ตรัง-ผู้ว่าฯตรังเต้น! แถลงแจงดราม่า ปิดศาลากลาง10วันให้คาราวานสินค้า ปัด โซนขายสินค้าเป็นของเอกชน ไม่ใช้งบราชการ ยันเปลี่ยนสถานที่จัดไม่ให้กระทบแล้ว ไม่จบ! ชาวบ้าน ยกมติคกก.ยุคอดีตผู้ว่าฯห้ามใช้ศาลากลางตรังจัดงานขายสินค้ามานาน 20 ปี จี้ถามอนุญาตเอกชนใช้ที่ราชการเก็บค่าเช่าได้ยังไง เผยเรียกแพง 1.2-2.5 หมื่นต่อร้าน เงินเข้าหลวงหรือไม่ เหมือนตั้งใจจัดงานขายสินค้าแต่เอาเรื่องผ้าไทยมาประกอบ เจ็บปวดเปิดทางคนนอกล้วงเงินกระเป๋าคนในจังหวัด ท่ามกลางพิษศก. หวั่นเลือกปฏิบัติอนุญาตเป็นบางงาน
วันเดียวกัน (6 ก.ย. 67) ที่ห้องลิบง ชั้น 2 ศาลากลางจังหวัดตรัง นายทรงกลด สว่างวงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง เป็นประธานการแถลงข่าวด่วน กรณีสื่อโซเชียลตั้งข้อสงสัยในการเปลี่ยนสถานที่จัดงานอัตศิลป์ถิ่นตรัง ประจำปี 2567 โดยมี ผู้แทนพัฒนาการจังหวัดตรัง ประชาสัมพันธ์จังหวัดตรัง ตำรวจ และผู้ประกอบการ ร่วมแถลงข่าว โดยนายทรงกลด กล่าวว่า ตามที่เครือข่ายกลุ่มอาชีพ และผู้ผลิต ผู้ประกอบการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัตภัณฑ์ (OTOP) จังหวัดตรัง ได้ประสานขอรับการสนับสนุนการดำเนินงานโดยขอความอนุเคราะห์สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดตรัง เพื่อร่วมดำเนินโครงการส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น อัตศิลป์ถิ่นตรัง ประจำปี 2567 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้การส่งเสริมการสวมใส่ผ้าไทยให้เป็นที่แพร่หลายมากขึ้นและเกิดการสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้แก่ประชาชน อีกทั้ง เพื่อกระตุ้นตลาดผลิตภัณฑ์กลุ่มอาชีพ ผลิตภัณฑ์ชุมชน (OTOP) ตลาตการท่องเที่ยว และเศรษฐกิจของจังหวัดตรัง โดยกำหนดดำเนินการระหว่างวันที่ 6 – 15 กันยายน 2567 ซึ่งเดิมกำหนดสถานที่บริเวณถนนควนคีรีหน้าจวนผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง วงเวียนปลาพยูน สวนทับเที่ยง และบริเวณถนนพัทลุง ด้านหลังจวนผู้ว่าฯ แต่ภายหลังมีการเปลี่ยนสถานที่จัดงาน
“ยืนยันว่าการดำเนินงานดังกล่าวไม่ได้ใช้งบประมาณจากทางราชการแต่อย่างใด แต่เป็นการบูรณาการความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย หน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน และเพื่อให้การดำเนินโครงการส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น อัตศิลป์ถิ่นตรัง ประจำปี 2567โดยการบูรณาการภาคีเครือข่ายภาคประชาชน ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน เป็นไปด้วยความเรียบร้อย บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนด สอดคล้องตามนโยบายรัฐบาล กระทรวงมหาดไทย กรมการพัฒนาชุมชน และจังหวัดตรัง เห็นควรพิจารณาดำเนินการให้ความเห็นชอบปรับแผนการดำเนินงานโครงการส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นอัตศิลป์ถิ่นตรัง ประจำปี 2567 จากสถานที่เดิม เปลี่ยนเป็น บริเวณลานพระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 5 หน้าศาลากลางจังหวัดตรัง (หลังเก่า) ก็เพื่อไม่ให้กระทบต่อพี่น้องประชาชนในการสัญจรในสถานที่จัดงานเดิม”ผู้ว่าราชการจ.ตรังกล่าวชี้แจง
ด้านนายจิระศักดิ์ ควนจันทร์ ประชาชนภายในเขตเทศบาลนครตรัง กล่าวว่า งานนี้ชื่องานว่าอัตศิลป์ถิ่นตรัง มีโลโก้จัดงานของสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดตรัง โลโก้ OTOP ร่วมกับจังหวัดตรัง ปรากฎในป้ายโฆษณางาน เดิมมีการประชาสัมพันธ์ว่าจะจัดงานด้วยการปิดถนนบริเวณวงเวียนพะยูน ถนนพัทลุง ตำบลทับเที่ยง อำเมืองตรัง เพื่อจัดงาน 10 วัน แต่ภายหลังไม่ได้จัดตรงนั้นก็เลื่อนไปจัดบริเวณลาดหน้าศาลาหลังเก่า หรือลานร.5 ตนเองไม่ได้ค้านทุกงาน แต่ตนเคยคิดว่าจังหวัดตรังน่าจะเอางานฉลองรัฐธรรมนูญมาจัดที่นี่เหมือนในอดีต เป็นการรื้อฟื้นความเป็นตรังในอดีตกลับมา แต่การจัดงานขายสินค้าโดยตั้งชื่อเรื่องขึ้นมาประกอบ เพื่อให้มีการจัดงานได้ แล้วก็นำแม่ค้ามาจากข้างนอกคือแม่ค้าต่างจังหวัดมาขายของแย่งกำลังซื้อของคนจังหวัดตรัง ในภาวะเศรษฐกิจมันไม่ดีอยู่แล้ว มันไม่น่าจะทำ หากเท้าความกลับไปบริเวณลานศาลากลางหลังเก่าในสมัยนายไมตรี อินทุสุต เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง ได้มีการตั้งคณะกรรมการอนุญาตการใช้พื้นที่ โดยมีสำนักงานจังหวัดเป็นฝ่ายเลขานุการ แล้วก็มีกติกาอยู่ข้อหนึ่งบอกว่าห้ามขายสินค้า ตั้งแต่บัดนั้นจนบัดนี้ประมาณ 20 ปีมาแล้ว ก็ไม่เคยมีการจัดงานขายสินค้าหน้าศาลากลางหลังเก่าอีกเลย โดยงานOTOP งานหอการค้าแฟร์ งานลากพระ ก็ได้เปลี่ยนที่จัดงานไปเป็นที่ลานห้างโรบินสัน และสนามกีฬาทุ่งแจ้ง แต่ครั้งนี้ก็เป็นที่ฮือฮาขึ้นมา เพราะมีการจัดงานคาราวานสินค้าที่ลานศาลาจังหวัดตรังได้
ข่าวน่าสนใจ:
- ตรัง "เมนูลูกปลาปิ้งเครื่อง" จับปลาสดๆจากแหล่งน้ำธรรมชาติ ปรุงเป็นอาหารพื้นบ้านแสนอร่อย
- ตรัง แม่ค้าร้านดังถูกหลอก อ้างเป็นเลขานายกฯสั่งข้าวกล่องช่วยน้ำท่วมสูญเงิน 3 พัน
- หมดวาระอบจ.ตรัง รุ่งขึ้น “บุ่นเล้ง” เปิดตัวทันควัน ใช้ชื่อ “ทีมนายกบุ่นเล้ง” แทน “ทีมกิจปวงชน” ชูนโยบาย “รวมพลังที่ยิ่งใหญ่ ขับเคลื่อนตรังให้เป็น 1”
นายจิระศักดิ์ กล่าวอีกว่า ส่วนที่ทางจังหวัดตั้งตะแถลงบอกว่าทางจังหวัดไม่ได้เกี่ยวข้องกับงานนี้ และจังหวัดตรังไม่ได้มีงบประมาณ แต่เอกชนมาลงทุนทั้งหมดแล้วดึงจังหวัดเข้ามาร่วมในส่วนของผ้าไทย ซึ่งก่อนหน้านี้ตนเคยถามว่างานอะไรเขาบอกว่างานผ้าไหม ในขณะที่จังหวัดตรังมีความโดดเด่นเรื่องผ้าทอนาหมื่นศรี และขณะที่การจัดงานตลอด 10 วัน เอกชนมีการเก็บค่าที่ล็อกละ 15,000 – 25,000 บาท บางรายต้องจ่ายถึง 50,000 บาท แล้วเงินนี้เก็บแล้วเอาไปไหน ทุกอย่างมีต้นทุนทั้งสิ้น แต่การที่จังหวัดอนุญาตการใช้พื้นที่ให้เอกชนมาจัดที่ศาลากลางจังหวัดตรังได้ วันข้างหน้าจะเกิดความวุ่นวาย เมื่อมีรายอื่นมาขออนุญาตแต่ไม่ได้รับอนุญาต จะกลายเป็นการเลือกปฏิบัติหรือไม่ แต่หากใครขอใช้ก็ให้คราวนี้ความเดือดร้อนจะตกแก่ประชาชน เอาแม่ค้าข้างนอกมาแย่งกำลังซื้อจากชาวตรัง ในยุคเศรษฐกิจแบบนี้แม่ค้าจะตายกันหมดแล้ว โดยส่วนตัวตนชื่นชมงานของท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดตรัง ที่จัดงานเมืองเก่าจังหวัดตรัง ที่จะเผยแพร่อัตลักษณ์และเอกลักษณ์ความเป็นตรังได้มากมาย เช่น มีการแสดงรองเง็ง ลิเกป่า มโนราห์ รวมทั้งเอกลักษณ์ด้านสถาปัตยกรรม อาหาร และวิถีชีวิตชาวตรัง เป็นงานที่ดึงดูดคนจากต่างจังหวัดให้มาเที่ยวตรัง ไม่ใช่พาคาราวานสินค้าจากที่อื่นมาเอาเงินจากจังหวัดตรังออกไป
“และการใช้ที่หลวงมาเพื่อขายสินค้า มีการเก็บค่าที่เช่นนี้ ผู้ที่อนุญาตนั้นอนุญาตได้อย่างไร และเงินเข้าหลวงหรือไม่ได้เขาหลวงหรือราชการหรือไม่ แล้วทำกันได้อย่างไรกัน ซึ่งก่อนหน้านี้มีกลุ่มจัดงานกำนันผู้ใหญ่บ้าน ได้มาขออนุญาตใช้พื้นที่ลานศาลากลางจัดงานเช่นกัน แต่กลับไม่ได้รับอนุญาต เพราะมีเงื่อนไขว่าชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้านไม่ใช่ส่วนราชการ จึงไม่สามารถจัดงานหน้าศาลากลางได้ ผู้จัดจึงไปจัดในพื้นที่เอกชน หลังโรงแรมเรือรัษฎา แต่มาครั้งนี้กลับอนุญาตให้มีการจัดได้”นายจิระศักดิ์กล่าว
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: