ตรัง-ตัวอย่างชาวไร่ชาวนาตรังใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านดันราคาข้าวได้สูงลิบกก.ละ 200 บาท ผ่านการแปรรูปเป็นข้าวเม่า ออเดอร์จองข้ามปี โดยรวมกลุ่มกัน 4 คน จับคู่กันได้ 2 คู่ ร่วมกันปลูก ร่วมกันตำ ร่วมกันขาย เริ่มจากข้าวเหนียวไร่ระยะเม่า ถึงข้าวเหนียวนาปีระยะเม่า เพียงช่วงเวลาสั้นๆ ประมาณ 3 เดือน สร้างรายได้เข้ากลุ่มประมาณ 130,000 – 140,000 บาท รายได้ตกคู่ละ 60,000 -70,000 บาท หรือตกคนละประมาณ 30,000 – 40,000 บาทเลยทีเดียว
วิธีคิดและลงมือทำของเกษตรกรชาวไร่ ชาวนา จ.ตรัง ที่ ต.บางกุ้ง อ.ห้วยยอด จ.ตรัง ที่รวมกลุ่มกันจำนวน 4 คน พร้อมคนในครอบครัวและเพื่อนบ้านเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในพื้นที่ พร้อมลูกหลานเด็กๆ ไปลงแปลงข้าวเหนียวไร่ที่ปลูกแซมไว้ในสวนยางพารา พื้นที่ ต.บางกุ้ง อ.ห้วยยอด เพื่อช่วยกันเก็บข้าวเหนียวไร่ระยะข้าวเม่า เพื่อนำไปทำเป็นข้าวเม่าจำหน่าย ตามออเดอร์ของลูกค้าที่จองเข้ามาข้ามปีของทุกปีในระยะนี้ โดยข้าวเหนียวไร่ที่ปลูกไว้อายุประมาณ 5 เดือน ก็จะเป็นข้าวระยะเม่า ที่สามารถนำไปแปรรูปด้วยภูมิปัญญาชาวบ้าน ทั้งเก็บด้วยแกระ ( แกระ อุปกรณ์เก็บข้าวของชาวบ้านภาคใต้ในสมัยก่อน) นวดข้าวเปลือกด้วยเท้า นำไปแช่น้ำ 1 คืน จากนั้นนำข้าวเปลือกที่ผ่านการแช่ 1 คืน มาคั่วด้วยมือในกระทะโดยใช้ไม้ฟืนเป็นเชื้อเพลิง และการตำข้าวด้วยมือ เพื่อเร่งผลิตข้าวเม่าตามออเดอร์ส่งให้ลูกค้า ที่จองกันมาข้ามปี จากข้าวเหนียวระยะข้าวเม่าถึงข้าวเหนียวนาปีระยะข้าวเม่า ทั้งสีขาวและสีดำ และบางสายพันธุ์มีสีแดง โดยชาวบ้านบอกว่า ข้าวเม่าจะต้องผลิตจากข้าวเหนียวเท่านั้น หลังปลูกได้ประมาณ 5 เดือน ก็ต้องเร่งเก็บเกี่ยว และเร่งผลิตข้าวเม่า เพราะหากไม่เร่งเก็บไม่เร่งตำข้าวเหนียวก็จะสุกพ้นระยะข้าวเม่า
ข่าวน่าสนใจ:
- เปิดตัวนวัตกรรมสุดล้ำ หัวรถไถไฟฟ้า ฝีมือครูสุโขทัย ถูก-ประหยัดกว่าถึง 10 เท่า
- ตรัง ทวีศักดิ์ สงชู ผู้สมัครนายกอบจ.ตรังเบอร์ 3 ชูแผนชุมชนมีชีวิตพร้อมพัฒนาท้องถิ่น
- ญาติร้องไห้ ระงม!! เผาศพสามี-ภรรยา เหยื่อ อส. สุดเศร้า ลูกชาย บอกลาร่างไร้วิญญาณแม่-พ่อ ไม่ต้องกังวล จ.พัทลุง
- "ประชาธรรม" ร่วม "LANNER" จัดอบรมสื่อฯ โครงการ Activist Journalist รุ่น Glocal Journalist
โดยแต่ละปีจะเริ่มจากข้าวเหนียวไร่ ต่อด้วยข้าวเหนียวนาปี ซึ่งจะสามารถเก็บเกี่ยวและผลิตข้าวเม่าได้ต่อเนื่องกันไปรวมประมาณ 3 เดือน นับตั้งแต่ประมาณเดือน พฤศจิกายน – มกราคมของทุกปี ทำให้ลูกค้าประจำที่เคยสั่งซื้อก็จะสั่งจองล่วงหน้าเรื่อยไปจนหมด ทั้งนี้ ชาวบ้านทั้ง 4 คน จะวางแผนปลูกข้าวเหนียวไร่และข้าวเหนียวนาร่วมกัน ด้วยการปลูกไม่พร้อมกันทั้งข้าวไร่ และข้าวนา เพื่อให้สามารถข้าวได้ออกรวงไม่พร้อมกัน หรือให้ทยอยออก จะได้มีระยะเวลาในเก็บเกี่ยวแล้วนำมาตำข้าวร่วมกัน โดยเมื่อหมดข้าวไร่ ก็จะถึงฤดูข้าวนาปีประมาณเดือนมกราคมของทุกปี โดยทั้ง 4 คน ปลูกข้าวเหนียวไร่ และข้าวเหนียวนาไว้ประมาณคนละ 3-4 ไร่ รวมของกลุ่มประมาณ 10-12 ไร่ต่อปี ซึ่งไม่เพียงพอกับออเดอร์ที่ถูกลูกค้าสั่งจองกันข้ามปี โดยที่ผ่านมาแต่ละปีสร้างรายได้เข้ากลุ่มประมาณ 130,000 – 140,000 บาท ก็นำมาแบ่งกันได้คู่ละประมาณ 60,000-70,000 บาท หรือตกคนละประมาณ 30,000-40,000 บาทในระยะสั้นๆเพียงประมาณ 3 เดือนเท่านั้น
ทางด้านนางบุญชิต พุทธสิทธิ์ หรือป้าจิตร อายุ 63 ปี เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ต.บางกุ้ง อ.ห้วยยอด กล่าวว่า จับกลุ่มกัน 4 คน แบ่งเป็น 2 คู่ ในการร่วมกันผลิตข้าวเม่าขายมานานถึง 7 ปีแล้ว โดยแต่คน แต่ละปี ก็จะปลูกข้าวเหนียวไร่และข้าวเหนียวนาในพื้นที่ของตัวเองคนละประมาณ 3 – 4 ไร่ ได้รวมๆประมาณ 10-12 ไร่ โดยปลูกไม่ให้พร้อมกัน เพื่อให้ข้าวได้ทยอยออกรวงและทยอยเก็บเกี่ยว เพื่อนำมาทำเป็นข้าวเม่าเกือบทั้งหมด ส่วนที่ไม่หมดเป็นเพราะเก็บเกี่ยวไม่ทัน เพราะข้าวเหนียวระยะข้าวเม่าจะต้องเร่งเก็บเกี่ยวหลังปลูกไปได้ประมาณ 5 เดือน หากเก็บไม่ทันก็จะกลายเป็นข้าวสุก แต่น้อยมาก เพราะตั้งใจปลูกเพื่อจะนำมาทำข้าวเม่าทั้งหมด เนื่องจากขายได้ราคาดี กว่าถึงกก.ละ 200 บาท ซึ่งหากขายเป็นข้าวสารเหนียวทั่วไปได้ราคาแค่กก.ละ 50-60 บาทเท่านั้น แต่ทั้งนี้ ข้าวที่ปลูกไว้ก็ไม่เพียงพอกับออเดอร์ที่สั่งซื้อ แต่ละปีจะต้องซื้อข้าวเปลือกเหนียวระยะข้าวเม่า เพิ่มจากผู้ปลูกข้าวเหนียวรายอื่นๆมาเสริมปีละประมาณ 5,000 บาท ในราคากก.ละ 25 บาท มาเสริม เพราะไม่เพียงพอ ทั้งนี้ ในการผลิตข้าวเม่า เหนื่อยหน่อย เพราะต้องเร่งรีบทำในทุกขั้นตอน เมื่อถึงระยะของข้าวเม่า โดยเริ่มทำข้าวเม่าจากข้าวเหนียวไร่ไปจนถึงข้าวเหนียวนาปี รวมระยะเวลาประมาณ 3 เดือน ปีที่ผ่านมาขายได้รวมประมาณ 130,000 – 140,000 บาท ก็นำมาแบ่งกันได้คู่ละประมาณ 60,000-70,000 บาท หรือตกคนละประมาณ 30,000-40,000 บาทในระยะสั้นๆเพียงประมาณ 3 เดือนเท่านั้น นับจากประมาณพ.ย.-ม.ค. เหนื่อยแต่ก็คุ้มค่า เพราะได้ราคาดีกว่า โดยลูกค้าจะรับรู้กันทุกปี ก็จะสั่งจองกันล่วงหน้าจนข้ามปี ผลิตไม่ทัน
ทั้งนี้ เหตุที่ต้องจับคู่ เพราะเวลาตำข้าว ซึ่งต้องตำแบบภูมิปัญญาชาวบ้านที่จะต้องช่วยกันตำ โดยใช้สาก จะได้รวดเร็วนั่นเอง ทั้งนี้ หากใครสนใจอยากจะสั่งซื้อข้าวเม่าของชาวบ้าน ติดต่อได้ที่เฟสบุ๊ค Pisut Puttasit หรือเบอร์โทรศัพท์ 091-8238302
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: