X

ตรัง วิกฤตราคาหมูตกต่ำ-ต้นทุนสูง เกษตรกรสู้ไม่ไหวลดและเลิกเลี้ยงจำนวนมาก

เกษตรกรผู้เลี้ยงหมูรายย่อยใน จ.ตรังทุกรายประสบปัญหาราคาหมูตกต่ำมากที่สุดในรอบ 20 ปี ขณะที่ต้นทุนการเลี้ยงสูง ทำให้ต้องเลิกเลี้ยงไปแล้วจำนวนมาก ส่วนที่เลี้ยงก็ลดปริมาณหมู ชะลอการผสมพันธุ์ ชะลอการคลอด เพื่อประคองตัวเองให้ผ่านพ้นวิกฤติ ขาดทุนน้อยที่สุด ทุกคนเชื่อเกิดจากปัญหาการลักลอบนำเข้าหมูเถื่อน วอนรัฐปราบปรามจริงจัง ลดราคาค่าอาหารให้สมดุลกับราคาหมู ผลักดันราคาหมูหน้าฟาร์ม เพื่อช่วยเกษตรกร

นางสาววันทนีย์ พรมขวัญ เกษตรกรผู้เลี้ยงหมู ชาวหมู่ 6 ต.บางดี อ.ห้วยยอด จ.ตรัง บอกว่า เลี้ยงมา 32 ปี ตั้งแต่รุ่นพ่อ เคยมีครั้งหนึ่งสมัยพ่อเลี้ยงเคยประสบปัญหาขาดทุนช่วงอาหารกับราคาหมูไม่สมดุลกัน เคยขาดทุนมารอบหนึ่งแล้วประมาณ 20 ปีมาแล้ว ตั้งแต่นั้นมาก็ไม่เคยประสบปัญหาขาดทุน แต่มาถึงขณะนี้ก็มาประสบปัญหาขาดทุนอีกครั้งซึ่งมากที่สุดในรอบ 20 ปี โดยราคาอาหารยังปรับตัวต่อเนื่อง แต่ละรุ่นเพิ่มประมาณ 25-30 บาทต่อกระสอบ หมูใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 4 เดือนก็ขายได้ ต้นทุนต่อตัวประมาณ 4,500 -5,000 บาท ยังไม่รวมค่าแรง ค่าลูกหมู ขณะนี้ขาดทุนทั้งหมด สาเหตุหลักเชื่อว่าน่าจะเกิดจากปัญหาหมูเถื่อนที่เข้ามา รวมทั้งการฉวยโอกาสปรับราคาค่าอาหาร ทำให้ราคาหมูไม่สมดุลกับราคาค่าอาหาร ทั้งนี้ อาหารต้องซื้อสำเร็จรูปเท่านั้น สมัยพ่อทำเคยทดลองซื้อรำข้าว ข้าวโพดหรือวัตถุดิบอื่นๆ มาผสมเองสำหรับเลี้ยงหมู แต่ไม่คุ้มทุน จึงเลิก ต้องซื้ออาหารสำเร็จรูปเท่านั้น ซึ่งหมูแต่ละรุ่นจะได้สารอาหารครบ อยากให้รัฐบาลเร่งแก้ปัญหาคือ ราคาค่าอาหาร ราคาหมู แม้ราคาหมูขุนจะถูกลง ขอรัฐปรับราคาค่าอาหารให้สมดุลกับราคาหมูขุน เพราะตอนนี้เกษตรกรที่เลี้ยงหมูไม่มีใครอยู่ได้ โดยเฉพาะรายเล็ก ๆ ที่เลี้ยงด้วยต้นทุนตัวเอง จะขาดทุนหมดทุกราย รวมทั้งกวาดล้างการลักลอบนำเข้าเนื้อหมูเถื่อนอย่างจริงจัง เพราะขณะนี้ด้วย

 

สาเหตุทั้งหมดดังกล่าว เป็นการทำลายเกษตรกรรายย่อย ทำให้จำนวนมากอยู่ไม่ได้ ต้องเลิกอาชีพไป ส่วนราคาอาหารได้มีการปรับราคาขึ้นประมาณ 10 -20% ซึ่งหมู 1 ตัวจะกินอาหารเฉลี่ยประมาณ 8 กระสอบ นอกจากนั้น กระทรวงพาณิชย์ประกาศราคาหมูหน้าฟาร์มภาคใต้ เช่น กก.ละ 70 บาท แต่ขายกันจริงๆจะถูกกดราคาเหลือประมาณ กก.ละ 58 – 59 บาทเท่านั้น ราคา 70 บาท ไม่มีอยู่จริง ทางแก้ของตนเอง เน้นขายแผง ส่งขายงานแต่ง งานศพ งานทั่วไป และขายเป็นหมูย่าง

ตอนนี้ส่วนตัวเลี้ยงแบบประคองตัวเอง เพราะไม่มั่นใจ มีพ่อพันธุ์ 1 ตัว แม่พันธุ์ 15 ตัว ลูกก็แบ่งขายให้ญาติ ๆ ด้วยซื้อเอาไปขุนต่อ ชะลอการผสมพันธุ์ ชะลอการคลอด จากเดิมจะแยกแม่เตรียมคลอดเดือนละ 4 ตัว พอคลอดอนุบาลลูกได้ประมาณ 21 วัน ก็เอาลง ก็นำแม่พันธุ์ชุดใหม่อีก 4 แม่ขึ้นเตรียมทันที แต่ตอนนี้ชะลอการผสมพันธุ์ เพื่อลดปริมาณการตกลูก และลดหมูขุน จากเดิมเลี้ยงเต็มพิกัดทั้งลูกหมูที่ถูกจอง และลูกหมูเตรียมขุน รวมประมาณ 200 -300 ตัว ตอนนี้เหลือลูกและหมูขุนรวมประมาณ 100 ตัวเท่านั้น เพราะคนเลี้ยงที่เคยเป็นลูกค้าประจำรับซื้อลูกหมูไปขุนเลี้ยงขายนั้น หยุดเลี้ยงชั่วคราวไปเกือบหมดแล้ว รอราคาหมู รอราคาอาหารให้ถูกลง เพราะทนขาดทุนไม่ไหว

ทั้งนี้ ราคาหมูหน้าฟาร์มในปัจจุบันนี้ เมื่อคำนวณจากราคาค่าอาหาร ต้นทุนการผลิตแล้ว จะต้องไม่ต่ำกว่ากก.ละ 80 บาท ส่วนตัวไม่สามารถจะบอกได้ว่า คนเลิกเลี้ยงไปแล้วจำนวนเท่าไหร่ รู้แต่ว่ารายใหม่ ๆ เลิกเลี้ยงทั้งหมดแล้ว เหลือแต่รายเก่า ๆ ที่เลี้ยงมานาน ผลิตลูกหมูเอง อาจมีแผงขาย หาลูกค้างานต่าง ๆ ก็สามารถวางแผนประคองตัวเองไว้เท่านั้น

ส่วนปัญหาหมูเถื่อน ส่วนตัวไม่ทราบว่ากระบวนการนำเข้าเป็นอย่างไร ทราบแต่ว่ามีจริง เพราะเจ้าหน้าที่รัฐก็จับกุมได้ต่อเนื่อง เชื่อว่าที่จับกุมไม่ได้น่าจะยังมีอีกมาก เข้ามาทำลายอาชีพเกษตรกรไทย

 

 

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน