X

“ชาวน้ำผุดรวมใจ” ระดมกำลังขุดลอกฝาย หลังเจอฝนถล่มพาหิน-ทราย ปิดระบบประปาภูเขา

ตรัง ชาวบ้าน ต.น้ำผุด รวมใจระดมกำลังนำ จอบ เสียบ พร้อมรถแบคโฮ ช่วยกันขุดลอกทะลายตะกอนทรายล้นฝาย ปิดระบบประปาภูเขา ที่ใช้ในหมู่บ้าน เนื่องจากฝนตกหนัก ทำให้ชาวบ้าน กว่า 1,000 ครัวเรือน มีน้ำใช้กันไม่เพียงพอ ทำให้ผู้นำชุมชนต้องระดมชาวบ้านกันทุก ๆ ปี มาขุดลอกตะกอนทรายดังกล่าว เร่งประสานหน่วยที่เกี่ยวข้องสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่เพื่อแก้ปัญหายั่งยืนและน้ำใช้เพียงพอรองรับทั้งอำเภอ

ชาวบ้านในพื้นที่กว่า 60 คน ร่วมแรงร่วมใจแข็งขัน นำจอบ เสียม มาช่วยกันขุดลอกทะลายตะกอนทราย ที่โครงการฝายบ้านด่าน 2 ในพื้นที่ หมู่ที่ 5 ตำบลน้ำผุด อำเภอเมือง จังหวัดตรัง ซึ่งสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2549 โดยประสานงานกับชลประทานตรังนำรถแบคโฮ จำนวน 1 คัน เข้ามาขุดตะกอนทราย เพื่อให้ชาวบ้านได้มีน้ำประปาหมู่บ้านใช้กัน เนื่องจากฝนตกหนัก ทำให้มีปริมาณน้ำมากจนพัดเอาทรายมารวมทับถมกันสูงถึง 3 เมตร ทำให้ตะกอนทรายดังกล่าวไหลเข้าไปปิดระบบประปาภูเขา ทำให้ชาวบ้านมีน้ำใช้กันไม่เพียงพอ ทำให้ผู้นำชุมชนต้องระดมชาวบ้านกันทุก ๆ ปี มาขุดลอกตะกอนทรายดังกล่าว

นายอิศรา จันทักษ์ ผู้ใหญ่บ้าน ม.6 ต.น้ำผุด บอกว่า ปัญหาที่พบตรงนี้เมื่อน้ำป่าไหลหลากในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ตะกอนดินทราย พัดพามามาติดอยู่ที่หน้าฝาย ทำให้ฝายน้ำล้นตื้นเขิน ไม่สามารถส่งน้ำไปใช้ยังหมู่บ้านได้ โดยพื้นที่ในหมู่ที่ 5, 6, 9 ต.น้ำผุด และหมู่ที่ 3 ต.ละมอ อ.นาโยง บางส่วน เกือบ 1,000 ครัวเรือน ที่ยังคงได้รับผลกระทบอยู่ เบื้องต้นชาวบ้านก็นำจอบ เสียม มาช่วยกันขุดลอกตะกอนทรายออกมา เพื่อเปิดประตูระบายน้ำออกทั้งหมด ซึ่งชาวบ้านในพื้นที่ขาดน้ำอยู่ ซึ่งตรงนี้ทางกรมชลประทานได้นำรถแบคโฮ มาช่วยตักตะกอนทรายวันเดียว มีความตั้งใจว่าจะต้องทำให้เสร็จภายในวันนี้ เพราะเราจะต้องจัดเก็บน้ำเพื่อเตรียมไว้รับในช่วงฤดูแล้งด้วย โดยชาวบ้านที่มาช่วยกันในวันนี้ก็เพื่อทลายตะกอนทรายออกและทำการปิดประตูฝาย ให้น้ำกระชากตะกอนทรายออกไป จะทำให้ชาวบ้านได้ใช้น้ำต่อไปได้ ปัญหาที่ทำให้ซ้ำซากเกิดจากเมื่อมีฝนตกเยอะ ๆ ทำให้น้ำมีปริมาณมากก็ทำให้มีตะกอนทรายไหลมาทับถม ทำให้ต้องมาแก้ปัญหาแบบนี้ในทุก ๆ ปี จึงอยากให้ช่วยแก้ปัญหาตรงนี้ด้วย ยิ่งในช่วงหน้าแล้งทำให้ชาวบ้านไม่มีน้ำพอใช้อีกด้วย ซึ่งจากปัญหาตรงนี้อยากได้ฝายถาวรเพื่อแก้ปัญหาในช่วงหน้าแล้งด้วย แต่อาจจะติดปัญหาอยู่ตรงที่ว่าตรงเป็นเขตพื้นที่อุทยานไม่สามารถทำได้

นายจตุรงค์ เครือเตียว กำนัน ตำบลน้ำผุด บอกว่า กิจกรรมในวันนี้ก็เป็นกิจกรรม ลอกฝายเนื่องจากน้ำหลาก เพราะว่าจะเป็นปัญหาทุกปี ซึ่งต้องรอให้น้ำแห้งก็จะทำการเอาทรายออกเพื่อให้น้ำสะอาด ซึ่งเป็นปัญหาทุกปีที่ต้องแก้ไข เพราะระบบประปาภูเขาจะเป็นแบบนี้ใช้ระบบที่สูงลงที่ต่ำ ซึ่งทรายจะไหลมาจากภูเขา มาปิดตัวฝาย และทำให้น้ำสกปรกทำให้ทุกปีเราต้องกินชาวบ้านมาช่วยกัน หากมัวรองบประมาณมันก็ช้า ซึ่งทางชลประทานตรังก็ได้เสนอเรื่องไปแล้วแต่ว่าช้า ทำให้ชาวบ้านไม่มีน้ำใช้ ในเรื่องตัวท่อก็ได้เข้ามาทำการซ่อมแซมให้ แต่กิจกรรมตรงนี้เราก็ชวนชาวบ้านมาช่วยกันได้ ทำให้ชาวบ้านในพื้นที่ได้ใช้น้ำกัน ซึ่งการบริหารจัดการประปาภูเขาก็เก็บหน่วยละบาท จะได้นำเงินตรงนั้นมาช่วยกันซื้อท่อเวลาท่อแตก เราเก็บเงินแค่มิเตอร์ละบาทเดียวเพื่อจะได้มาต่อยอดบริหารจัดการกัน แต่ถ้าไม่เก็บเลยก็บริหารไม่ได้ หมู่ที่ใช้ประปาภูเขาก็จะเป็นหมู่ที่ 7, 12, 2, 5, 6 และหมู่ที่ 9 แต่ปรากฏว่าในช่วงหน้าแล้งจะเจอปัญหาน้ำไม่พอใช้ พอด้านล่างใช้กันเยอะก็จะเจอปัญหาในช่วงหน้าแล้งทุกปี แต่ถ้าปีไหนฝนดีก็ไม่มีปัญหา อาจจะต้องมีการเก็บกักน้ำไว้สัก 2-3 วันประกาศให้ชาวบ้านรับทราบและก็ปล่อยน้ำออกมาให้ได้ใช้ ซึ่งเป็นปัญหาทุกปีแต่ก็ยังแก้ไขได้

ซึ่งในขณะเดียวกันนายกิตติพงศ์ ผลประยูร ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการป้องกันปราบปรามการฟอกเงินและยาเสพติด สภาผู้แทนราษฎร ว่าที่ ผู้สมัคร ส.ส. ตรัง เขต 1 พรรคพลังประชารัฐ ได้ลงพื้นที่รับฟังปัญหาจากชาวบ้าน เรื่องระบบน้ำประปาภูเขา สาเหตุเนื่องมาจากน้ำป่าไหลหลากช่วงมรสุมที่ผ่านมา และพัดพาตะกอนทรายมากองทับถมกัน ทำให้ปิดกั้นทางน้ำ แต่ปัญหานี้เกิดมาเป็นระยะเวลา 10 ปีแล้ว ทำให้ชาวบ้านต้องรวมคนมาช่วยกันบ้างและต้องของบประมาณไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาช่วยเหลือกัน นำรถแบคโฮ มาตักทรายออกให้น้ำพัดทรายออกไป เมื่อเห็นปัญหาดังกล่าวแล้ว ทำอย่างไรที่จะแก้ปัญหาได้อย่างยั่งยืน ซึ่งปัญหาที่ทำอยู่ตรงนี้เป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเท่านั้น ซึ่งจากปัญหาตรงนี้ทำให้ทั้งกำนันผู้ใหญ่บ้านผู้นำชุมชนอยากได้อ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก เพื่อเก็บน้ำไว้ในเวลาฉุกเฉิน และที่สำคัญตรงนี้ติดอยู่ในเขตพื้นที่อุทยานฯ ซึ่งตรงนี้ตนเองก็มีหน้าที่รับฟัง ผลักดันและสานต่อ สู่การแก้ไขที่ยั่งยืน คิดว่าจะเชื่อมโยงกับหน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อแก้ปัญหาตรงนี้ อาจจะต้องคิดกันว่าทำยังไงให้มี ฝายหรืออ่างเก็บน้ำขนาดที่ใหญ่ขึ้น ก็สามารถเก็บน้ำได้เพียงพอ ทำให้ชาวบ้านได้ใช้กันทั้งอำเภอ ซึ่งในขณะนี้ได้แค่บางส่วนเท่านั้นได้แค่หมู่ 5, 6 และหมู่ 9 และบางส่วนในพื้นที่ตำบลละมอ ถ้าอยากได้ที่ยั่งยืนก็ต้องทำอ่างเก็บน้ำที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งตรงนี้เรามารับฟังและนำปัญหาของชาวบ้านไปสู่การแก้ไข

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน