ที่ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์ตรัง ต.วังคีรี อ.ห้วยยอด จ.ตรัง ศูนย์วิจัยการผสมเทียมและเทคโนโลยีชีวภาพสุราษฎร์ธานี ร่วมกับศูนย์วิจัยเทคโนโลยีชีวภาพการย้ายฝากตัวอ่อนและเซลล์สืบพันธุ์สัตว์ กลุ่มวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีและความหลากหลายทางชีวภาพปศุสัตว์ สำนักเทคโนโลยีชีวภาพการผลิตปศุสัตว์ และศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์ตรัง ดำเนินการย้ายเก็บตัวอ่อนโคพื้นเมืองภาคใต้ (โคชน) จากการเหนี่ยวนำแม่ไว้ จำนวน 5 ตัว หรือ 5 แม่ ทั้งนี้ จากการเอ็กซเรย์ท้อง พบตัวอ่อนในท้องแม่ จำนวน 4 ตัว ( 4 แม่) โดยเก็บตัวอ่อนได้ทั้งหมด 13 ตัวอ่อน ใช้ได้ 7 ตัวอ่อน จากนั้นนำไปเก็บเข้าธนาคารพันธุกรรม (Gene bank) เพื่ออนุรักษ์โคพื้นเมืองสายพันธุ์ภาคใต้ของประเทศไทยต่อไป นอกจากนั้นทางทีมสัตวแพทย์ยังได้มีการเก็บตัวอย่างเลือดของแม่โคไปตรวจสอบด้วย
ทางด้านนายสัตวแพทย์ชาญยุทธ กาพลฃ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยการผสมเทียมและเทคโนโลยีชีวภาพสุราษฎร์ธานี บอกว่า การเก็บตัวอ่อนโคพื้นเมืองภาคใต้ ซึ่งเป็นโคชนนั้น เป็นไปตามนโยบายของกรมปศุสัตว์ในโครงการอนุรักษ์สัตว์พันธุ์โคพื้นเมือง โดยการย้ายเก็บตัวอ่อน ส่วนหนึ่งเป็นการเก็บน้ำเชื้อของวัวชน ซึ่งเป็นวัวพื้นเมืองภาคใต้ที่มีเอกลักษณ์และอัตลักษณ์ประจำพื้นถิ่น เพื่อที่จะได้จัดเก็บพันธุกรรมที่ดีไว้ใช้ในอนาคตข้างหน้า ส่วนหนึ่งก็เก็บไว้ในธนาคารพันธุกรรม (Gene bank) ตัวอ่อนบางส่วนก็จะเอาไปให้กับเกษตรกรที่สนใจไว้ขยายพันธุ์ โดยเฉพาะน้ำเชื้อพ่อพันธุ์ที่จะต้องใช้วิธีผสมเทียม ทั้งนี้ สำหรับขั้นตอนก่อนมาถึงการย้ายเก็บตัวอ่อน เริ่มต้นจากการคัดแม่พันธุ์ ที่จะใช้สำหรับการผลิตตัวอ่อน จากนั้นก็ใช้ฮอร์โมนในการเหนี่ยวนำให้กลายเป็นสัตว์ จากนั้นใช้ฮอร์โมนในการกระตุ้นให้ตกไข่หลายใบ ก่อนที่จะใช้น้ำเชื้อพ่อพันธุ์ที่คัดสรรแล้วมาผสม ทั้งนี้ ตั้งแต่วันเหนี่ยวนำกว่าจะมาถึงวันนี้ซึ่งเก็บตัวอ่อนได้ประมาณ 20 วัน ซึ่งหลังจากได้ตัวอ่อนแล้วก็จะนำไปตรวจคุณภาพว่าตัวอ่อนสมบูรณ์หรือไม่ อยู่ในระยะไหน เมื่อผ่านการตรวจคุณภาพแล้วก็นำไปจัดเก็บไว้ด้วยการแช่แข็งไนโตรเจนเหลว ซึ่งก็สามารถเก็บเอาไว้ได้ตลอดระยะเวลาประมาณ 20 ปี ที่อุณหภูมิ -196 องศาเซลเซียส (ติดลบ 196 องศา)
ทั้งนี้ แม่ห้าตัวที่มีการเหนี่ยวนำเอาไว้ พบว่าอัลตร้าซาวด์แล้วพบมีตัวอ่อนจำนวน 4 ตัว ที่มีการตกไข่ จาก 5 ตัว/แม่ ซึ่งถือเป็นเทคโนโลยีชีวภาพอีกขั้นหนึ่งต่อจากการผสมเทียม โดยใช้การผสมเทียมเป็นพื้นฐาน ซึ่งการผสมเทียมนั้น ลูกที่ได้ จะเป็นลูกผสมระหว่างแม่กับพ่อ แต่การย้ายฝากตัวอ่อน เมื่อได้ตัวอ่อนออกมาก็จะนำตัวอ่อนไปฝากไว้กับแม่อุ้มบุญ ก็จะไม่มีพันธุกรรมของแม่ที่เอาไปฝาก เพียงแต่ตั้งท้องให้เฉย ๆ ซึ่งน้ำเชื้อจะต้องคัดพ่อพันธุ์โคพื้นเมืองภาคใต้ สายพันธุ์วัวชน ตัวที่เก่งๆ โดยการคัดเลือกสายพันธุ์ โครงสร้าง และประวัติการชนจัดว่าเป็นพ่อพันธุ์วัวชนที่ดี ทั้งนี้ เฉพาะน้ำเชื้อที่มีการซื้อขายกันนั้นหลอดละเป็น 10,000 บาท เพราะพ่อหายาก ซึ่งเป็นราคาที่แพงและเมื่อผสมเทียมแล้วจะได้ลูกเพียง 1 ตัว แต่หากนำน้ำเชื้อมาใช้วิธีย้ายฝากตัวอ่อน แต่ละแม่จะได้ตัวอ่อนหลายตัว
ข่าวน่าสนใจ:
- ตรัง จัดใหญ่ 12 วัน งานฉลองรัฐธรรมนูญและงานกาชาดจ.ตรัง 4-15 ธ.ค.นี้ รีแบร์นใหม่! ย้อนยุคงานเหลิมแต่แรก แสดงบินโดรนพิธีเปิด วธ.ทุ่ม 3.4 ล้าน…
- ขาดสภาพคล่องขั้นรุนแรง! อธิบดีกรมท่าฯ ร่อนนส.ด่วน! แจ้งบอกเลิกสัญญาทิ้งงานก่อสร้างอาคารผู้โดยสารสนามบินตรัง 1.2 พันล.แล้ว…
- ตรัง คู่ซี้ พระ-ฆราวาส เมาแอ๋ด่าทอชาวบ้านใกล้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อาละวาดอ้างมีปืน ทำชาวบ้านแตกตื่น ตร.หิ้วปีกบังคับสึก กร่างไม่เลิกบอกรู้จักพระผู้ใหญ่
- ตรัง สับปะรดทอด-ข้าวเม่าทอด ดาวเด่นประจำร้านสมพร รสชาติอร่อย ราคาเป็นกันเอง
ทางด้านนายสว่าง อังกุโร อดีตผู้เชี่ยวชาญด้านส่งเสริมและพัฒนาโคเนื้อ กรมปศุสัตว์ บอกว่า สำหรับวัวพันธุ์พื้นเมืองในประเทศไทย แบ่งออกได้เป็น 4 กลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่มภาคเหนือคือ โคขาวลำพูน ลักษณะจะเป็นสีขาว ซึ่งใช้เป็นพระโค ในพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ที่ในอดีตมีค่อนข้างมาก แต่ปัจจุบันนั้นกำลังลดลงอย่างมาก, กลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือภาคอีสานเรียกว่า โคภาคอีสาน , กลุ่มภาคกลางก็คือ วัวลาน เพื่อเป็นกีฬาที่ในการแข่งวัวลาน มีที่จังหวัดนครปฐม จังหวัดเพชรบุรี และกลุ่มภาคใต้ วัวพันธุ์พื้นเมืองก็คือ วัวชน ที่เกษตรกรเลี้ยงเป็นส่วนใหญ่ เพื่อเป็นกีฬาอีกชนิดหนึ่ง สำหรับข้อดีของวัวพันธุ์พื้นเมืองหรือว่าก็คือ เป็นวัวที่ทนโรคทนแล้งได้ดี มีประสิทธิภาพในการให้ลูกสูง สามารถให้ลูกได้ปีละตัว( แต่วัวสายพันธุ์อื่นให้ลูก 2-3 ปีต่อตัว ) แต่มีข้อด้อยตรงที่เป็นสัตว์ที่มีโครงร่างเล็ก เจริญเติบโตช้า ดังนั้น การที่กรมปศุสัตว์และหน่วยงานในสังกัดภูมิภาค พยายามส่งเสริมเลี้ยงวัว เพื่อผลิตเนื้อ แต่เราไม่ได้เน้นวัวสวยงาม แต่เกษตรกรสามารถเลี้ยงเอาไว้เพื่อเป็นกีฬา โดยเฉพาะภาคใต้คือ เลี้ยงวัวชน ส่วนภาคกลางก็เลี้ยงเป็นวัวลาน ขณะเดียวกัน เมื่อเราเลี้ยงเป็นโคเนื้อ หากต้องการที่จะให้วัวนั้นมีโครงร่างใหญ่ขึ้นผลิตเนื้อได้มากขึ้น เกษตรกรก็สามารถพัฒนาให้เป็นพันธุ์ลูกผสมได้ ดังนั้น วัวพื้นเมืองพันธุ์แท้ จึงมีปริมาณลดล งซึ่งเป็นพันธุกรรมที่ดีอยู่ แต่ถ้าหากไม่เก็บรักษาเอาไว้ในอนาคตอาจจะสูญหายได้ ซึ่งภาคปศุสัตว์เองให้ความสำคัญในเรื่องนี้ จึงทำเป็นโครงการเพื่อเก็บรักษาพันธุกรรมที่ดีเอาไว้ เริ่มตั้งแต่การตั้งศูนย์สถานีวิจัยพันธุ์สัตว์ทุกภูมิภาค เช่น จังหวัดพะเยา วิจัยและอนุรักษ์โคพื้นเมืองโคขาวลำพูน , ศูนย์บุญทริก จังหวัดอุบลราชธานี และจ.ชัยภูมิ เป็นวัวพันธุ์พื้นเมืองภาคอีสาน , ภาคกลาง จ.เพชรบุรีก็คือ วัวลาน และภาคใต้ จ.นครศรีฯ และจ.ตรัง เป็นแหล่งที่มีการรวบรวมโคชนตัวที่มีชีวิตเอาไว้ เพื่อไม่ให้สูญพันธุ์ ขณะเดียวกันยังมีการขอน้ำเชื้อโคตัวดี เด็ดๆ เก่งๆ จากภาคเอกชน นำไปผสมเทียม ผสมพันธุ์แล้วย้ายเก็บตัวอ่อน รักษาพันธุกรรมที่ดีเอาไว้ไม่ให้สูญหายไป
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: