ตรัง-เกษตรกรหนุ่มหัวใสหันต่อยอดเลี้ยงปูไข่ ทั้งปูดำไข่ และปูขาวไข่ ขายเจ้าแรกเจ้าเดียวใน จ.ตรังออเดอร์ไม่พอขาย สร้างรายได้เดือนละประมาณ 50,000 -60,000 บาท เพิ่มมูลค่าทรัพยากรในพื้นที่ เพิ่มรายได้แก่พี่น้องชาวประมง เตรียมขยายกระชังและส่งเสริมให้ชาวบ้านเลี้ยงด้วย ตลาดสดใส เพื่อตอบสนองลูกค้าที่มีความต้องการสูง
ที่คลองหยงสตาร์ หมู่ที่ 2 ต.ท่าข้าม อ.ปะเหลียน จ.ตรัง เกษตรกรหลายรายเลี้ยงปลาหลายชนิดในกระชัง ซึ่งเป็นคลองธรรมชาติเชื่อมต่อกับทะเล ริมคลองสองฝั่งอุดมสมบูรณ์ด้วยป่าชายเลน ฝูงนกเหยี่ยวจำนวนมาก แต่ในที่นี้ มีเกษตรหนุ่มหัวใส หันเลี้ยงปูไข่ส่งขายทั่วประเทศ ทั้งปูดำไข่ และปูขาวไข่ หลังพบว่าคนจำนวนมากนิยมรับประทานปูไข่ แต่ปูไข่ในธรรมชาติมีไม่เพียงพอ และเมื่อชาวประมงจับปูมาได้ ปูตัวเมียก็ใช่ว่าจะมีไข่ทุกตัวหรือไข่สมบูรณ์เต็มที่ทุกตัว และเมื่อนำไปขายในทันทีจะได้ราคาถูกทั่วไป แต่หากนำมาเลี้ยงเป็นปูไข่จะได้ราคาดีกว่าอีกกว่าเท่าตัว ทั้งนี้ เฉพาะปูดำ จะได้มาจากการใช้ลอบจับปูตามบริเวณป่าชายเลน โดยการรับซื้อปูดำตัวเมียจากชาวประมง จากนั้นนำมาขุนเลี้ยงโดยใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 20-25 วัน ก็สามารถจับมาดูไข่ว่าสีเหลือง สีส้ม หรือสีแดงหรือยังว่าส้มหรือแดงแล้วสามารถจับขายได้ทันที แต่หากไข่ยังไม่สมบูรณ์ก็เลี้ยงต่อไปอีกเล็กน้อย ก็จับขายได้
นายอภิสิทธิ์ ธีรกุลพิศุทธิ์ อายุ 39 ปี ชาวหมู่ 2 ต.ท่าข้าม อ.ปะเหลียน เกษตรกรหนุ่มหัวใสผู้เลี้ยงปูไข่ในกระชัง บอกว่า ตนเองเลี้ยงปูไข่มาเกือบ 2 ปีแล้ว โดยเป็นเจ้าแรก และเจ้าเดียวในจ.ตรัง ที่หันมาเลี้ยงปูไข่ส่งขายทั่วประเทศ สาเหตุที่หันมาเลี้ยง เพราะในพื้นที่อำเภอปะเหลียน ชาวบ้านจะประกอบอาชีพทำประมงชายฝั่ง และมีปูดำจำนวนมาก ซึ่งพบว่าคนนิยมกินปูไข่ แต่มีน้อย จึงมองเห็นปัญหาตรงนี้จึงทดลองเลี้ยงดู และเมื่อเลี้ยงแล้วปรากฏว่าผลตอบรับดีมาก เป็นที่ต้องการสูงของตลาด จึงเลี้ยงเรื่อยมา ซึ่งที่มีอยู่ในกระชังตอนนี้ประมาณ 400 -500 ตัว ก็ถูกจองหมดแล้ว มีไม่พอขาย ซึ่งวิธีเลี้ยง จะนำปูดำตัวเมีย หรือปูขาวตัวเมียใส่ในกล่องลงเลี้ยงเป็นรอบๆละ 400-500 ตัว/กล่อง โดยใส่กล่องละ 1 ตัว โดยการให้อาหารคือ ปลาที่ซื้อจากชาวประมงในพื้นที่ให้กินทุก ๆ วัน เพื่อขุนให้โต ซึ่งปูจะกินอาหารน้อยมาก เพราะกระเพาะเล็ก ใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 20-25 วัน ก็มาคัดดูไข่ ว่าไข่เป็นสีเหลือง สีส้ม หรือสีแดงแล้วหรือยัง ซึ่งไข่ที่ส่งขายได้จะต้องเป็นสีส้ม หรือสีแดงแล้วเท่านั้น ไข่ก็จะแน่นก็สามารถจับขายได้ ก็นำปูรอบใหม่ใส่ลงกล่องเลี้ยงต่อไป ก็จะตรงกับภาวะน้ำรอบใหม่ ก็หมุนเวียนเลี้ยงอย่างนี้มาโดยตลอด ซึ่งขนาดปูไข่ที่ได้จะประมาณ 6 ตัว/กก. น้ำหนักดี เนื้อแน่น ไข่แน่น ไข่สีสด มันอร่อย ไม่มีกลิ่นคาว เพราะเป็นการเลี้ยงแบบธรรมชาติในทะเล น้ำทะเลขึ้นลง แต่ละรอบจะจับปูขายได้ประมาณ 100 -120 กิโลกรัมต่อรอบ มีรายได้ต่อรอบประมาณ 50,000 – 60,000 บาท
ข่าวน่าสนใจ:
- นายกฯ "อิ๊ง" เปิดงานออนซอนกลองยาวชาววาปี สานตำนานเมืองวาปีปทุม 142 ปี
- กาญจนบุรี พิธีตักบาตรพระ 10,000 รูป ฉลองตั้งเมือง 193 ปี พร้อมอุทิศส่วนกุศลแด่บรรพบุรุษผู้มีพระคุณต่อประเทศชาติ
- ตรัง แม่ค้าร้านดังถูกหลอก อ้างเป็นเลขานายกฯสั่งข้าวกล่องช่วยน้ำท่วมสูญเงิน 3 พัน
- ด่วน ! ผู้ประสบอุทกภัย ต้องได้รับเงิน 9 พันจากรัฐบาล
ส่วนราคาขายขั้นต่ำ กก.ละ 450 – 650 บาท เช่น ไซส์ใหญ่ ขนาด 3 ตัวโล ราคากก.ละ 650 บาท ส่วนไซส์ ประมาณ 6-7 ตัวโล ราคากก.ละ 450 บาท ถือว่าเป็นราคาที่อยู่ได้ ลูกค้าจะมีทั่วไป ส่วนใหญ่จะขายส่งให้ลูกค้าประจำ ซึ่งมีทั้งกรุงเทพฯ เชียงใหม่ ส่งขายทั่วประเทศ โดยจะส่งทั้งแบบปูน็อกฟีซแข็ง และส่งปูไข่แบบตัวเป็นๆ โดยส่งใส่ลังส่งทั่วไป เพราะปูดำเป็นปูที่อึดทนอยู่ได้นานนับสัปดาห์ ทั้งนี้ พันธุ์แม่ปูไข่ ก็จะซื้อมาจากพี่น้องชาวประมงในพื้นที่ โดยจะให้ราคาสูงกว่าราคาที่ชาวประมงจะไปขายส่งทั่วไป ซึ่งเป็นช่องทางหนึ่งในการเพิ่มรายได้ให้แก่ชาวประมงในพื้นที่ ซึ่งถ้าเป็นไซส์ขนาด 6-7 ตัวต่อกก.จะรับซื้ออยู่ที่กก.ละ 150 บาท ถ้าเป็นไซส์ขนาดใหญ่ น้ำหนัก 2 ขีดขึ้นไป จะรับซื้อที่กก.ละ 220 บาท ซึ่งเป็นเลสราคาที่สูงกว่าที่ชาวประมงจะนำปูไปส่งขายได้ทั่วไป เป็นการช่วยเหลือชาวประมงเพิ่มรายได้ให้แก่ชาวประมงได้ประมาณกก.ละ 40-50 บาท ส่วนปูขาว จะมีน้อย แต่ตัวจะใหญ่มาก และหากเป็นปูตัวขนาดเล็กก็จะไม่รับซื้อ ก็จะปล่อยคืนธรรมชาติให้โตเต็มวัยจึงจะรับซื้อ มีเท่าไรรับไม่อั้น ซึ่งตลาดปูไข่อนาคตสดใสไปได้อีกไกล เพราะคนเลี้ยงน้อยเป็นที่ต้องการของตลาด ของตนเองก็มีไม่พอขาย เตรียมเพิ่มพื้นที่เลี้ยง และสนับสนุนให้แก่ชาวบ้านหันมาเลี้ยงด้วย เพราะเป็นช่องทางหนึ่งในการต่อยอดเพิ่มรายได้ให้แก่ชาวบ้านด้วย เพราะแทนที่จะขายส่งเข้าตลาดทันทีเมื่อจับปูดำเพศเมียโตเต็มวัยมาได้ แต่นำมาขุนทำเป็นปูไข่จะได้ราคาเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว และใช้เวลาเลี้ยงสั้น ไม่สิ้นเปลืองต้นทุนอาหารเหมือนเหมือนการเลี้ยงไก่ หรือเลี้ยงไก่ไข่ สำหรับคนที่ต้องการสั่งซื้อปูไข่ หรือศึกษาวิธีการเลี้ยงปูไข่ สามารถติดต่อสอบถามได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 064-4890626
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: