ตรัง งานฉลองรัฐตรังคึกคัก ยกหมู่บ้านข้าวหลาม 150 ปีของขายที่ขาดไม่ได้มาไว้ในงาน ขายเกลี้ยงวันแรกรับรายได้ครึ่งแสน ยังมีการออกร้านของหน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ รวมทั้งการออกร้านกาชาดเพื่อการกุศล และการจัดงานในปีนี้มีการจัดนิทรรศการฯ การออกร้านจำหน่ายสินค้าของดีบ้านฉัน มีจุดถ่ายรูปเช็คอินสวย ๆ จำนวนมาก มีซุ้มไฟล้านดวง ไฟต้นคริสต์มาส ให้ประชาชนที่เข้าร่วมงานได้ถ่ายรูปสวย ๆ โพสต์อวดโซเชียล การแสดงหนังตะลุง มโนราห์ ทุกคืนตลอดงาน
เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2566 ที่ลานวัฒนธรรม สนามกีฬาเทศบาลนครตรัง 2 ทุ่งแจ้ง อ.เมือง จ.ตรัง บรรยากาศงานฉลองรัฐธรรมนูญและงานกาชาดจังหวัดตรัง ประจำปี 2566 วันแรกคึกคัก พบว่ามีประชาชนชาวตรังมาเที่ยวกันอย่างคึกคัก ซึ่งงานจัดขึ้นระหว่างวันที่ 5-16 ธันวาคม 2566 อำเภอเมือง จังหวัดตรัง โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อระลึกถึงการพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยครั้งแรก ตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และเพื่อเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ที่มีต่อพสกนิกรชาวตรัง รวมทั้งเพื่อให้ประชาชนทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากให้เกิดรายได้ โดยมีการออกร้านของหน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ รวมทั้งการออกร้านกาชาดเพื่อการกุศล และการจัดงานในปีนี้มีการจัดนิทรรศการฯ การออกร้านจำหน่ายสินค้าของดีบ้านฉัน มีจุดถ่ายรูปเช็คอินสวย ๆ จำนวนมาก มีซุ้มไฟล้านดวง ไฟต้นคริสต์มาส ให้ประชาชนที่เข้าร่วมงานได้ถ่ายรูปสวย ๆ โพสต์อวดโซเชียล การแสดงหนังตะลุง มโนราห์ ทุกคืนตลอดงาน
และของขายที่ขาดไม่ได้ คือ ข้าวหลาม หรือที่ชาวตรังเรียกว่า เหนียวหลาม จะมีรสเค็ม ๆ มัน ๆ ไม่หวาน อร่อยมาก โดยปีนี้ทางสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดตรัง จึงได้ยก “หมู่บ้านข้าวหลาม 150 ปี” บ้านบนควน หมู่ที่ 8 ต.โคกสะบ้า อ.นาโยง จ.ตรัง มาไว้นงาน จัดโซน “เทศกาลOTOPข้าวเหนียวหลาม หลาดงานหลองรัฐ ของตรังหรอยเพ มาตะ มาตะ ว่าเด็ดนิ” ซึ่งข้าวหลามอยู่คู่กับงานเฉลิมฉลองรัฐธรรมนูญ มายาวนาน นับตั้งแต่เริ่มการจัดงานตั้งแต่ปีแรก งานฉลองรัฐธรรมนูญและงานกาชาดจังหวัดตรัง งานประจำปีที่เป็นเอกลักษณ์ของเมืองตรัง โดยเริ่มจัดงานครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2476 ณ บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดตรัง (หลังเดิม) โดยใช้ชื่องานว่า “งานฉลองรัฐธรรมนูญ” เป็นการจัดงานเพื่อเป็นการเฉลิมฉลองรัฐธรรมนูญฉบับแรกของประเทศไทย ที่ได้นำมาประดิษฐาน ณ จังหวัดตรัง และในปีต่อ ๆ มาได้มีการจัดต่อเนื่องในแต่ช่วงเดือนธันวาคมของทุกปี ซึ่งประชาชนจะนิยมมาเที่ยวและจะต้องซื้อข้าวหลาม ติดมือกลับบ้านไปทุกครั้ง และยังเป็นการประชาสัมพันธ์ หมู่บ้านข้าวหลาม 150 ปี ที่มีชื่อเสียงของจังหวัดตรังให้นักท่องเที่ยวได้รู้จักมากขึ้นอีกด้ว
ด้าน นางจินดา แสงมี อายุ 63 ปี เจ้าของร้านข้าวหลามแม่จินดา แสงมี ประธานกลุ่มหมู่บ้านวิสาหกิจชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง “หมู่บ้านข้าวหลาม 150 ปี” บ้านบนควน หมู่ที่ 8 ต.โคกสะบ้า อ.นาโยง จ.ตรัง ที่มาออกร้านขายในงานเฉลิมฉลองรัฐธรรมนูญและงานกาชาดจังหวัดตรัง ปี 2566 บอกว่า วันนี้มาขายข้าวหลามเป็นวันแรก ขายดีและคุ้มมากดีกว่าไปเช่าที่ ถ้าหากต้องไปเช่าที่เราจะต้องมาจ่ายค่าที่อีก ลูกค้าที่มาเที่ยวงานสามารถมาซื้ออุดหนุนเราได้เลย วันนี้มีแม่ค้ามาขายข้าวหลามทั้งหมด 15 ราย ในส่วนตนเองทำข้าวหลามมาขาย 15 กิโลกรัม และที่มีข้าวหลามแบบใหม่ก็คือ สามเกลอ ที่เป็นข้าวเหนียวใส่ถั่วดำ มะพร้าวอ่อน เผือก หรือ ใส่ข้าวโพดแทนได้ และแม่ขมิ้น ยอดขายวันแรก อาจจะน้อยกว่าทุกปีที่ผ่านมา แต่ก็โชคดีที่ไม่ต้องจ่ายค่าเช่าแผงขาย
ข่าวน่าสนใจ:
- ตรัง ร้านอาหารผวา!! แก๊งคอลเซ็นเตอร์ป่วน อ้างสั่งอาหารหรู "พระกระโดดกำแพง" หลอกร้านดังเกือบเสียเงินแสน
- Преимущества активного образа жизни для здоровья и долголетия
- "ประเสริฐ รักไทย” ประกาศชน “บุ่นเล้ง โล่สถาพรพิพิธ” สู้ศึกชิงเก้าอี้ อบจ.ตรัง
- ตรัง "โลกเปลี่ยน เราไม่เปลี่ยน" บอกรักทะเลด้วยสองมือ ณ หาดฉางหลาง ทะเลตรัง ก้าวขา-พาสองมือเก็บขยะทะเล รังสรรค์งานศิลป์
ทั้งนี้ราคาข้าวหลาม มีราคาเริ่มตั้งแต่กระบอกละ 20, 30, 50, จนถึงจัดรวมเป็นมัดละ 100 บาท โดยจะมีกลุ่มข้าวหลามทั้งหมด 15 ร้าน แต่ละร้านจะนำข้าวหลามมาร้านละ 10-20 กิโลกรัม โดยวันนี้ทางหมู่บ้านข้ามหลาม 150 ปี ได้เตรียมข้าวเหนียวมาทั้งหมดกว่า 200 กิโลกรัม ซึ่งคาดว่ารายได้คืนแรกไม่ต่ำกว่า 60,000 บาท.
ส่วนที่ร้านนาวากาชาดจังหวัดตรัง นายทรงกลด สว่างวงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง รักษาราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง นางลักษณาพร อนันต์วรปัญญา รักษาการแทนนายกเหล่ากาชาดจังหวัดตรัง ร่วมเทรางวัลนาวากาชาดลงในสระนาวากาชาด เป็นการเปิดร้านนาวากาชาด ประจำปี 2566 พร้อมจุดพลุไฟสวยงามตระการตา ซึ่งงานกาชาดจังหวัดตรัง ได้จัดงานร่วมกับการจัดงานฉลองรัฐธรรมนูญจังหวัดตรัง มาโดยตลอด เพื่อเป็นการจัดหารายได้สำหรับการให้ความช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ ประชาชน และสังคมส่วนรวม ตามภารกิจของสภากาชาดไทยและภารกิจของเหล่ากาชาดจังหวัด การจัดงานร้านนาวากาชาด เพื่อขายให้กับประชาชนใบละ 20 บาท ในขณะที่ประชาชนที่ตักนาวากาชาดก็จะได้รับรางวัล เช่น ถ้วย จาน สบู่ พัดลม ตู้เย็น หม้อหุงข้าว จักรยาน จักรยานยนต์ และรางวัลอื่น ๆ อีกมาก รวมไปถึงการจำหน่ายสลากกาชาด ใบละ 100 บาท ที่มีรางวัลใหญ่เป็นรถยนต์โตโยต้า YARIS ATIV จำนวน 1 รางวัล รถจักรยานยนต์ สร้อยคอทองคำ และอีกหลายรางวัล ซึ่งจะมีการหมุนวงล้อออกรางวัลในวันศุกร์ที่ 15 ธันวาคม 2566 เวลา 20.00 น. เป็นต้นไป
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: