ตรัง ตื่นตา ประชาชนชาวตรังนับพันแห่ดูฝนดาวตกเจมินิดส์หรือกลุ่มดาวคนคู่ คึกคัก ซึ่งจัดโดยศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาตรัง แลดาว เคียงนา กางเต็นท์รับลมหนาว ชมดาวนาข้าวเสีย
วันที่ 14 ธันวาคม 2566 ที่บริเวณคลองชลประทานซอย 3 ต.นาข้าวเสีย อ.นาโยง จ.ตรัง พบว่ามีประชาชนนับพันคนแห่มารอดูฝนดาวตกเจมินิสด์ ซึ่งบรรยากาศเป็นไปอย่างคึกคัก มีบางคนนำเต็นท์ เก้าอี้ พร้อมด้วยของกิน มาเตรียมดูฝนดาวตกเจมินิดส์ ริมทุ่งนา ที่จัดโดยทางศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาตรัง นำกล้องโทรทรรศน์ส่องดาว จำนวน 6 ตัว เพื่อไว้บริการประชาชนที่มาดูดาวยามค่ำคืนนี้ พร้อมให้ความรู้เกี่ยวกับกลุ่มดาว ดวงดาวต่าง ๆ กิจกรรมส่องกล้องดูดาว โดยเฉพาะดาวพฤหัส ดาวเสาร์ และสอนใช้แอปท้องฟ้าจำลองในมือถือ และภายในงานมีกิจกรรมที่น่าสนใจ ฟังดนตรีโฟล์คซองและชมสินค้าชุมชน กางเต็นท์รับลมหนาว ชมดาวนาข้าวเสีย
นายณัฐภูมินทร์ สังข์พงศ์ ผอ.ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาตรัง บอกว่า วันนี้ทางศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาตรัง จัดกิจกรรมแลดาวเคียงนา ซึ่งเป็นช่วงปรากฏการณ์ฝนดาวตกเจมินิดส์ หรือกลุ่มดาวคนคู่ ซึ่งเราอยากให้ประชาชนได้มาสัมผัสบรรยากาศธรรมชาติของตำบลนาข้าวเสีย ที่เป็นธรรมชาติท้องนาที่มีความมืด เหมาะสำหรับการดูฝนดาวตก ซึ่งเราก็ได้มีกล้องโทรทรรศน์มาให้ประชาชนไว้ใช้ดูดาวผ่านกล้อง ซึ่งคืนนี้ก็จะดูดาวเสาร์และดาวพฤหัส และดาวที่มองเห็นก็จะเป็นกลุ่มดาวลูกไก่ และอาจจะมีดาวอื่นที่เคลื่อนตัวผ่านมาเรื่อย ๆ ก็รอติดตามไปตามสถานการณ์ และตอนนี้ลุ้นในเรื่องของฝนดาวตก ที่จะเกิดขึ้นในช่วงค่ำคืนนี้ และรอให้ประชาชนมาร่วมกิจกรรมชมบรรยากาศด้วย ในเรื่องของการดูดาวผ่านแอพ และดูดาวผ่านกล้อง และพอในช่วงดึกเราก็จะปิดไฟ เพื่อที่จะชมฝนดาวตกกัน และก็ต้องรอลุ้นไปพร้อมกับสภาพอากาศด้วย และทำเลที่เราเลือกตรงจุดบริเวณตรงนี้เพราะมีความมืด และรอลมช่วยพัดพาก้อนเมฆทำให้ฟ้าเปิด และเราเชื่อว่าคืนนี้ประชาชนที่มาดูดาวจะได้ชมฝนดาวตกอย่างมีความสุข และคืนนี้ขอบคุณทุกฝ่ายที่ให้ความร่วมมือในกิจกรรมนี้ ถือว่าวันนี้มีประชาชนมาดูฝนดาวตกเจมินิดส์เป็นจำนวนมาก จึงทำให้ค่ำคืนนี้มีคุณค่า ประชาชนที่มาก็จะได้ทั้งการเรียนรู้และกับบรรยากาศที่งดงามควบคู่ไปด้วย
ข่าวน่าสนใจ:
ทั้งนี้ฝนดาวตกเจมินิดส์ วันที่ 14 ธ.ค.66 (16.00 น. เป็นต้นไป) ถึง รุ่งเช้า 15 ธ.ค. 66 ปรากฎการณ์ฝนดาวตกเจมินิดส์ หรือฝนดาวตกกลุ่มดาวคนคู่ มีศูนย์กลางกระจายตัวอยู่บริเวณกลุ่มดาวคนคู่ อัตราการตกสูงสุดประมาณ 150 ดวงต่อชั่วโมง
สำหรับปรากฎการณ์ฝนดาวตกเจมินิดส์ มักเกิดขึ้นในช่วงวันที่ 4-17ธันวาคมของทุกปี เกิดจากการที่โลกเคลื่อนที่เข้าตัดกับสายธารของเศษหิน และเศษฝุ่นขนาดน้อยใหญ่ที่ดาวเคราะห์น้อย 3200 เฟธอน (3200 Phaethon) ทิ้งไว้ในขณะเคลื่อนผ่านเข้ามาในระบบสุริยะชั้นใน เมื่อโลกโคจรผ่านเส้นทางดังกล่าว แรงดึงดูดของโลกจะดึงฝุ่นและหินเข้ามาเผาไหม้ในชั้นบรรยากาศโลกเกิดเป็นลำแสงวาบ
หรือในบางครั้งเกิดเป็นลูกไฟขนาดใหญ่เรียกว่า (Fireball) ฝนดาวตกแตกต่างจากดาวตกทั่วไป คือ เป็นดาวตกที่มีทิศทางเหมือนมาจากจุด ๆ หนึ่งบนท้องฟ้า เรียกว่าจุดศูนย์กลางการกระจาย (Radiant) เมื่อจุดศูนย์กลางการกระจายตรงหรืออยู่ใกล้เคียงกับกลุ่มดาวใด ก็จะเรียกชื่อฝนดาวตกตามกลุ่มดาวนั้น ๆ
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: