประทาน มีคลองผันน้ำ น้ำท่าอุดมสมบูรณ์ แต่มีชาวบ้านกว่า 200 ครัวเรือน ติดกับที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลนาข้าวเสีย ต้องเผชิญกับปัญหาขาดแคลนน้ำกิน น้ำใช้ มายาวนานนับปี วอนหน่วยงานอบต.เร่งแก้ไขปัญหา และขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งระดับอำเภอ และจังหวัด ลงพื้นที่ไปดูสภาพปัญหาความเดือดร้อนของชาวบ้านด้วย
โดย ตัวแทนชาวบ้านหมู่ที่ 1 และ หมู่ที่ 4 ตำบลนาข้าวเสีย อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง นำผู้สื่อข่าวดูสภาพพื้นที่ปัญหาความเดือดร้อน จากการต้องประสบกับปัญหาน้ำประปาไม่ไหล .ไหลกระปริดกระปรอย และน้ำประปาสีขุ่นแดง จนไม่สามารถใช้อุปโภค บริโภคใด้ ทำเดือดร้อนทั้งหมู่บ้านรวมประมาณ 250 ครัวเรือน มานานหลายปี ซึ่งเป็นทั้งบ้านเรือนพักอาศัยที่มีทั้งเด็ก คนชรา เป็นทั้งแหล่งธุรกิจการค้า ร้านอาหาร ห้องเช่า โดยเฉพาะในระยะประมาณ 3-4 เดือนมานี้ เดือดร้อนหนักน้ำไม่ไหลติดต่อกันหลายวัน ไหลก็สีแดงมีดินโคลนออกมา ต้องเปิดน้ำทิ้งไว้ก่อนนานไม่ต่ำกว่าครึ่งชม.กว่าจะรองไว้ใช้ได้ ขณะที่เจ้าหน้าที่เปิด-ปิดน้ำเป็นเวลาช่วงสั้นๆ วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น ครั้งละประมาณ 2 ชม. ซึ่งชาวบ้านไม่ทันได้รองไว้ใช้ เพราะต้องปล่อยน้ำที่เป็นแดงทิ้งก่อน จึงจะรองรับไว้ใช้ได้ ก็ถึงเวลาเจ้าหน้าที่ต้องปิดน้ำ ทำให้เดือดร้อนหนัก ต้องซื้อน้ำใช้ในการอุปโภค บริโภค บางรายต้องขนน้ำจากแหล่งน้ำอื่นมาใช้ เช่น ขนน้ำจากบ่อน้ำตื้นที่อื่นมาใช้อาบ ซักผ้า ขนน้ำจากคูน้ำริมทาง หรือริมนามาใช้ในงานก่อสร้างบ้าน หรือใช้ล้างมือ ล้างเท้า ชาวบ้านได้เปิดน้ำให้ผู้สื่อข่าวดู พบว่าไม่มีน้ำไหลออกมา พร้อมกับพาผู้สื่อดูสภาพห้องน้ำที่มีคราบสีเหลืองเกาะแน่นที่พื้น ซึ่งเกิดน้ำประปาที่มีไม่สะอาด สีแดง ที่เปิดมาใช้ รวมทั้งดูน้ำในถังเก็บน้ำที่เปิดสำรองไว้ พบว่ามีสีขุ่นแดง โดยภาพถ่ายที่ชาวบ้านถ่ายเก็บไว้จะเห็นเป็นน้ำสีแดงไหลออกจากสายยางชัดเจน
ซึ่งชาวบ้านบอกเป็นเสียงเดียวกันว่าน้ำประปาที่นี่มีปัญหาคาราคาซังมายาวนานหลายปีแล้ว แต่หนักสุดขณะนี้ น้ำประปาไม่ไหลมานานนับเดือน หากไหลก็ไหลน้อย ซ้ำช่วงต้นๆ พบน้ำที่ไหลมีลักลักษณะขุ่นจนคล้ายกับโคลน ชาวบ้านต้องเปิดน้ำขุ่นโคลนนั้นทิ้งนานนับครึ่งชั่วโมง กว่าจะเก็บน้ำมาใช้ได้ ซึ่งบ้านไหนที่มีเด็กนักเรียนก็จะลำบาก เพราะเมื่อนำน้ำมาซักผ้าขาว ทำให้เสื้อมีคราบสีเหลืองเกาะแน่น ดูสกปรก พื้นห้องน้ำก็สกปรก บางคนต้องไปอาบน้ำในลำคลอง ซึ่งทำให้เกิดผดผื่น ร้านรับซักรีดภายในหมู่บ้านต้องหยุดรับซักผ้าให้ลูกค้า เพราะไม่มีน้ำสำหรับใช้ซักผ้า ลูกค้าก็หนีหาย โดยครั้งนี้ชาวบ้านต้องเผชิญปัญหาน้ำประปาไม่ไหนนานนับเดือน ในขณะเดียวกันอัตราค่าน้ำประปา ราคาหน่วยละ 6 บาท ชาวบ้านก็ต้องจ่ายค่าน้ำ ไม่ว่าน้ำที่เปิดมาจะใช้ได้หรือไม่ แต่เมื่อเปิดน้ำมิเตอร์ก็ทำงาน ค่าบริการก็เกิดขึ้น ชาวบ้านก็ต้องยอมจ่ายค่าน้ำมากขึ้น บางรายรองน้ำฝนใช้ ต้นไม้ก็ไม่มีน้ำรด ต้องรอน้ำฝนอย่างเดียว
ข่าวน่าสนใจ:
- คึกคัก นาย"บุ่นเล้ง" อดีตนายกอบจ.ตรัง นำทีมนายกบุ่นเล้ง สมัครครบ 30 เขต ท่ามกลางกองเชียร์คับคั่ง
- ตรัง "โลกเปลี่ยน เราไม่เปลี่ยน" บอกรักทะเลด้วยสองมือ ณ หาดฉางหลาง ทะเลตรัง ก้าวขา-พาสองมือเก็บขยะทะเล รังสรรค์งานศิลป์
- รับสมัคร นายกอบจ.-ส.อบจ.ตรัง วันแรกคึกคัก! บ้านใหญ่ตระกูลโล่ฯ-ส.ส.ตรังทุกพรรค-กองเชียร์นับพัน แห่ให้กำลังใจ “ทีมนายกบุ่นเล้ง” สู้ศึกอีกสมัย…
ร้านขายอาหารบางร้านต้องปิดกิจการ เพราะซื้อน้ำมาใช้ไม่ไหว ห้องเช่าทำธุรกิจไม่มีคนเช่า ส่วนเจ้าของร้านเสริมสวยซึ่งจำเป็นอย่างมากในต้องซื้อน้ำถัง ขนาด 10 ลิตร ไว้สำหรับบริการลูกค้า ที่มาสระ-ไดร์ หรือ ทำเสริมสวยอื่นๆ ต้องซื้อน้ำถังละ 12 บาท
นางวาสนา กิ้มแก้ว เจ้าของร้านของชำ หมู่ 1 ต.นาข้าเสีย อ.นาโยง จ.ตรัง พาดูสภาพห้องน้ำ ที่ในถังมีน้ำสีขุ่น พื้นห้องน้ำที่สกปรก สภาพเสื้อผ้า รวมทั้งชุดนักเรียนของลูก ที่ยังคงต้องทิ้งไว้ ไม่มี่น้ำซัก และมีคราบสีแดงฝังแน่นจากการซักผ้าด้วยน้ำประปา
นางสาวญัยดา ไพริน บอกว่า น้ำประปาที่ไม่สะดวก บ้านที่กำลังสร้างจากกำหนด 6 เดือนเสร็จ ตอนนี้ 8 เดือนแล้วก็ยังไม่เสร็จ ปัญหาสำคัญคือน้ำ ต้องทนใช้น้ำสีแดงขุ่น ขณะที่คนงานไม่มีน้ำล้างมือ ล้างหน้าเวลาจะพักเที่ยงกินข้าว ก็ต้องมาขนน้ำจากในคูน้ำข้างทางไปใช้ ล้างมือ ล้างเท้า เดือดร้อนหนัก
ทางด้านคุณยาย ก็บอกว่า บางวันขึ้นจากนา มาจะอาบน้ำกินข้าวไม่มีน้ำอาบ ไปลงนาอีกกลับมาตอนเย็น ก็ไม่มีน้ำอาบอีก ต้องล้างมือ ล้างหน้าล้างตาแล้วนอน ไม่มีน้ำ ลูกหลานต้องไปซื้อน้ำถังละ 10 บาท มาใช้ เสื้อผ้าก็ต้องรอให้มีน้ำจึงจะได้ซัก อยู่กัน 5 คน ต้องเสียเงินซื้อน้ำถังมาไว้ใช้ ลูกหลาน ก็ไปตักน้ำในเหมืองชลประทานมาอาบ หลานๆไปโรงเรียนก็ลำบาก เดิมน้ำกินน้ำใช้หุงข้าว ทำกับข้าว น้ำดื่ม ก็ซื้อน้ำถังใช้อยู่แล้ว แต่พอน้ำประปามีปัญหา ก็ต้องจ่ายเงินเพิ่มซื้อน้ำถังมาอาบ เป็นแบบนี้มาหลายปีแล้ว น้องน้ำห้องท่าก็สกปรก /ค่าน้ำก็ต้องจ่ายเพิ่มขึ้น เพราะต้องเปิดทิ้งน้ำโคลนแดงทิ้งก่อน
นางบุษบา สังขาว เจ้าของร้านซักรีด หมู่ 1 กล่าวว่า ตนเองไม่ได้ซักผ้ามาประมาณ 3-4 วันแล้ว ที่ผ่านมาก็ได้ซักเต็มที่ เพราะน้ำไม่มี มีสีแดง ลูกค้าก็หายหมด ขณะที่ค่าน้ำต้องจ่ายเพิ่มขึ้น แต่น้ำไม่มีใช้ เพราะต้องเปิดน้ำเอาสีแดงดินโคลนทิ้งก่อน
นายวันชัย จันทนคีริน เจ้าของร้านอาหารข้าวขาหมู หมู่ 4 ริมถนนสายนาโยง – ย่านตาขาว กล่าวว่า น้ำไหลบ้างไม่ไหลบ้างมายายนาน พื้นที่นี้เป็นย่านเศรษฐกิจไม่มีน้ำใช้ทำให้ลำบากมาก บางครั้งช่วงเช้าไม่มีเลย มาไหลตอนเที่ยงคืน พอมาน้ำก็แดงเป็นสีดินโคลน ใช้ไม่ได้ซักเสื้อผ้าก็ไม่ได้ เป็นมานาน 2-3 ปีแล้ว เวลาไหลก็กะปริดกะปรอย ร้านค้าขายของต้องใช้น้ำ เป็นปัญหามาก ตอนเช้าไม่ไหล มาไหลตอน 10-11 โมง ทำอะไรไม่ได้แล้ว เป็นย่านธุรกิจ บางร้านอาจมีน้ำบ่อสำรอง ร้านไม่มีก็ต้องหยุดขายไปหลายร้าน บางร้านก็หยุดมั่งขายมั่ง น้ำมาแดงก็ต้องหยุด แจ้งอบต.หลายรอบ พอแจ้งก็ดีขึ้นสัก 2-3 วัน ก็เป็นอีก ชาวบ้านบางรายมีน้ำบ่อ ก็ได้ใช้ รองน้ำฝนใช้บ้าง ต้องซื้อเครื่องกรอง อยากให้อบต.แก้ปัญหาให้ดีกว่านี้ตอนนี้มีการเจาะน้ำบาดาลเพิ่มด้วยแล้ว ปัญหาควรจะหมดไปได้แล้ว หรือน้ำจากสระก็ควรจะบำบัด หรือกรองให้สะอาด ตนเองเคยพูดแซวว่าจะพาไปดูงานที่เกาะพงัน เขายังเอาน้ำทะเล มาทำน้ำประปา เขายังทำได้ เลย แต่ อ.นาโยง น้ำดิบจำนวนมาก ทำไม่ได้ อบต.ก็รับรู้ตลอดว่าชาวบ้านเดือดร้อนเรื่องน้ำ มาโดยตลอด แต่แก้ปัญหาไม่ได้
นายชาตรี ผดุงศักดิ์ เจ้าของห้องแถวให้เช่า กล่าวว่า ตนเองทำร้านอาหาร ก็ต้องหยุดขาย ผลกระทบจากโควิดก็เดือดร้อนมาหนักแล้ว แต่มาเจอเรื่องน้ำประปาไม่ไหลอีก ยิ่งซ้ำเติมปัญหาชาวบ้านร้านค้า ร้านอาหาร ของตนก็เช่นกัน ต้องปิดร้าน รวมทั้งห้องเช่าที่จะให้เช่าทำเปิดร้าน คนมาติดต่อจะเช่าพอรู้ว่ามีปัญหาเรื่องน้ำประปา เขาก็ไม่เช่า และไม่ใช่เพิ่งเป็นแต่เป็นแบบนี้มานานประมาณ 3-4 ปีแล้ว แต่มาหนักสุดประมาณ 3-4 เดือนนี้ บางวันน้ำไม่ไหลเลย หรือพอวันไหนมา น้ำก็เป็นสีแดงขุ่น สีโคลน ก็ใช้ไม่ได้ ซักผ้าก็ไม่ได้ ตนเองมีห้องเช่า 3 ห้อง เมื่อ 3 วันที่ผ่านมา มีคนมาติดต่อจะเช่าเพื่อเปิดร้าน แต่มีปัญหาเรื่องน้ำ ก็ไม่มีใครมาเช่า เพราะน้ำเป็นปัจจัยหลักสำคัญ ชาวบ้านต้องซื้อน้ำขวด น้ำถัง ชาวบ้านในหมู่บ้านประมาณ 80% ไม่มีน้ำใช้ เดือดร้อน ชาวบ้านต้องการให้มีน้ำใช้เหมือนที่อื่น ต.นาข้าวเสีย อ.นาโยง อยู่ติดเทือกเขาบรรทัด น้ำอุดมสมบูรณ์ จนเกิดน้ำท่วมทุกปี ฤดูแล้งน้ำก็ไม่ขาด แต่ชาวบ้านไม่มีน้ำใช้เป็นเรื่องที่แปลกมากต้องมาเจอปัญหาวิกฤติเรื่องน้ำ และตอนนี้เป็นยังอยู่ในชวงฤดูฝนของภาคใต้ แต่น้ำไม่มีใช้ ใกล้อบต. มีสระน้ำ มีการขุดบ่อบาดาลเพิ่มแล้วด้วย แต่ทำไม น้ำยังไม่ไหล ใช้ไม่ได้ พอถามไปทางสมาชิก อบต.ตัวแทนของหมู่บ้าน เขาไล่ให้ไปสอบถามเอากับช่าง อบต. ซึ่งเรามีผู้นำมาดูแล แต่ไล่ให้ไปติดต่อเอง มันผิดขั้นตอน ตื่นเช้ามาจะอาบน้ำไปทำงาน ไปโรงเรียนน้ำไม่ไหล ซักผ้าก็ไม่ได้
นางสาวขนิษฐา ล้วนดี เจ้าของร้านเสริมสวย กล่าวว่า ตนเองต้องซื้อน้ำถังมาใส่ไว้ในถังใหญ่ใช้วันละ 2 รอบ ในราคาถังละ 12 บาท แค่สระไดร์ผมธรรมดาไม่มีการใช้น้ำยาเคมี ต้องใช้วันละ 10 ถัง ต้องเสียเงินซื้อ 120 บาท ยิ่งถ้าจะต้องรับลูกค้า ทำการยืดผม ซึ่งต้องใช้น้ำยาเคมีด้วย จะต้องทำหลายขั้นตอน ต้องใช้น้ำจำนวนมาก จะต้องซื้อวันละ 15 ถังๆละ 12 บาท ตกวันละ 180 บาท เพราะ 1 ถัง ไม่พอ บางวันถ้าลูกค้ามาก เช่น วันลอยกระทง ตนเองต้องซื้อน้ำใช้ถึง 20 ถัง เสียเงิน 240 บาท ตนเองเดือดร้อนมาก ราคาก็คิดปกติ สระไดร์ทำธรรมดาหัวละ 70 บาทเท่านั้น ไม่ได้คิดแพง ตนเองมาเปิดร้านตั้งแต่ปี 2553 เป็นแบบนี้คาราคาซังมายาวนานแล้ว จึงต้องร้องสื่อตนเองคิดว่านาโยงของเราต้องพัฒนาให้ดีกว่านี้ ปัญหาน้ำเป็นปัญหาใหญ่
จากนั้น ชาวบ้านพาผู้สื่อข่าวไปดูหอถังน้ำประปาของหมู่บ้าน และระบบประปา สระน้ำขนาดใหญ่ที่เป็นน้ำที่ใช้ผลิตน้ำประปาของหมู่บ้าน ซึ่งอยู่ด้านหน้า อบต.นาข้าวเสีย และ ใกล้กันมีการจุดเจาะน้ำบาดาลใหม่ โดยใช้งบประมาณ 174,000 บาท ซึ่งอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน ทดลองเปิดก๊อกน้ำบาดาล พบว่าน้ำใสแจ๋ว แต่ชาวบ้านงง ชาวบ้านไม่มีน้ำใช้ หยุดไหลหลายวัน หรือที่ไหลก็เป็นสีขุ่นแดง
นายสมพล อุปมัยรัตน์ ผอ.กองช่างอบต.นาข้าวเสีย กล่าวว่า สระน้ำ และถังเก็บน้ำประปาที่เห็นอยู่นั้น ก่อสร้างขึ้นเมื่อปี 2529 โดยงบของกรมอนามัย โดยชาวบ้านที่ใช้น้ำ ประกอบด้วย หมู่ 1 , 4 และหมู่ 8 บางส่วน รวมประมาณ 250 ครัวเรือน เดิมอยู่ในความดูแลของคณะกรรมการหมู่บ้าน หมู่ที่ 4 จุดที่ตั้งประปา ทั้งการจัดเก็บค่าน้ำ การดูแล บำรุงรักษา ซ่อมแซม เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการหมู่บ้านทั้งหมด โดยไม่ได้จัดส่งค่าน้ำให้อบต. แต่หากมีการชำรุด จะต้องซ่อมแซมงบประมาณ 20,000 บาท ขึ้นไป อบต.จึงจะต้องเข้าไปดูแล ทั้งนี้ อบต.ได้รับการถ่ายโอนจากกรรมการหมู่บ้านเมื่อเดือนเมษายน 2565 ตอนที่โอนมาให้อบต.ดูแลนั้น พบว่าระบบประปาอยู่ในสภาพที่ชำรุดทรุดโทรมมาก โดยเฉพาะท่อประปาที่ติดตั้งในการแจกจ่ายน้ำให้แก่ประชาชน อยู่ในสภาพเก่า ชำรุดหลายจุด มีน้ำรั่วไหล และติดค้างค่าไฟ ทั้งหมด 120,000 บาท เป็นปัญหาที่อบต.ต้องเข้าไปแก้ไข ( แต่ตอนนี้ค่าไฟก็ยังไม่ได้จ่าย ) เมื่อได้รับการถ่ายโอนมาก็พยายามแก้ไขปัญหา ปรับปรุงซ่อมแซม โดยมีการสำรวจเพื่อจะวางท่อประปาใหม่ ปรับปรุงระบบการสูบน้ำ ระบบการกรองน้ำ ท่อประปารั่ว จากการสำรวจจะต้องใช้งบประมาณในการปรับปรุงซ่อมแซมประมาณ 700,000 บาท ซึ่งตอนนี้จะต้องรองบประมาณเพราะจะต้องนำเข้าสภา เพื่อพิจารณาอนุมัติงบประมาณ นอกจากนั้น ปัญหาเฉพาะหน้าคือ อบต.ได้อนุมัติงบประมาณสำหรับขุดเจาะบ่อบาดาลลึก 50 เมตร เนื่องจากต้องการแก้ปัญหาน้ำคลองที่ขุ่น เมื่อเกิดฝนตก ก็จะสูบน้ำบาดาลส่งจ่ายแทน แต่เหตุที่น้ำยังคงสีแดง เนื่องจากน้ำผิวดินในสระมีปริมาณมากกว่า โดยขณะนี้สูบน้ำทั้ง 2 ระบบ ทั้งสูบน้ำผิวดินจากสระ ซึ่งจะต้องใช้ในปริมาณที่มากกว่า และน้ำบาดาล แต่น้ำบาดาลมีข้อจำกัดจะต้องเปิดปิดเป็นเวลา ไม่สามารถจะเปิดสูบน้ำตลอดเวลาได้ ประกอบกับระบบท่อประปาชำรุด มีรอยรั่วตลอด เมื่อท่อรั่ว ปั๊มน้ำก็จะทำงานตลอดเวลาไม่ได้จะเผาไหม้
ดังนั้น เมื่อขุดบ่อบาดาลแล้ว จึงต้องเปิดปิดน้ำเป็นเวลาวันละ 2 รอบ เช้ากับเย็น รอบละประมาณ 2 ชม. ประกอบกับปริมาณน้ำในสระสูงกว่า ทำให้ยังคงมีสีแดงไปด้วย การแก้ปัญหาระยะยาว และขณะนี้อบต.ก็กำลังเร่งดำเนินการ คือ รอเสนอสภาพิจารณาอนุมัติเป็นงบประมาณแก้ปัญหาเร่งด่วนของปี งบประมาณ 65 นี้ งบประมาณกว่า 7 แสนบาท เพื่อนำไปปรับปรุงกรองน้ำ และวางระบบท่อประปาใหม่ทั้งหมด ทุกสายรวมประมาณ 4 กม.หรือ 4,000 เมตร จะเข้าสภาในเดือนธันวาคมนี้ ซึ่งถ้างบประมาณผ่านจะใช้เวลาในการก่อสร้างประมาณ 90 วัน และจะเร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในปี 2566 ต้องขอโทษชาวบ้าน ที่ อบต.จัดการเรื่องน้ำไม่ได้เต็มที่ แต่ขอความเห็นใจว่าอบต.ก็ไม่ได้นิ่งนอนใจพยายามจะเร่งแก้ปัญหา ส่วนการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าถ้าชาวบ้านมีภาชนะพร้อมจะรองรับ ทาง อบต.มีรถน้ำจะไปส่งให้ ขอให้ชาวบ้านจัดเตรียมไว้ ซึ่งที่ผ่านมา อบต.ก็พยายามจะบรรเทาปัญหาด้วยการขนน้ำไปแจกจ่าย แต่ชาวบ้านไม่มีภาชนะรองรับ ดังนั้น ขอให้ชาวบ้านเตรียมภาชนะรองรับ ทั้งนี้ เมื่อมีการจัดวางระบบท่อประปาได้ใหม่ทั้งหมด เชื่อว่าจะสามารถแก้ปัญหาได้ดีขึ้น แต่ไม่ถาวร เพราะต้องสูบน้ำจากสระน้ำผิวดิน จะมีช่วงที่ฝนตก น้ำจะเป็นตะกอน แต่จะทำให้สะอาดที่สุด จะต้องซ่อมแซมระบบกรองใหม่ จะต้องเร่งซ่อมแซมระบบท่อประปาให้เร็วที่สุด เมื่องบประมาณผ่าน
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: