ตรัง สถานการณ์มะพร้าวขาดตลาดส่งผลกระทบรุนแรงต่อผู้ค้ารายย่อยทั่วประเทศ โดยเฉพาะในภาคใต้ ราคามะพร้าวพุ่งสูงถึงลูกละ 36-40 บาท จากเดิมที่เคยอยู่ที่ 14-17 บาท ส่งผลให้ราคาน้ำกะทิสูงขึ้นตามไปด้วย ในบางพื้นที่ราคาน้ำกะทิสูงถึงกิโลกรัมละ 150-160 บาท ผู้ค้ารายย่อยต้องเผชิญกับต้นทุนที่สูงขึ้นอย่างมาก บางรายต้องเดินทางไปหาซื้อมะพร้าวจากแหล่งผลิตโดยตรง แต่ก็ยังประสบปัญหาสินค้าขาดแคลน หลายรายพิจารณาหยุดกิจการชั่วคราวเนื่องจากไม่คุ้มทุน ผู้ประกอบการคาดการณ์ว่าจะขาดทุนมากกว่าปีที่ผ่านมาสถานการณ์นี้ส่งผลกระทบต่อเนื่องไปยังธุรกิจที่ใช้มะพร้าวเป็นวัตถุดิบ เช่น ร้านขนมไทย ที่ไม่สามารถปรับราคาสินค้าให้สอดคล้องกับต้นทุนที่เพิ่มขึ้นได้ ผู้ประกอบการเรียกร้องให้รัฐบาลพิจารณามาตรการช่วยเหลือ เช่น การนำเข้ามะพร้าวจากต่างประเทศ เพื่อบรรเทาปัญหาราคาที่พุ่งสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีสัญญาณว่าสถานการณ์จะคลี่คลายในเร็ววัน
จากสถานการณ์มะพร้าวขาดตลาดทำผลกระทบหนักทั่วทุกแห่ง แม้กระทั่งพ่อค้าน้ำกะทิรายย่อย โอดราคามะพร้าวตกลูก 36 เกือบ 40 บาทแล้ว และตอนนี้ก็หาซื้อมะพร้าวไม่ได้ หากลูกค้าไม่สู้ตนเองก็ต้องหยุดขายสักพักไม่คุ้มค่าทุน ส่วนปีนี้จะขาดทุนเท่าไหร่ยังไม่ทราบแต่ขาดทุนกว่าทุกๆปีที่ผ่านมาแน่นอน
นายสมพร หรือโกกวั้ง วิริยะศักดิ์สกุล เจ้าของร้านน้ำกะทิ ป้าศรี บอกว่า พ่อค้ามะพร้าวที่ส่งให้กับตนเป็นเจ้าประจำราคาอยู่ที่ลูกละ 30 กว่าบาท แต่ตอนนี้คนที่ส่งให้ประจำเขาก็หามะพร้าวมาส่งให้ไม่ได้ เพราะมะพร้าวขาดตลาด ตนต้องไปเอามะพร้าวจากอำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นล้งมะพร้าวแหล่งใหญ่ และเป็นแหล่งที่ส่งมะพร้าวไปกรุงเทพด้วย ซึ่งราคาสูงและเจ้าของล้งถามตนเองว่าจะสู้ราคาไหวหรือเปล่า ตนก็สู้ราคาแม้จะเป็นการเหมาไม่ให้คัดขนาด ใช้วิธีนับเป็นลูกๆไปเลย ราคาลูกละ 36 บาท ซึ่งเมื่อก่อนตนซื้อลูกละ 14-17 บาท
ข่าวน่าสนใจ:
- ชาวบ้านผวา พบเสือ 3 แม่ลูก ป้วนเปี้ยนในป่า 100 ไร่ใกล้ฟาร์มเลี้ยงวัว ไม่กล้าเกี่ยวข้าว-กรีดยาง วอนบุกพิสูจน์
- ชวนชิม 'ศรีบุญเรือน' ร้านข้าวต้มต้นตำรับ สืบทอดสามรุ่น เสน่ห์ร้านข้าวต้มยามค่ำคืน ที่รวมอาหารจีน อาหารเหลา อาหารใต้ไว้ในร้านเดียว
- พ่อค้ายาเกมส์ ซุกยาบ้าในกล่องนมมิดชิด รอส่งพ่อค้ารายย่อย ไม่รู้ตร.ซุ่มกวาดล้าง ถูกรวบพร้อมของกลาง 70 เม็ด
- วิกฤตพะยูนตรัง 7 วันสำรวจ พบแค่ตัวเดียว ทดลองวางแปลงอาหาร กลับถูกเมินไม่ยอมกิน
ซึ่งล่าสุดที่ตนซื้อมาราคาก็ขยับขึ้นอีกลูกละ 1 บาท เป็นลูกละ 37 บาท ซึ่งราคานี้ยังไม่รวมค่าขนส่ง ซึ่งตนต้องไปบรรทุกมาขายเองเพราะร้านไม่มาส่งให้ ตนไม่แน่ใจว่าราคาจะขึ้นไปอีกหรือไม่ แต่ที่ผ่านมาราคาไม่เคยสูงขนาดนี้ อย่างมากราคาไม่เคยเกิน 25-26 บาท โดยช่วงนี้ตนไปรับมะพร้าวจากอำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช ครั้งละ 1 รถกะบะ หรือจำนวน 2,500-2,600 ลูก ตอนนี้ล้งที่ตนไปรับมามะพร้าวก็หมดแล้ว เขามีเพียง 2 แสนลูก ซึ่งเขาขายเพียงอาทิตย์เดียวก็หมดเกลี้ยง
ในขณะที่ตอนนี้ราคาน้ำกะทิตกกิโลกรัมละ 90-100 บาท ถ้าราคามะพร้าวสูงขึ้นอีกราคาน้ำกะทิก็ขยับราคาขึ้นตาม ถ้าลูกค้าสู้ราคาตนก็ขาย แต่ถ้าลูกค้าไม่สู้ก็คงต้องหยุดขายสักพัก ตนขายมะพร้าวมา 40 ปีแล้ว ในแต่ละวันจะส่งมะพร้าวให้ลูกค้าประมาณ 500 ลูก
เมื่อก่อนถ้ามะพร้าวขาดตลาดรัฐบาลจะนำมะพร้าวจากต่างประเทศมาขาย ตนก็อยากให้รัฐบาลช่วยเรื่องมะพร้าวนำเข้า เพราะจะทำให้ราคาในประเทศถูกลง เพราะหากมะพร้าวแพง ลูกค้าที่รับต่อจากตนเขาก็มีต้นทุนสูงขึ้นและขายลำบาก เช่น เขาไปทำขนมไทยขายชิ้นละ 5 บาท จะให้ปรับราคาขนมตามราคามะพร้าวเป็นชิ้นละ 10-15 บาท เขาก็ขายไม่ได้ ลูกค้าก็หายอีก ซึ่ง 1-2 เดือนนี้ ตนขาดทุนจากการขายเยอะ ปีที่แล้วขาดทุนไปประมาณ 100,000 กว่าบาทปีนี้คาดว่าจะขาดทุนเยอะกว่าปีที่ผ่านมาแน่นอน เพราะมะพร้าวขึ้นราคาตนก็ได้กำไรน้อยลง ไหนจะต้องจ่ายค่าแรงลูกน้อง ค่าขนส่ง ค่าไฟฟ้า ซึ่งทุกอย่างเป็นต้นทุนที่มองไม่เห็น
ขณะนี้ยังไม่มีสัญญาณว่าสถานการณ์จะคลี่คลายในเร็ววัน ทำให้ผู้ประกอบการรายย่อยต้องเผชิญกับความท้าทายในการรักษาธุรกิจให้อยู่รอดในช่วงวิกฤตนี้
อย่างไรก็ตาม หลังสื่อนำเสนอข่าวมะพร้าวจังหวัดตรังขาดแคลนราคาพุ่งทั้งผลสุก และน้ำกะทิ ต้องแย่งกันซื้อโดยการส่งคนตระเวนหาซื้อจากต่างจังหวัด เมื่อข่าวออกไปทำใก้มีคนมาแสดงความคิดเห็นและแจ้งสถานการณ์มะพร้าวในพื้นที่เข้ามาด้วย ทำให้ทราบว่ามะพร้าวขาดแคลนและราคาแพงกระทบหมดทุกจังหวัดทั่วภาคใต้ ขณะที่ราคาน้ำกะทิก็พุ่งสํงขึ้นแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ เช่น น้ำกะทิอยู่ที่ กก.ละ 100-110 บาท ขณะจังหวัดกระบี่บางพื้นที่น้ำกะทิราคาสูงถึงกก.ละ 150-160 บาท ทำให้ประชาชนเดือดร้อนอย่างหนัก โดยเฉพาะกลุ่มค้าขายที่ต้องใช้กะทิเป็นวัตถุดิบหลัก แผงขายกะทิหยุดขายจำนวนมาก เพราะไม่มีมะพร้าวป้อนแผง
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: