ตรัง จังหวัดตรัง ชาวบ้านปากปรน ตำบลหาดสำราญ จังหวัดตรัง ร่วมสืบสานประเพณีอันเป็นเอกลักษณ์ “ลากพระทางน้ำข้ามทะเล” ซึ่งถือเป็นประเพณีหนึ่งเดียวในโลกที่สืบทอดกันมานานกว่า 110 ปี และได้รับการขึ้นทะเบียนเป็น 1 ใน 99 รายการ มรดกภูมิปัญาทางวัฒนธรรมแนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม ประเพณีและเทศกาล ของประเทศไทย
วันที่ 25 ตุลาคม 2567 ณ ท่าเทียบเรือปากปรน (ชั่วคราว) หมู่ที่ 1 ตำบลหาดสำราญ อำเภอหาดสำราญ จังหวัดตรัง นายสมพงษ์ ประภากรสกุล นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหาดสำราญ พร้อมด้วยนายทิวา เก้าเอี้ยน ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 2 บ้านปากปรน นำชาวบ้านและนักท่องเที่ยวกว่า 300 คน ร่วมสืบสานประเพณีอันทรงคุณค่านี้
โดยขบวนเรือประกอบด้วยเรือพายและเรือขบวนกลองยาวจำนวน 8 ลำ พร้อมเรือชาวบ้านอีกประมาณ 30 ลำ ร่วมลากเรือพระจากท่าเทียบเรือบ้านปากปรน มุ่งหน้าสู่แหลมจุโหย ตำบลเกาะลิบง อำเภอกันตัง ระยะทางรวมไป-กลับ 10 กิโลเมตร ใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง โดยมีการอัญเชิญพระพุทธรูปและนิมนต์พระสงฆ์ประจำเรือ พร้อมการประโคมดนตรีพื้นบ้าน ทั้งโพน กลองยาว ฉิ่ง และฉาบ
ระหว่างการลากเรือพระ มีการประกอบพิธีกรรมและกิจกรรมที่น่าสนใจ อาทิ การซัดต้มและเกี้ยวพาราสีระหว่างเรือ พิธีลอยกระทงเคราะห์กลางทะเล การแข่งขันกีฬาพื้นบ้าน การละเล่นพื้นบ้าน การแข่งขันขูดมะพร้าว การแข่งขันชกมวยทะเล
ข่าวน่าสนใจ:
- หมดวาระอบจ.ตรัง รุ่งขึ้น “บุ่นเล้ง” เปิดตัวทันควัน ใช้ชื่อ “ทีมนายกบุ่นเล้ง” แทน “ทีมกิจปวงชน” ชูนโยบาย “รวมพลังที่ยิ่งใหญ่ ขับเคลื่อนตรังให้เป็น 1”
- ตรัง "เมนูลูกปลาปิ้งเครื่อง" จับปลาสดๆจากแหล่งน้ำธรรมชาติ ปรุงเป็นอาหารพื้นบ้านแสนอร่อย
- ตรัง แม่ค้าร้านดังถูกหลอก อ้างเป็นเลขานายกฯสั่งข้าวกล่องช่วยน้ำท่วมสูญเงิน 3 พัน
ประเพณีนี้เกิดขึ้นจากวิถีชีวิตของชาวประมงท้องถิ่น ที่ไม่สามารถร่วมประเพณีลากพระทางบกได้ในช่วงออกพรรษา เนื่องจากต้องออกทะเลตามช่วงน้ำขึ้น-น้ำลง จึงริเริ่มการลากพระทางน้ำขึ้นในวันแรม 8 ค่ำ เดือน 11 เพื่อเป็นการทำบุญและระลึกถึงคุณพระแม่คงคา
นอกจากคุณค่าทางวัฒนธรรม ประเพณีนี้ยังส่งเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่ ซึ่งมีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจมากมาย เช่น เกาะลิบง เกาะเหลาเหลียง อุทยานแห่งชาติแหลมจุโหย เกาะตะเกียง เกาะเภตรา เกาะสุกรแ ละพื้นที่ยังขึ้นชื่อด้านอาหารทะเลสด เช่น ปูม้า หอยตะเภา หอยเจดีย์ และหอยหลอด ที่มีรสชาติอร่อยเป็นพิเศษ เนื่องจากเป็นจุดบรรจบของน้ำจืดจากแม่น้ำตรังและแม่น้ำปะเหลียนกับน้ำทะเล
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: