ตรัง-ปธ.หอการค้าอันดามัน จี้ ธปท. ลดดอกเบี้ยสู้บาทแข็ง ทีมศก.รบ.ต้องมีมาตรการ แนะออกเพ็กเกจกระตุ้นเที่ยวในประเทศให้รัฐอุดหนุนครึ่งหนึ่ง กันเงินไหลออก รอดูผลกระทบเต็ม ๆ ช่วงเริ่มจองทัวร์ไตรมาส 4 แนะเอสเอ็มอีส่งออกปรับตัวรับมือ เรียนรู้ขายล่วงหน้าพึ่งพา EXIM BANK จี้ ออกแผนบริหารจัดการน้ำทั้งระบบโซนอันดามัน บังคับใช้กม.พวกทำลายป่า-ถมที่ก่อสร้างกีดขวาง หลังพายุฝนซัดอ่วม
เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2567 นายสลิล โตทับเที่ยง ประธานหอการค้ากลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน (ระนอง พังงา กระบี่ ภูเก็ต ตรัง สตูล) ให้สัมภาษณ์ถึงผลกระทบจากค่าเงินบาทแข็งค่าในปัจจุบัน ซึ่งกระทบต่อภาคการผลิต ส่งออก โดยเฉพาะภาคท่องเที่ยว ว่า การแข็งค่าของเงินบาทในขณะนี้นี้ทุกฝ่ายโดยเฉพาะหอการค้าฯกำลังจับตามองอย่างใกล้ชิด ทั้งนี้ทางหอการค้าฯได้ตั้งข้อสังเกตให้ผู้ประกอบการมีการบริหารจัดการค่าเงิน โดยสำหรับผู้ประกอบการที่มีการนำเข้าอาจถือเป็นโอกาสที่ดีในการนำเข้า ส่วนผู้ประกอบการส่งออกจะได้รับผลกระทบ ดังนั้นถึงเวลาที่รัฐบาลโดยเฉพาะทีมเศรษฐกิจ และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะได้บริหารสถานการณ์อย่างใกล้ชิดโดยทบทวนพิจารณามาตรการที่ดีมารับมือปัญหานี้ด้วยการลดอัตราดอกเบี้ยซึ่งจะช่วยเรื่องความเสถียรของค่าเงินบาทได้
การแข็งค่าของเงินบาทขณะนี้อยู่ในอัตราราว 10% ยังถือว่าสามารถบริหารจัดการได้ ผู้ประกอบการเองคงต้องเร่งสร้างมูลค่าเพิ่มจากสินค้าเพื่อเพิ่มรายได้ในส่วนอื่นได้ สำหรับผู้ประกอบการที่มีลูกค้าต่างประเทศอยู่ในมือหรือสำหรับรายใหญ่ไม่น่าห่วงมากนักเพราะมีหลักการบริหารค่าเงินบาท แต่สำหรับเอสเอ็มอีที่ยังไม่มีการบริหารค่าเงิน ก็ถึงเวลาที่ต้องมีการเรียนรู้วิธีการขายล่วงหน้า เพื่อเป็นการคงค่าเงินไว้กับธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย(EXIM BANK) ก็จะช่วยลดความเสี่ยงของเงินบาทที่ผันผวนได้
นายสลิล กล่าวอีกกว่า อย่างไรก็ตามผลกระทบจากการแข็งค่าของค่าเงินบาทภาคท่องเที่ยวในขณะนี้ยังมองไม่ชัด เพราะส่วนใหญ่การจองทัวร์ท่องเที่ยวต่างๆในโซนอันดามันจะเกิดขึ้นในไตรมาสที่ 4 คือตั้งแต่ช่วงเดือนตุลาคม 2567 เป็นต้นไป คงต้องจับตาดูผลกระทบเป็นช่วงๆ อีกส่วนที่จะกระทบคือสัดส่วนของนักท่องเที่ยวแบบแบ็กแพ็กเกอร์ที่อาจตัดสินใจมาท่องเที่ยวโดยพิจารณาเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนเป็นสำคัญ แม่จะเป็นการท่องเที่ยวเชิงปริมาณแต่ก็เป็นสัดส่วนเม็ดเงินที่ใช้จ่ายน้อยกว่านักท่องเที่ยวเชิงคุณภาพแบบกลุ่มมูลค่าสูงที่จองล่วงผ่านทัวร์ผ่านเอเย่นต่าง ๆ ดังนั้นเรื่องนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่จะนำเม็ดเงินเข้ามา รัฐบาลจะต้องหาวิธีการบริหารเพื่อดึงนักท่องเที่ยวเหล่านี้เข้ามาท่องเที่ยวให้ได้ แต่สิ่งหนึ่งที่จะเกิดขึ้นคือการเดินทางออกนอกประเทศของคนไทยจะมากขึ้น ดังนั้นรัฐบาลควรมีมาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศ โดยเฉพาะตั้งแต่ตุลาคมนี้ซึ่งถือเป็นช่วงเปิดฤดูการท่องเที่ยว หรือ ไฮซีซั่น ซึ่งตรงกับช่วงปิดเทอมของสถานศึกษาต่าง ๆ ที่ผู้ปกครองสามารถพาลูกหลายท่องเที่ยวในประเทศได้ จึงควรออกแพ็กเกจส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศในช่วงดังกล่าว โดยรูปแบบที่เหมาะสมคือ เพ็กเกจที่รัฐอุดหนุนส่วนหนึ่ง เพื่อให้ผู้ประกอบการอยู่ได้ ซึ่งจะสามารถกระตุ้นการท่องเที่ยวในประเทศได้
ข่าวน่าสนใจ:
- ตรัง ผลผ่าพิสูจน์การตายพะยูน 2 ตัว ผอม หญ้าในท้องน้อย ป่วยตาย
- ชวนชิม 'ศรีบุญเรือน' ร้านข้าวต้มต้นตำรับ สืบทอดสามรุ่น เสน่ห์ร้านข้าวต้มยามค่ำคืน ที่รวมอาหารจีน อาหารเหลา อาหารใต้ไว้ในร้านเดียว
- วิกฤตพะยูนตรัง 7 วันสำรวจ พบแค่ตัวเดียว ทดลองวางแปลงอาหาร กลับถูกเมินไม่ยอมกิน
- ขาดสภาพคล่องขั้นรุนแรง! อธิบดีกรมท่าฯ ร่อนนส.ด่วน! แจ้งบอกเลิกสัญญาทิ้งงานก่อสร้างอาคารผู้โดยสารสนามบินตรัง 1.2 พันล.แล้ว…
นายสลิลกล่าวด้วยว่า สำหรับความพร้อมเปิดการท่องเที่ยวโซนอันดามันในเดือนตุลาคมนี้ ซึ่งปีนี้เกิดผลกระทบจากฝนตกหนักมากถึงขั้น Storm boom ซึ่งหลังจากนี้ต้องหาหนทางแก้ไข โดยคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ(กรอ.) กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน ได้เคยเสนอไปยังกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(ทส.) รวมทั้งหน่วยงานที่ดูแลเรื่องการบริหารจัดการน้ำ ให้ออกแบบการจัดการน้ำทั้งระบบ เพราปัญหาปัจจุบันในโซนอันดามันคือท่วมซ้ำซากในหน้าฝนไม่เฉพาะภูเก็ต-พังงา แต่เหมือนกันทุกจังหวัด ขณะที่หน้าแล้งขาดน้ำ และถึงเวลาขอความร่วมมือทุกภาคส่วนเรื่องการดูแลรักษาป่าต้นน้ำ เพราะปัญหาที่เกิดในปัจจุบันพบว่าเกิดจากการตัดต้นไม้ทำลายป่า การถมที่สร้างสิ่งกีดขวางทางน้ำ จึงอยากฝากท้องถิ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้มงวดการบังคับใช้กฎหมายด้วย
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: