ภาคธุรกิจคาดหวังนโยบายรัฐบาลเร่งแก้ปัญหาเศรษฐกิจฐานราก เพราะส่งผลโดยตรงต่อการจับจ่ายซื้อขายสินค้าของประชาชน แก้ปัญหาวัตถุดิบราคาแพง ส่งเสริมการท่องเที่ยว ส่วนโครงการแจกเงินหมื่นอยากได้เป็นเงินสด สะดวกทั้งชาวบ้านและผู้ประกอบการร้านค้าสามารถกระจายรายได้เข้าถึงประชาชนรากหญ้าได้มากกว่า แต่หากยังเป็นเงินดิจิทัลผู้ประกอบการอาจไม่ร่วม เพราะไม่สามารถซื้อสินค้าจากชุมชนและชาวบ้านได้โดยตรง เพราะไม่มีความสะดวกรองรับ
นางจันทิมา มุณีกุล ผู้ประกอบการร้านอาหาร “ สีฟ้า” เขตเทศบาลนครตรัง จ.ตรัง บอกว่า สภาพเศรษฐกิจขณะนี้ส่งผลกระทบต่อการธุรกิจการค้า อุปโภคบริโภคของประชาชนทั้งระบบ ลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการลดลงตามภาวะเศรษฐกิจ รวมทั้งผู้ผลิตอาหาร รายได้ลดลง นโยบายรัฐบาลควรจะต้องเร่งกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งระบบ รวมทั้งด้านการท่องเที่ยวเป็นหลัก ทั้งนี้ สภาพความเป็นอยู่ในจังหวัดลดลง การท่องเที่ยวจะมีบทบาท เมื่อมีนักท่องเที่ยวเข้ามาเศรษฐกิจก็จะหมุนเวียนได้ 2.ปากท้องของชาวบ้าน ซึ่งสภาพคล่องในการใช้จ่ายเงินมีน้อยมาก ควรกระตุ้นรายได้ภาคครัวเรือน แก้ปัญหาสินค้าวัตถุดิบราคาแพง หากประชาชนมีเงินก็จะนำเงินออกมาจับจ่าย ผู้ประกอบการเองก็จะมีรายได้ไปด้วย ทั้งนี้ จากเศรษฐกิจที่ซบเซา พ่อค้าแม่ค้าในตลาดสดก็ขายสินค้าไม่ได้เงียบมากทุกร้านรายได้ลดลง 50 % ทั้งการขายที่ร้าน และเดลิเวอร์รี่ก็ลดลง ส่วนร้านค้าตนเองกำลังซื้อก็ลดลงสังเกตุจากตัวเลขผู้มาใช้บริการหายไปประมาณ 40-50%
ส่วนนโยบายเงินดิจิทัลของรัฐบาลนั้น อยากให้รัฐบาลจ่ายเป็นเงินสดถึงมือประชาชนโดยตรง เพื่อจะได้ง่ายต่อการนำมาใช้จ่ายซื้อสินค้าอุดหนุนกันไปมา รวมทั้งกับทางร้านค้า โดยเฉพาะผู้ประกอบการร้านอาหารในจังหวัดต่างๆ ต้องอยู่อาศัยร่วมกับชุมชนสนับสนุนส่งเสริมซึ่งกันและกัน โดยทั่วไปทุกร้าน จะต้องซื้อสินค้าจากชุมชน จากชาวบ้านโดยตรง ที่ซื้อขายกันมานาน และใช้เงินสดในการซื้อสินค้า เพราะชุมชนและชาวบ้านทั่วไปไม่สะดวกหากต้องจ่ายผ่านด้วยเงินดิจิทัล ร้านค้าก็ต้องสามารถเบิกเงินได้รวดเร็ว หากยุ่งยากร้านค้าอย่างพวกตนก็ไม่มีใครอยากเข้าร่วมโครงการ เพราะในการค้าขายจะต้องมีเงินในการหมุนเวียน ในส่วนของร้านจะต้องไปจับจ่ายซื้อสินค้าจากชาวบ้าน ซึ่งชาวบ้านก็ไม่มีอะไรรองรับเงินดิจิทัล ร้านค้าจะไปอุดหนุนชาวบ้านก็ไม่มีเงินสดไปหมุน ทำให้นโยบายที่จะออกมาส่วนตัวมองว่าอาจเสียเปล่า และประชาชนไม่ได้ประโยชน์ ถ้าเป็นเงินสดโอนเข้าบัญชีเลยทั้งประชาชนและภาคธุรกิจ ทำให้เงินดังกล่าวเกิดการหมุนเวียนได้อย่างสะดวก หากกำหนดให้ร้านค้าจะต้องนำไปใช้จ่ายกับร้านค้าขนาดใหญ่ จะไม่เกิดประโยชน์กับประชาชนรากหญ้า เฉพาะร้านค้าตนเองยังไม่อยากร่วมโครงการ เพราะความไม่ชัดเจนเรื่องการใช้จ่าย และท้ายที่สุด หากรัฐยืนยันจ่ายด้วยเงินดิจิทัลก็คงไม่ร่วมโครงการ เพราะนำไปใช้ในการอุดหนุนสินค้าของชาวบ้าน ของชุมชนไม่ได้
ข่าวน่าสนใจ:
- งานช้าง หนุ่มทับปุดขี่ช้างแห่ขันหมาก 10 เชือกไปขอเมีย พ่อยกช้างให้เป็นของขวัญ 1 เชือก
- อบจ.ลำปางสืบสานประเพณีลอยกระทง บูรณาการร่วมกับอปท.จัดโครงการประเพณีลอยกระทง
- ผู้ว่าตรังสั่งซ่อมด่วนหลังคาท่าเรือปากเมง หวั่นอันตรายนทท. กระทบภาพลักษณ์จว. ลั่นพร้อมออกเงินส่วนตัว 2.3 หมื่นค่าวัสดุ…
- นบ.ยส.24 บูรณาการร่วมกับกลุ่มงานสุขภาพจิตและยาเสพติด สสจ.นครพนม และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ประชุมหารือตรวจพื้นที่อาคารหลังศูนย์ฟื้นฟู…
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: