ตรัง- ระดมทีมสัตวแพทย์จากหลายหน่วยงาน ดูแลรักษาและอนุบาลพะยูนน้อย เพศผู้ วัย 2 เดือนอย่างเต็มที่ ล่าสุด ยังพบมีแก๊สในกระเพาะอาหารและลำไส้ ดวงตาพร่า แพทย์เร่งตรวจและดูแลรักษาอาการ แต่พบว่าพะยูนน้อย ว่ายน้ำ ดำน้ำได้เก่งขึ้น เริ่มเป็นขวัญใจของทีมสัตว์แพทย์และเจ้าหน้าที่ โดยในวันเสาร์ที่ 17 สิงหาคมนี้ ซึ่งตรงกับวันพะยูนแห่งชาติ จังหวัดตรังจัดกิจกรรมสัปดาห์พะยูนแห่งชาติ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รมว.กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เตรียมลงพท.ดูการอนุบาลพะยูนน้อยเกยตื้นพลัดหลงแม่ด้วย
ที่โรงพยาบาลสัตว์น้ำราชมงคลตรัง อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง ซึ่งเป็นสถานที่ดูแลรักษาและอนุบาลพะยูนน้อย เพศผู้ อายุ 2 เดือน ที่เกยตื้นเพราะพลัดหลงกับแม่ในทะเลกระบี่ พบว่าเข้าสู่วันที่ 3 แล้วที่รพ.สัตว์น้ำราชมงคลตรัง รับมาอนุบาล โดยทีมสัตว์แพทย์และเจ้าหน้าที่จากศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนล่างยังคงหมุนเวียนกันดูแล โดยแบ่งการทำงานออกเป็น 2 ฝ่าย คือ ทีมสัตว์แพทย์ แบ่งเวรออกเป็น 4 ผลัดๆละ 6 ชม. และทีมเลี้ยงลูกพะยูน แบ่งเวรออกเป็น 6 ผลัดๆละ 4 ชม. โดยจะต้องเข้าเวรทำงานร่วมกันตลอด 24 ชม.โดยจะมีการให้นมทุกๆ 3 ชม.และเฝ้าระวังดูแล ตรวจรักษาสุขภาพ จะมีการวัดอัตราการเต้นของหัวใจ อัตราการหายใจ สังเกตพฤติกรรม ทั้งการว่ายน้ำ การทรงตัว การตดหรือการผายลม การขับถ่ายทั้งการอึ ,ฉี่ การนอน การเล่นทุกๆ 30 นาที โดยพบว่า น้องมีอาการทางตา , ยังมีแก๊สในกระเพาะอาหาร และลำไส้ สังเกตได้หลังการให้นม น้องจะมีอาการลอยตัวโข่งที่ผิวน้ำ แต่เมื่อเวลาผ่านไป น้องจะสามารถว่ายน้ำได้อย่างรวดเร็ว สดใสขึ้น ว่ายน้ำเล่นไปมา นอนกับท้องน้ำได้นานขึ้น ทางทีมสัตวแพทย์ดูแลอาการอย่างใกล้ชิด
ล่าสุด ทีมสัตวแพทย์เคลื่อนที่ ประจำจักษุคลินิก คณะสัตว์แพทย์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช (มทร.นครศรี) ได้ร่วมลงพื้นที่ตรวจอาการของพะยูนน้อย หลังพบว่าน้องพะยูนมีอาการตาด้านซ้ายพร่า
ข่าวน่าสนใจ:
- ตรัง ชื่นชมชุมชนท่องเที่ยวร่วมใจเก็บขยะบนเกาะเหลาเหลียง
- วิกฤตพะยูนตรัง 7 วันสำรวจ พบแค่ตัวเดียว ทดลองวางแปลงอาหาร กลับถูกเมินไม่ยอมกิน
- ขาดสภาพคล่องขั้นรุนแรง! อธิบดีกรมท่าฯ ร่อนนส.ด่วน! แจ้งบอกเลิกสัญญาทิ้งงานก่อสร้างอาคารผู้โดยสารสนามบินตรัง 1.2 พันล.แล้ว…
- ชวนชิม 'ศรีบุญเรือน' ร้านข้าวต้มต้นตำรับ สืบทอดสามรุ่น เสน่ห์ร้านข้าวต้มยามค่ำคืน ที่รวมอาหารจีน อาหารเหลา อาหารใต้ไว้ในร้านเดียว
ทางด้านนายสัตวแพทย์หญิง ทัศวรรณ สุทธิบูรณ์ นายสัตวแพทย์ประจำศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนล่าง บอกว่า น้องมีแผลบริเวณตาซ้าย จึงสงสัยว่าจะเป็นแผล หรือเป็นต้อหรือไม่ จึงเชิญหมอเฉพาะทางตา คณะสัตว์แพทย์ จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช เบื้องต้นได้มีการตรวจค่าความดันตา และมีการย้อมสีดูแผลที่กระจกตาได้ผลอย่างไรจะได้นำมาวางแผนในการปรับใช้ยา แต่ตอนนี้เป็นไปได้ 2 ทางคือ อาจจะเป็นแผลเก่า หรือแผลสด แต่คาดว่าน่าจะเป็นแผลสดมากกว่า เพราะน้องยังมีอาการเจ็บอยู่ เบื้องต้นยังให้ยาหยอดตา แต่เมื่อผลตรวจที่แน่ชัดออกมาจะมีการปรับใช้ยารักษาต่อไป ส่วนสุขภาพโดยรวมทั่วไป พบว่ายังคงที่ มีแก๊สในร่างกาย เพราะมีการผายลมออกมา แต่เมื่อเปรียบเทียบกับวันแรกที่รับตัวมาถือว่าแก๊สในลำไส้ลดลง การดำน้ำดีขึ้น มีการนอนกับพื้นบ่อมากขึ้น จากวันแรกนอนบริเวณผิวน้ำ มีการนอนหลับมากขึ้น ผ่อนคลายมากขึ้น แต่ส่วนท้ายยังคงลอยเล็กน้อย จึงยังต้องติดตามการสะสมของแก๊สในลำไส้ต่อไป
ทางด้านนายสันติ นิลวัฒน์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนล่าง บอกว่า ตอนนี้มีการระดมทีมสัตว์แพทย์จากหลายหน่วยงาน ทั้งจากกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง , สัตว์แพทย์จาก มทร.นครศรีธรรมราช และ Dr. Paola Unda Marron สัตว์แพทย์ จากประเทศสิงค์โปร์ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านสูตรอาหารพะยูนมาช่วยด้วย ตอนนี้พะยูนน้อยคุ้นเคยกับทีมทำงาน อาการทั่วไปดีขึ้นกว่าวันแรกที่มา ว่ายน้ำได้ ทรงตัวได้ดีขึ้น แก็สลดลง คลอเคลียผู้ดูแลเริ่มปรับตัวได้ ถ้าเปรียบเทียบกับมาเรียม น้องพะยูนตัวนี้เลี้ยงในสถานที่ปิดสามารถควบคุมดูแลได้ง่ายในบ่อน้ำขนาด 5 เมตร แต่มาเรียมอนุบาลในพื้นที่เปิดธรรมชาติ สภาพน้ำขุ่นกว่า การสังเกตอาการจะยากกว่า โดยอายุน้องตัวนี้น้อยกว่ามาเรียม ยังเป็นทารก ตอนนี้เริ่มกลายเป็นขวัญใจของเจ้าหน้าที่ และมีกำลังใจในการดูแล และในวันที่ 17-19 สิงหาคม ทางจังหวัดตรังจัดงานวันพะยูนแห่งชาติ ซึ่งเป็นวันที่มาเรียมเสียชีวิต พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รมว.กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ลงพื้นที่มาร่วมงาน ก็จะมาดูการอนุบาลพะยูนน้อยด้วย
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: