ตรัง กตป. จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นสาธารณะเพื่อติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของ กสทช.ที่ตรัง พร้อมเตือนภัยแก๊งคอลเซ็นเตอร์และการหลอกลงทุน
วันที่ 18 ตุลาคม 2567 ที่โรงแรมเรือรัษฎา อำเภอเมือง จังหวัดตรัง คณะกรรมการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน (กตป.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จัดการประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นสาธารณะจากผู้มีส่วนได้เสียและผู้เกี่ยวข้อง เพื่อติดตามตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินการและการบริหารงานของ กสทช. สำนักงาน กสทช. และเลขาธิการ กสทช. ด้านกิจการโทรคมนาคม ประจำปี 2567
การประชุมครั้งนี้มี ผศ.ดร.สุทิศา รัตนวิชา กรรมการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานด้านกิจการโทรคมนาคม เป็นประธานเปิดการประชุม โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมประมาณ 100 คน
.
ในการประชุมมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นใน 4 ประเด็นหลัก ได้แก่:
1. การติดตามทิศทางและแผนการกำกับดูแลกองทุน กทปส. และผลสัมฤทธิ์ของจุดบริการศูนย์อินเทอร์เน็ตสาธารณะ (USO)
2. การติดตามแนวทางกำกับดูแลวิธีการรักษาสิทธิวงโคจรดาวเทียม และการปรับปรุงหลักเกณฑ์การอนุญาตให้ใช้ช่องสัญญาณดาวเทียมต่างชาติ
3. การติดตามการกำกับดูแลของสำนักงาน กสทช. ต่อผู้ให้บริการกิจการโทรคมนาคมในด้านคุณภาพสัญญาณและอัตราค่าบริการ
4. การติดตามการกำกับดูแลการบริหารคลื่นความถี่ 3500 เมกะเฮิรตซ์
ผศ.ดร.สุทิศา รัตนวิชา บอกว่า การประชุมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามการปฏิบัติงานของ กสทช. สำนักงาน กสทช. และเลขาธิการ กสทช. ว่าได้ดำเนินการตามแผนและโครงการต่างๆ อย่างมีประสิทธิผลหรือไม่ นอกจากนี้ ยังได้กล่าวถึงปัญหาแก๊งคอลเซ็นเตอร์ว่าเป็นปัญหาสำคัญระดับโลก โดยแนะนำให้ประชาชนมีความรู้เท่าทัน ไม่หลงเชื่อง่าย และตรวจสอบข้อมูลให้แน่ชัดก่อนตัดสินใจ หากมีข้อสงสัยสามารถติดต่อสายด่วน กสทช. 1200 ได้ รวมทั้งการหลอกให้ลงทุนออนไลน์ในรูปแบบต่างๆ
ข่าวน่าสนใจ:
- ขาดสภาพคล่องขั้นรุนแรง! อธิบดีกรมท่าฯ ร่อนนส.ด่วน! แจ้งบอกเลิกสัญญาทิ้งงานก่อสร้างอาคารผู้โดยสารสนามบินตรัง 1.2 พันล.แล้ว…
- ตรัง ผลผ่าพิสูจน์การตายพะยูน 2 ตัว ผอม หญ้าในท้องน้อย ป่วยตาย
- ตรัง ชื่นชมชุมชนท่องเที่ยวร่วมใจเก็บขยะบนเกาะเหลาเหลียง
- ลำปางระทึกไฟไหม้ รถบรรทุก 6 ล้อขนส่งพัสดุวอด คนขับหนีตายออกจากรถได้ทัน
ทั้งนี้ การจัดประชุมดังกล่าวมีเป้าหมายเพื่อนำความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมาใช้ในการปรับปรุงและพัฒนากระบวนการทำงานของ กสทช. ให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงและความต้องการของสังคมในปัจจุบัน
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: