ตรัง ผู้ประกอบการเอกชนตรัง สภาอุตสาหกรรมตรัง สภาอุตสาหกรรมภาคใต้ และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ยินดีพร้อมขึ้นค่าแรง 450 บาท ตามนโยบายพรรคและรัฐบาล แต่มีข้อแลกเปลี่ยน หากผู้ประกอบการปลดคนงาน จะไม่จ่ายเงินค่าชดเชยใด ๆ ทั้งสิ้น จะให้รัฐจ่ายแทนทั้งหมด และต้องเร่งแก้ปัญหาค่าไฟฟ้าแพงด่วน
เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2566 สืบเนื่องจาก พรรคก้าวไกล ซึ่งเป็นแกนนำการจัดตั้งรัฐบาล มีนโยบายจะขึ้นค่าแรงวันละ 450 บาท นั้น ก็จะทำให้ต้นทุนของผู้ประกอบการ ที่ต้องแบกภาระค่าแรงงานที่อยู่ในราคาต้นทุน อีกทั้งต้องแข่งกับประเทศอื่น ๆ ในการขายสินค้าไปประเทศต่าง ๆ เรื่องค่าแรงงาน จึงมีการวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างมาก ของผู้ประกอบการขนาดใหญ่และสมาชิกสภาอุตสาหกรรม
โดยที่โรงงาน บริษัท ตรัง ผลิตภัณฑ์อาหารทะเล จำกัด(มหาชน) TRS อ.เมือง จ.ตรัง ซึ่งมีคนงานมากกว่า 2,000 คน กำลังเร่งผลิตอาหารทะเลแช่แข็งทุกรูปแบบ เพื่อส่งมอบให้ทันกับความต้องการของลูกค้าหลัก คือ จีน ญี่ปุ่น และยุโรป ที่มีความต้องการบริโภคอาหารแช่แข็ง ทั้งแบบพร้อมบริโภคและนำไปปรุงอีกครั้ง
ข่าวน่าสนใจ:
- ตรัง สาวเลี้ยงเดี่ยว สุดทน! โร่แจ้งความล่า “นักบอลสโมสรดัง” พฤติการณ์สุดแสบ ทักแชทจีบ-หลอกลงทุนโปรโมทสินค้า 14วันสูญหลักแสน…
- ตม. นครพนม จับกุมผู้ค้าสัตว์คุ้มครองหน้าวัดพระธาตุพนม
- แม่ค้าข้าวแกงสาวสุดช้ำ!! เผลอวางทองหนัก 2 สลึง ในร้านทอง ถูก 2 หนุ่มเขมร ฉกไปหน้าตาเฉย
- เพชรบูรณ์-ลุงโทนีคนดัง ใช้แค่สื่อโซเชียลหาเสียงไม่ทำป้าย เผยไม่อายเคยต้องคดี หากถูกตัดสิทธิ์แค่กลับไปทำมาหากินต่อ
นายบุญชู ศัยศักดิ์พงษ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ตรังผลิตภัณฑ์อาหารทะเล จำกัด(มหาชน) หรือ TRS และที่ปรึกษาสภาอุตสาหกรรมจังหวัดตรัง บอกว่า นโยบายของพรรคก้าวไกล หากเป็นรัฐบาล จะขึ้นค่าแรงวันละ 450 บาท เมื่อมีนโยบายจะขึ้นค่าแรง เช่นนี้ ผู้ประกอบการก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ ที่จะต้องแบกรับภาระค่าแรงงานในต้นทุนที่สูงขึ้น ดังนั้น สภาอุตสาหกรรมจังหวัดตรัง สภาอุตสาหกรรมภาคใต้ และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย มีความเห็นตรงกันว่า เมื่อรัฐบาลขึ้นค่าแรง ผู้ประกอบการและสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ก็เสนอรัฐบาลแบบปฏิเสธไม่ได้เช่นกัน คือ ผู้ประกอบการมีแผนเตรียมปลดคนงาน และที่สำคัญที่สุด คือ นายจ้างจะไม่จ่ายเงิน หรือค่าชดเชยใด ๆ ตามกฎหมายให้กับคนงาน และ พนักงานของบริษัทที่ปลดออก โดยให้รัฐบาลรับภาระนี้แทน เป็นผู้จ่ายเงินแทนนายจ้างทั้งหมด เพื่อไม่ให้แรงงานที่โดนปลดออกเดือดร้อน รัฐบาลต้องออกเป็นกฎหมายเพื่อประกันสังคม กองทุนทดแทน ดำเนินการ เพราะผู้ประกอบการรับไม่ไหวจริง ๆ หากรัฐบาลตกลงข้อเสนอของผู้ประกอบการฯ และสภาอุตสาหกรรม ก็ยินดีให้ขึ้นค่าแรง
แต่ในความเห็นส่วนตัว รัฐควรจะทยอยขึ้นค่าแรงครั้งละ 50 บาท จนครบ อีกเรื่องสตรีที่ลาคลอดพรรคการเมืองหาเสียงไว้ลาคลอด 180 วัน ให้นายจ้างจ่ายค่าแรงงาน ส่วนกฎหมายเดิม 45 วันนั้น ผู้ประกอบการทำให้อยู่แล้ว เช่นนี้หนักไป ถ้าจะทำเช่นนั้น ผู้ประกอบการมีข้อตกลงคือ ช่วงคลอดให้ลาออกไป 180 วัน แล้วจะรับกลับเข้ามาทำงาน จึงจะจ่ายเงินเดือนให้ และอีกเรื่องราคาไฟฟ้าที่แพง ภาคเอกชน ประชาชน และผู้ประกอบการไม่ได้ทำอะไรผิดเลย แต่เป็นความผิดพลาดของรัฐบาลที่ไปมีข้อตกลงกับเอกชนผู้ผลิตไฟฟ้า จ่ายค่าไฟฟ้า ทั้งที่ไม่ได้ใช้จริงเช่นนี้ ประมาณการสำรองการใช้ไฟฟ้าไปกว่า 40% เช่นนี้หนักไปมาก ประชาชนรับภาระไม่ไหวแน่นอน ดังนั้น จึงฝากไปยังรัฐบาลในอนาคตด้วยต้องเร่งแก้ปัญหานี้
นายบุญชู บอกอีกว่า โรงงานของตนมีคนงาน 2,000 คน แรงวันละ 315 บาท เดือนละ 15 ล้านบาทปีละ 180 ล้านบาท แน่นอนต้นทุนค่าแรงงานจะเพิ่มขึ้น 45% จากวันละ 315 บาทขึ้น 450บาท คือเพิ่ม 135บาท ตกเดือนละ 21 ล้านบาท ค่าแรงปีละ 252 ล้านบาท ค่าแรงเพิ่มขึ้นมาปีละ 72 ล้านบาทอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: