ที่การยางแห่งประเทศไทยสาขากันตัง อ.กันตัง จ.ตรัง นายดิษฐเดช วัฒนาพร ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร การยางแห่งประเทศไทย พร้อมด้วย นายธาดา พรหมมี ผู้อำนวยการการยางแห่งประเทศไทยเขตภาคใต้ตอนกลาง ลงพื้นที่พบปะกับตัวแทนเกษตรกรกลุ่มแปลงใหญ่ยางพาราอำเภอกันตังทั้ง 7 กลุ่ม ผู้บริหารกยท. เพื่อมอบแนวทางการทำสวนยางในรูปแบบเกษตรแปลงใหญ่ ความสำคัญและการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ตลาด EUDR รวมทั้งรับทราบปัญหาของเกษตรกร เพื่อหาแนวทางแก้ปัญหาช่วยเหลือเกษตรกรต่อไป พร้อมกับแนะนำการใช้และส่งมอบน้ำหมักชีวภาพจากปลาหมอคางดำ จำนวน 280 แกลลอน ให้แก่ตัวแทนเกษตรแปลงใหญ่อำเภอกันตังทั้ง 7 กลุ่มๆละ 40 แกลลอน ขนาดบรรจุถังละ 20 ลิตร หลังจากกยท.ได้ใช้งบประมาณจำนวน 50 ล้านบาท รับซื้อปลาหมอคางดำจากชาวบ้าน เพื่อร่วมกันกำจัดปลาหมอกางดำออกจากแหล่งน้ำภายในประเทศ และสามารถนำผลิตน้ำหมักชีวภาพได้ทั้งหมด 1 ล้านลิตร แจกจ่ายให้เกษตรกรชาวสวนยางทั่วประเทศ นำไปใช้ในการบำรุงสวนยางพารา สำหรับจังหวัดตรัง มีสวนยางแปลงใหญ่ จำนวน 20 กลุ่ม เกษตรกรรวมจำนวน 785 ราย ได้รับน้ำหมักชีวภาพจากปลาหอมคางดำในวันนี้ รวม 30,300 ลิตร
นายดิษฐเดช วัฒนาพร ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร การยางแห่งประเทศไทย บอกว่า การผลิตน้ำหมักชีวภาพจากปลาหมอคางดำที่กยท.รับซื้อในราคา กก.ละ 15 บาท ส่งมอบให้กรมพัฒนาที่ดินทำการผลิตเป็นน้ำหมักชีวภาพดำเนินการแล้วเสร็จ ได้น้ำหมักรวมทั้งหมด 1 ล้านลิตร และได้ส่งไปให้ชาวสวนยางตามโครงการสวนยางแปลงใหญ่ทั่วประเทศทั้งภาคเหนือ ตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ รวม 335 แปลง จำนวน 3 รุ่นปี รวมเนื้อที่กว่า 200,000 ไร่ เรียบร้อยแล้ว ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้เลย โดยช่วงนี้เป็นช่วงฤดูฝนพื้นที่ยังมีความชื้นอยู่ แหมาะสมสำหรับการให้ปุ๋ยพืช โดยน้ำหมักชีวภาพ 1 ลิตร หากนำไปฉีดพ่นหน้ายาง ใบยาง สามารถผสมน้ำได้ในอัตราส่วน 1 ลิตร ต่อน้ำ 400 ลิตร แต่หากใช้รดโคนต้นยางให้ใช้ในอัตราส่วน 1 ลิตร ต่อน้ำ 200 ลิตร โดยเป็นสูตรของกรมพัฒนาที่ดินให้เกษตรกรด้านการปลูกพืชใช้เพื่อลดต้นทุนการผลิต แก้ไขปัญหาโรคระบาดในพืช แก้ปัญหายางพาราหน้าแห้ง เพิ่มเนื้อยางให้สูงขึ้น เกษตรส่วนใหญ่เคยใช้มาแล้ว แต่ผลิตจากปลาในท้องถิ่น โดยเฉพาะปลาทะเลตัวเล็กๆ แต่ต้นทุนสูง โดยน้ำหมักชีวภาพสามารถทำได้ เช่น เศษปลา เศษอาหาร เพราะต้นยางพาราต้องการธาตุอาหารรอง ธาตุอาหารเสริม ขาดไม่ได้ เพราะจะส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโต .ส่วนจะมีการรับซื้อปลาหมอคางดำมาผลิตน้ำหมักเพิ่มหรือไม่ ต้องรอดูปัญหาการระบาดจากกรมประมง
ข่าวน่าสนใจ:
นายธาดา พรหมมี ผู้อำนวยการการยางแห่งประเทศไทยเขตภาคใต้ตอนกลาง (สูทสีดำ) บอกว่า เมื่อปี 2544 ทาง กยท.เคยส่งเสริมให้ชาวสวนยางจ.สตูล ผลิตน้ำหมักชีวภาพจากเศษปลาทะเล ตามสูตรของกรมพัฒนาที่ดิน ปรากฏว่าหลังทำแล้วได้ผลให้เกิดจุลินทรีย์ในดิน หน้ายางนิ่ม ได้ผลผลิตเพิ่ม ช่วยลดโรคในยาง เปอร์เซ็นต์น้ำยางสูงขึ้นมากจาก 20 กว่าเปอร์เซ็นต์ เพิ่มเป็น 30 กว่าเปอร์เซ็นต์ แต่ต่อมาราคาเศษปลาขณะนั้นเพิ่มสูงขึ้นด้วยจากกิโลกรัมละ 10-20 บาท เป็น 30-40 บาทต่อกิโลกรัม จนซื้อมาผลิตไม่ไหวเพราะต้นทุนสูงมากจึงต้องล้มเลิก ทั้งนี้ อ.กันตัง จ.ตรัง เป็นที่ดินใกล้ทะเลมีความเป็นกรดด่างไม่เสถียร น้ำหมักสามารถช่วยปรับสมดุลนี้ได้ด้วย แล้วสามารถใช้ในพืชอื่นได้ดีเช่นกัน ทั้งพืชใบ พืชดอก พืชดอก สำหรับน้ำหมักปลาหมอคางดำให้ธาตุอาหารคล้าย ๆ กับปลาทะเล ซึ่งมั่นใจได้ เพราะกรมพัฒนาที่ดินรับรองแล้ว ทั้งนี้ เกษตรกรแปลงใหญ่อำเภอกันตังทั้ง 7 กลุ่มรับไปกลุ่มละ 40 ถัง จะครอบคลุมเกษตรกรของกลุ่มได้ประมาณ 500 คน หลังจากนี้ก็อยากขยายผลให้เกษตรกรในพื้นที่อำเภอกันตังต่อยอด ทำน้ำหมักชีวภาพด้วยการใช้ปลาทะเลในพื้นที่ เช่น ปลาไก่ เศษปลาอื่น ๆ เพราะพื้นที่ติดทะเล แจกจ่ายให้สมาชิกในกลุ่ม โดยจะผสานกับกยท.สาขา , กยท.จังหวัด และ พัฒนาที่ดินตรัง
ด้านนายสมบูรณ์ ไชยกุล ประธานเครือข่ายกลุ่มแปลงใหญ่ อ.กันตัง (เสื้อสีเขียว) บอกว่า กลุ่มได้ทำน้ำหมักชีวภาพจากเศษปลาจากโรงงานในพื้นที่และเศษผักใช้ในกลุ่มอยู่แล้ว ทำมาประมาณ 4-5 ปี ที่ จึงคิดว่าน้ำหมักปลาทะเลและน้ำหมักจากปลาหมอคางดำสามารถใช้กับยางพาราและพืชได้ผลดีเหมือนกัน และสามารถใช้ได้ดีกับดินกรดที่พบในพื้นที่อำเภอกันตัง
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: