ปัญหาภัยแล้งในพื้นที่จ.ตรังยังขยายวงกว้างและรุนแรง ส่งผลทำให้ประชาชนหลายพื้นที่ต้องประสบปัญหาขาดแคลนน้ำกิน น้ำใช้ โดยเฉพาะพื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหายจำนวนมากทั่วทั้ง 10 อำเภอ หลังฝนหยุดตก ทิ้งช่วงเป็นเวลานาน ล่าสุด ประชาชนได้เข้าไปยื่นคำร้องออนไลน์ เพื่อร้องขอฝนหลวง จากศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคใต้ รวมทั้งทางสำนักงานเกษตรจังหวัดตรังได้สรุปภาพรวมพื้นที่ประสบภัย เพื่อขอปฏิบัติการฝนหลวงเช่นเดียวกัน โดยพบว่ามีพื้นที่ประสบภัยแล้วประมาณกว่า 8 แสนไร่ ทั้งนี้ ทางศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคใต้ ได้ทำการบิน และฝนตกมาแล้ว 2 ครั้ง โดยเดือนมีนาคมตกไม่ทุกอำเภอ และเมษายน ตกครอบคลุมทุกอำเภอ แต่ไม่เพียงพอและไม่สามารถกักเก็บน้ำไว้ใช้ได้ จึงยังมีการร้องขอต่อไป
ขณะที่ องค์การบริหารส่วนจังหวัดตรัง ( อบจ.) นายจารึก ทองหนัน รองนายกอบจ.ตรัง พร้อมด้วยนายสถาพร ปรีชาหาญ นายช่างโยธาอาวุโส รับผิดชอบฝ่ายขุดเจาะบ่อน้ำตื้น ได้ลงพื้นที่ ต.ทุ่งค่าย อ.ย่านตาขาว จ.ตรัง เพื่อดูการทำงานของเจ้าหน้าที่ในการขุดเจาะบ่อน้ำตื้นช่วยเหลือประชาชน
นายจารึก ทองหนัน รองนายกอบจ.ตรัง บอกว่า ตอนนี้มีประชาชนร้องขอเข้ามาที่อบจ.ให้ช่วยไปขุดเจาะบ่อน้ำตื้นเข้ามาแล้วกว่า 400 บ่อ และยังมีขอเข้ามาเรื่อยๆทุกวัน ผ่านองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดย อบจ.ตรัง มีรถขุดเจาะบ่อน้ำตื้น จำนวน 4 คัน ต้องกระจายลงพื้นที่ทำงานทุกวัน ต่อคันสามารถขุดเจาะได้แค่ประมาณวันละ 2 บ่อเท่านั้น หรือตกประมาณวันละไม่เกิน 8 บ่อ เพราะเจ้าหน้าที่เองก็ต้องทำงานหนักท่ามกลางสภาพอากาศที่ร้อนจัด โดยปีนี้ภัยแล้งรุนแรงกว่าปีที่ผ่านมา โดยปีที่ผ่านมาชาวบ้านร้องขอและขุดเจาะไปได้ประมาณ 500 บ่อ แต่ปีนี้ขอเข้ามา 400 กว่าบ่อแล้ว และยังมีเข้ามาเรื่อยๆทุกวัน ทั้งขุด เพื่อเป็นน้ำกิน น้ำใช้ แต่ส่วนใหญ่ขุดเพื่อสูบนำไปใช้ในพื้นที่การเกษตร โดยอบจ.ขุดเจาะให้ชาวบ้านฟรี แต่เจ้าของบ่อจะต้องซื้อท่อซีเมนต์เอง เมื่อขุดเจาะได้น้ำแล้ว ก็จะนำท่อลงใส่ให้ในบ่อให้แล้วเสร็จ ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น โดยรถขุดเจาะได้ที่ความลึกมากสุดประมาณ 17 -18 เมตร บางพื้นที่ขุดเจาะแล้วไม่เจอแหล่งน้ำก็มี ทั้งนี้ หาก อบจ.ตรัง ไม่มีรถขุดเจาะบ่อน้ำตื้นช่วยประชาชน ๆต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงในการจ้างขุดเจาะเองตกเมตรละ 1,500 บาท หากลึกมากตกเมตรละ 2,000 บาท ซึ่งต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงนับหมื่นบาทต่อบ่อ อบจ.จึงจัดรถขุดเจาะออกช่วยเหลือ นอกจากนั้น อบจ.ยังมีรถบรรทุกน้ำอีกประมาณ 4-5 คัน สำหรับบรรทุกน้ำไปแจกจ่ายให้แก่ประชาชนที่ร้องขอด้วยทุกวัน ตกวันละประมาณ 40,000 -50,000 ลิตร เนื่องจากปีนี้ภัยแล้งรุนแรงและยาวนานที่สุดในรอบ 5 ปี และไม่ทราบว่าจะสิ้นสุดเมื่อไร
ข่าวน่าสนใจ:
- พรรคประชาชนเปิดตัว นายแพทย์จิรชาติ เรื่องวัชรินทร์ หรือ หมอมุดสัง ชิง นายก อบจ.สุราษฎร์ ฯ สมัครจันทร์นี้
- เปิดศึกชิงนายก อบจ.ปัตตานี อดีต สส.ท้าชน อดีตนายก อบจ.4 สมัยเดือดตั้งแต่วันแรก (มีคลิป)
- เชียงใหม่รับสมัคร นายก อบจ.สุดคึก ดุเดือด แน่
- รับสมัคร นายกอบจ.-ส.อบจ.ตรัง วันแรกคึกคัก! บ้านใหญ่ตระกูลโล่ฯ-ส.ส.ตรังทุกพรรค-กองเชียร์นับพัน แห่ให้กำลังใจ “ทีมนายกบุ่นเล้ง” สู้ศึกอีกสมัย…
ส่วนของเกษตรกรที่ร้องขอ บอกว่า น้ำประปาหมู่บ้านของ อบต.ทุ่งค่าย ไม่พอใช้ จึงร้องขอไป อบจ.ขุด เพื่อนำน้ำไปใช้ในพื้นที่การเกษตร ความลึกที่ได้ประมาณ 12 เมตร ต้องใส่ท่อซีเมนต์ประมาณ 22 ลูก ราคาตกท่อละ 350 บาท
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: