ตรัง-“บิ๊กอุตสาหกรรมไม้ยางใต้” หนุน แลนด์บริดจ์ ชุมพร-ระนอง ลดต้นทุน-กระตุ้นเศรษฐกิจ-เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน เผย มูลค่าอุตสาหกรรมไม้ยางอยู่ในช่วงขาขึ้นนับแสนล้านบาทต่อปี ฝากรบ.ดูแลเรื่องต้นทุนค่าระวางสินค้า-ค่าจัดการต่างๆแก่ผู้ใช้บริการ เชื่อเคลียร์ภาคประชาชนผู้เห็นต่างได้ ชงแผนสอง หากติดขัดให้ต่อยอด “เซาท์เทิร์นซีบอร์ด” เดิม
วันที่ 23 ม.ค.2567 นายเสน่ห์ ทองศักดิ์ ผู้ประกอบการโรงงานแปรรูปไม้ยางพาราเพื่อส่งออกรายใหญ่ของภาคใต้ อาทิ บริษัท เอสดีที พาราวู้ด จำกัด สาขารัษฎา ต.ควนเมา อ.รัษฎา จ.ตรัง และโรงงานสาขา ในจ.ตรัง นครศรีธรรมราช และพัทลุง รวมถึงโรงงานเชื้อเพลิงชีวมวลวู้ดแพลเล็ต ทำขี้เลื่อยอัดเม็ด รวม 5 แห่ง ในเครือทองศักดิ์กรุ๊ป กล่าวกรณี ครม.สัญจรจ.ระนองเดินหน้าโครงการแลนด์บริดจ์ชุมพร-ระนอง ว่า ตนในฐานะที่ดำเนินธุรกิจนำเข้าและส่งออก ถือว่าเป็นผลดีก่อให้เกิดรายได้แก่ประชาชน โดยเฉพาะประชาชนในบริเวณใกล้เคียง จ.ระนอง จ.ชุมพร และ จ.สุราษฎร์ธานี ที่ถือว่ามีผลได้ผลเสียโดยตรง ในโซนภาคใต้ฝั่งอันดามันได้รับผลได้โดยตรงจากการทำธุรกิจนำเข้าส่งออก อุตสาหกรรมยางพารา และอุตสาหกรรมไม้ยางพารา เชื่อว่ารัฐบาลมองที่รายได้ของประชาชน และสร้างเศรษฐกิจให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชน ส่วนเรื่องความไม่เห็นด้วยของบางกลุ่ม รัฐบาลก็ต้องกลับไปทำความเข้าใจกับกลุ่มนี้ และประชาชนในพื้นที่
นายเสน่ห์กล่าวต่อว่า สำหรับแลนด์บริดจ์ ด้านการส่งออกสินค้าไม้ยางพาราไปประเทศจีน ถือเป็นเรื่องดีเพราะช่วยประหยัดต้นทุน และสร้างโอกาสเรื่องการแข่งขันต่อไป และสร้างเศรษฐกิจที่มั่นคงในอนาคต ภาคเอกชนมีตัวเลือกที่มากขึ้น เพราะปัจจุบันเราส่งผ่านไปทางประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์ ถ้าประเทศไทยมีท่าเรือและเกิดแลนด์บริดจ์ตรงนี้ รัฐบาลสร้างจุดแข็งให้ภาคเศรษฐกิจและการส่งออกให้ประเทศไทย เป็นโอกาสดีที่จะมีข้อได้เปรียบด้านการแข่งขัน และเรื่องโลจิสติกส์ ส่วนต้นทุนระวางสินค้าและค่าจัดการต่างๆที่เอกชนผู้ใช้บริการต้องจ่ายให้กับโครงการ เชื่อว่ารัฐบาลมองเรื่องค่าใช้จ่ายและความคุ้มทุนต่อภาคส่งออกและอุตสาหกรรมของประเทศเป็นหลักอยู่แล้ว ทั้งนี้ หลักของอุตสาหกรรมไม้ยางพาราที่ส่งออกไปประเทศจีน ทั้งที่อยู่ในภาคใต้ ภาคตะวันออก และภาคอีสาน ตอนนี้ตัวเลขค่อนข้างโต และตอนนี้มีสินค้ากลุ่มพลังงาน วู้ดแพลเล็ตที่ส่งออกไปเกาหลีและยุโรป ถือว่าเป็นอุตสาหกรรมที่โตมากในประเทศไทย และสร้างมูลค่าให้ประเทศอย่างมหาศาล ซึ่งจากข้อมูลจากสมาคมอุตสาหกรรมไม้ยางพาราทั้งหมด ทำรายได้ถึงปีละ 1 แสนล้านบาท
ข่าวน่าสนใจ:
- พรรคประชาชนเปิดตัว นายแพทย์จิรชาติ เรื่องวัชรินทร์ หรือ หมอมุดสัง ชิง นายก อบจ.สุราษฎร์ ฯ สมัครจันทร์นี้
- บ้านใหญ่พรรคเพื่อไทยเชียงราย เปิดตัวผู้สมัครนายก อบจ.พร้อมกับนำทีมผู้สมัคร สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย ทั้ง 36 เขต ในนามพรรคเพื่อไทย
- ตรัง "เมนูลูกปลาปิ้งเครื่อง" จับปลาสดๆจากแหล่งน้ำธรรมชาติ ปรุงเป็นอาหารพื้นบ้านแสนอร่อย
นายเสน่ห์กล่าวว่า เราพยายามมองว่าภาคอุตสาหกรรมมองที่เรื่องการลดต้นทุน ซึ่งในอนาคตเราจะมีคู่แข่งเพิ่มขึ้นไม่ว่าจะ เป็นอินโดนีเซีย มาเลเซีย พม่า และเวียดนาม ที่มีไม้ยางพารา หากไทยสร้างระบบโลจิสติกส์ที่ดีจะมีความได้เปรียบ และสามารถเป็นผู้นำอุตสาหกรรมไม้ยางพารา และอุตสาหกรรมพลังงานทดแทนได้ และในอนาคตรัฐบาลต้องคำนึงถึงต้นทุนกับภาคเอกชนหรือภาคผู้ใช้บริการ และรัฐบาลมองเห็นถึงประโยชน์ของประชาชน การพัฒนาเมือง และเศรษฐกิจของประเทศ ดังนั้นเรื่องต้นทุนค่าใช้จ่ายรัฐบาลจะนำกลับมาทบทวนและนำมาคิดในอนาคต
“อย่างไรก็ตาม อยากฝากถึงรัฐบาลหากระนอง-ชุมพร เกิดปัญหาจนทำต่อไม่ได้ ก็ลองดูพื้นที่อื่นเช่น จ.กระบี่ , จ.สุราษฎร์ธานี ที่ผ่านมาเราเคยทำมาแล้วทั้งเรื่องเซาท์เทิร์นซีบอร์ดและใช้มาแล้ว ซึ่ง2จังหวัดนี้เป็นประโยชน์ทั้งภาคใต้ตอนบนและภาคใต้ตอนล่างได้เต็มที่ หากเป็นระนองจะได้ในภาคกลางบางส่วน ส่วนภาคใต้ยังเป็นจุดอ่อนอยู่ และภาคใต้ตอนล่างอย่างจ.ตรัง ถ้าไปใช้ที่ระนองก็ต้องออกทางเรือเช่นกัน ต้องคำนวนว่าหากออกจากท่าเรือในจ.ตรัง อ้อมไปเปลี่ยนถ่ายที่ระนอง กับไปเปลี่ยนถ่ายที่มาเลเซีย เราก็ต้องดูต้นทุนและบริการอื่นๆว่าเป็นอย่างไร”นายเสน่ห์ระบุ
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: