ตรัง ลูกหลานตระกูล”รักทองหล่อ” จ.ตรัง ทำตามคำสั่งเสีย กว่าร้อยชีวิต ร่วมกันหามศพอดีตกำนันคนดังโคกหล่อ อายุ 71 ปี พาเข้าวัดแบบโบราณ มีขบวนกลองยาว นางรำ และการยื้อศพตลอดเส้นทางกว่า 1 กิโลเมตร บรรยากาศคึกคัก
วันที่ 14 พฤษภาคม 2567 ผู้สื่อข่าวรายงาน ที่บ้านเลขที่ 71 หมู่ 7 ต.โคกหล่อ อ.เมือง จ.ตรัง บรรดาลูกหลานตระกูล “รักทองหล่อ” ได้ช่วยกันจัดทำแคร่จากไม้ไผ่กำยาน ขนาด 16 คนหาม โดยด้านหน้า 4 คน ด้านหลัง 4 คน และด้านข้าง 4 ข้างๆละ 4 คน รวม 16 คนหาม เพื่อใช้สำหรับแบกหามศพของคุณพ่อวิเชียร รักทองหล่อ หรืออดีตกำนันแอ๊ดหรือเอียด อดีตรองนายกเทศมนตรีตำบลโคกหล่อ อายุ 71 ปี ที่เสียชีวิตด้วยความชรา ตั้งแต่เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2567 ที่ผ่านมา
ซึ่งหลังจากที่บรรดาลูกหลานได้ประกอบพิธีสวดอภิธรรมศพอยู่ที่บ้านจนครบ 3 วัน ก็ถึงกำหนดการนำร่างของคุณพ่อวิเชียรฯ ไปวัดโคกหล่อ ต.โคกหล่อ อ.เมือง จ.ตรัง ซึ่งอยู่ห่างจากบ้านไปประมาณ 1 กิโลเมตร เพื่อไปเก็บศพ และจะออกศพอีกครั้ง วันที่ 27 พฤษภาคม-1 มิถุนายน 2567 และจะทำพิธีฌาปนกิจศพในวันที่ 2 มิถุนายน 2567
โดยขบวนหามศพนำด้วยกลองยาว และพระภิกษุสงฆ์จำนวน 1 รูป เพื่อทำพิธีนำทาง นำดวงวิญญาณผู้ตายไปยังวัด จะมีบรรดาลูกหลานร่วมกันฟ้อนรำ โดยมีลูกๆ หลานๆ เหลนๆ ผู้ชายของผู้ตายผลัดเปลี่ยนช่วยกันแบกหามตลอดระยะทาง 1 กิโลเมตร
ข่าวน่าสนใจ:
- พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานผ้าพระกฐิน แด่ภรรยาอดีตนายกฯไปทอดถวาย ณ วัดตันตยาภิรม พระอารามหลวง
- ตรัง ศิษย์เก่าใจบุญมอบทุน-คอมพิวเตอร์ หนุนโรงเรียนวัดตรังหลังทีมกีฬาคว้า 7 เหรียญระดับปท.
- ตรัง ชาวบ้านทำพิธีดุอาร์ขอแนวทางแก้ปัญหาพะยูนตาย ล่าสุด ทะเลอันดามันพะยูนตายไปแล้วกว่า 40 ตัว ส่วนของจ.ตรังปีนี้ตายไปแล้ว 9 ตัว…
- ตรัง 'น้องอ๋อง' มโนราห์รุ่นเยาว์ วัย 7 ขวบ ผู้หลงใหลในศิลปะการแสดงภาคใต้ รับรำแก้บนค่าครูตามแต่ศรัทธา
นอกจากนั้นตลอดระยะทาง จะมีรำกลองยาวที่สนุกสนานแล้ว มีการร้องเพลง โดยตลอดระยะทาง ต้องใช้เวลาเกือบ 30 นาที เพราะจะมีการหาม ยื้อศพ ต้องเลี้ยวไปเลี้ยวมาตลอดเส้นทาง ท่ามกลางบรรยากาศที่เป็นไปอย่างครึกครื้นและสนุกสนาน
นายธนกฤต ภูมิมาตร นายกเทศมนตรีตำบลโคกหล่อ บอกว่า สำหรับคนตายรู้จักกันมานานพอสมควร เนื่องจากเป็นผู้ที่ชอบช่วยเหลือสังคม และในอดีตขณะที่ที่ยังมีชีวิตอยู่เป็นทั้งผู้ใหญ่บ้าน กำนันและรองนายก ช่วยเหลือสังคมมาตลอด มีอะไรก็ปรึกษาคุยกันตลอด ซึ่งที่ลูกหลานญาติๆ เพื่อนๆ พี่ๆน้องๆได้ร่วมทำประเพณีแบบเก่านั้นก่อนที่ผู้ตายจะเสียชีวิตได้มีการสั่งเสียเอาไว้ นำประเพณีเก่าๆมาใช้เพื่อที่จะได้ร่วมกันสืบทอดประเพณีเก่าๆ ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาเรียนรู้ต่อไป ซึ่งประเพณีการแห่ก็มีขบวนกลองยาวนำหน้า มีการทำคันหามศพ ซึ่งในสมัยโบราณนั้นไม่มีรถในการหามศพ โดยเฉพาะเส้นทางในชุมชน ในเมื่อเสียชีวิตแล้วก็จะใช้คันหามผู้เสียชีวิตออกมาที่วัด และอีกอย่างเพื่อแสดงให้เห็นถึงความรักความสามัคคี ของบรรดาลูกๆ หลาน แสดงให้เห็นถึงคุณงามความดี ของผู้เสียชีวิต เกิดความร่วมมือร่วมมือร่วมใจการที่จะนำสรีระ ของผู้ตายไปยังวัด สำหรับพิธีหามศพหรือแห่ศพนั้นมีมาอย่างยาวนานแล้ว ไม้ที่ใช้หามก็จะมีไม้ไผ่กับเชือก ซึ่งต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญและผู้ที่มีประสบการณ์ในการทำคานหาม หากทำไม่เป็นตอนหามอาจทำให้ศพหล่นได้
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: