X

ปภ.ตรัง เยียวยาแล้ว 7 หมื่น หลังหนุ่มใหญ่สูญเสียบ้าน-สวนยาง-ปาล์ม ทำเมียป่วยซึมเศร้าจากเหตุโคลนถล่มบ้านราบเป็นหน้ากลอง 2 ครั้งซ้อน

ปภ.ตรัง เยียวยาแล้ว 7 หมื่น หลังหนุ่มใหญ่สูญเสียบ้าน-สวนยาง-ปาล์ม ทำเมียป่วยซึมเศร้าจากเหตุโคลนถล่มบ้านราบเป็นหน้ากลอง 2 ครั้งซ้อน หลังร้องผ่านสื่อ

วันที่ 4 ส.ค.66 จากกรณี นายเฉลิมพร เพชรคง อายุ 45 ปี ชาวบ้านบ้านผมเด็น อยู่บ้านเลขที่ 170/1 ม.6 ต.ไม้ฝาด อ.สิเกา จ.ตรัง จากกรณีมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันมีกำลังแรกจนเกิดฝนตกฟ้าคะนองทั่วพื้นที่ โดยเฉพาะตั้งแต่คืนวันที่ 1 กันยายนต่อเนื่องวันที่ 2 กันยายน ทำให้จังหวัดตรังมีฝนตกหนักต่อเนื่อง ลมกรรโชกแรง นายเฉลิมพร ระบุได้รับความเดือนร้อนจากเหตุฝนตกโคลนถล่มลงมาจากภูเขา ทับทำลายบ้านพักอาศัยจนราบเป็นหน้ากลองถึง 2 ครั้งซ้อน และพื้นที่การเกษตร ต้นยางพารา ต้นปาล์มน้ำมัน บางส่วนโค่นล้ม รวมทั้งบ่อเลี้ยงปลาถูกดินโคลนถมจนมิด

โดยหลังจากเกิดเหตุครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคมที่ผ่านมา ก็ได้ยื่นเรื่องขอความช่วยเหลือความเสียหายจากเหตุภัยพิบัติไปตามระบบราชการ ทั้งอบต.ไม้ฝาด ที่ว่าการอำเภอสิเกา ก็ไร้วี่แววความคืบหน้า มีเจ้าหน้าที่ลงมาดูพื้นที่แล้วบอกให้รอ ตนไปติดตามความคืบหน้าทางอำเภอก็บอกว่าส่งเรื่องไปทางจังหวัดแล้วให้รอ จากนั้นก็เงียบหายไปนานกว่า 2 เดือนแล้ว มีเพียงโรงเรียนที่ลูกๆ เรียนเท่านั้น ที่เข้ามาช่วยเหลือ มาเยี่ยมและมอบเงินช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้ แม้จะไม่มากแต่แสดงถึงความมีน้ำใจ เพราะตนหมดทุกอย่างแล้ว ซึ่งเหตุการณ์เลวร้ายที่เกิดขึ้นทำให้ภรรยาของนายเฉลิมพล ช็อคและป่วยเป็นโรคซึมเศร้า เข้ารับการรักษาที่รพ.สิเกา

 

และนายเฉลิมพร ได้ขึ้นไปสำรวจบริเวณด้านบนเชิงเขาซึ่งยังเป็นสภาพพื้นที่มีต้นไม้ใหญ่ มีไม้ป่าปกคลุม พบแนวผาดินถล่มเป็นวงกว้าง มีทั้งดินโคลน หิน ต้นไม้ใหญ่ที่หักโค่นลงมาตามกระแสน้ำหลากอยู่กระจัดกระจาย โดยปรากฏพบท่อนซุงขนาดใหญ่ไกลลงมาด้วย และเป็นที่น่าสังเกตว่าซุงดังกล่าวถูกตัดหัวตัดท้าย ไม่มีรากติดมาแต่อย่างใด ทั้งนี้นายเฉลิมพร อธิบายว่า ท่อนซุงลักษณะนี้เป็นฝีมือของขบวนการลักลอบตัดไม้เถื่อน โดยมีการตัดหัวตัดท้ายแล้วเผาอำพรางรอยตัดทั้งหัวท้าย เพื่อให้เนื้อไม้ส่วนใหญ่ไม่เสียหาย สามารถนำไปแปรรูปต่อได้ ขณะที่สามารถตบตาเจ้าหน้าที่และคนทั่วไปได้ว่าเป็นไม้ล้มเองตามธรรมชาติ ซึ่งวิธีการเรียกว่า สีน(ตัด)ขอนนอนไพร ซึ่งชาวบ้านในพื้นที่รู้กันดี ว่ามีกลุ่มคนขึ้นไปตัดไม้ เพราะบริเวณด้านบนที่ดินทำกินของตนเป็นป่าสงวน ที่มีสภาพเป็นหน้าผาชัน ชาวบ้านเรียกกันว่าสันควนกุน และรอบนี้มีร่องรอยของดินสไลด์ถล่มลงมาที่ชัดเจน มีขนาดพื้นที่เกือบๆ 4 ไร่ โดยในปีที่แล้วเคยมีเหตุการณ์ลักษณะนี้เกิดขึ้น แต่ไม่ได้รุนแรงนัก ส่วนถัดลงมาจากที่ดินเดิมมีบ้านเรือนชาวบ้านที่ปลูกไว้ เพื่อใช้พักดูแลสวนยางพาราที่อยู่ละแวกนี้ แต่ก็ถูกน้ำและดินโคลนถล่ม จนเจ้าของไม่กล้ามาอยู่ และทิ้งร้างไว้กันหมด

 

ล่าสุด วันนี้(4 ก.ย.66) ป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัยจังหวีดตรัง ได้จ่ายเงินเยียวยาให้กับครอบครัวนายเฉลิมพล ซึ่งเป็นการเยียวยาตามหลักเกณฑ์การใช้เงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยฉุกเฉิน พ.ศ.2563 โดยมีนายมานะ เทือกสุบรรณ นายอำเภอสิเกา เป็นผู้มอบเงินช่วยเหลือ จำนวน 71,272 บาท ให้กับนายเฉลิมพร

โดยน.ส.เสาวลักษณ์ กัณหวงศ์ ผช.หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย บอกว่า หลักจากรับเรื่องความเดือนร้อนดินโคลนถล่มบ้านของนายเฉลิมพล หลังเกิดเหตุเจ้าหน้าที่ลงไปสำรวจความเสียหาย เพื่อให้ความช่วยเหลือตามระเบียบราชการ และวันนี้ได้มีการมอบเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน ในอำนาจของนายอำเภอเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ ด้านดำรงชีพเป็นเงิน 65,200 บาท และด้านการเกษตร เป็นเงิน 6,072 บาท ซึ่งการช่วยเหลืออยู่ในห่วงเวลาไม่เกิน 3 เดือน หลังจากเกิดเหตุพิบัติภัย

 

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน