ตรัง พาณิชย์ตรัง ยกระดับผู้ประกอบการเป็นนักการค้ามืออาชีพ ภายใต้กิจกรรมเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการในการนำเสนอสินค้าและการเจรจาธุรกิจให้เป็นนักการค้ามืออาชีพ
จังหวัดตรังเป็นจังหวัดที่มีศักยภาพในหลายด้าน ทั้งด้านอาหารที่มีชื่อเสียงของจังหวัด เนื่องจากมีวัฒนธรรมด้านอาหารที่โดดเด่น จากการผสมผสานวัฒนธรรมด้านอาหารของชาวจีนและอาหารพื้นเมือง ก่อให้เกิดอาหารที่มีอัตลักษณ์ เป็นที่ชื่นชอบของชาวไทยและต่างชาติ สร้างรายได้ สร้างอาชีพให้กับชาวตรังตลอดมา อีกทั้งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาเที่ยวปีละหลายแสนคน เนื่องจากมีความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล หมู่เกาะ ประวัติศาสตร์ ประเพณีท้องถิ่น มีชุมชนที่มีวัฒนธรรมที่น่าสนใจ นอกจากนี้ยังมีของใช้ของตกแต่งบ้านของที่ระลึก สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) และผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมไทย (CPOT) ที่มีหลากหลาย จะเห็นได้ว่าสินค้าเหล่านี้สามารถสร้างรายได้และขับเคลื่อนเศรษฐกิจของจังหวัดตรังได้อย่างดียิ่งตลอดมา หากได้รับการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการเป็นนักการค้าที่มีศักยภาพพร้อมรับกับการแข่งขันทางการตลาด เข้าถึงโอกาสทางการค้า และสามารถก้าวไปสู่ตลาดทั้งในและต่างประเทศ อันจะนำไปสู่การสร้างรายได้ เข้าสู่ชุมชนและท้องถิ่น
สำหรับงาน “Very Trang” มากได้อีกที่ตรัง จัดขึ้นระหว่างวันที่ 29 พฤศจิกายน – 1 ธันวาคม 2567 โดยได้รับจัดสรรงบประมาณจากจังหวัดตรัง ภายใต้กิจกรรมเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการในการนำเสนอสินค้าและการเจรจาธุรกิจให้เป็นนักการค้ามืออาชีพ ภายใต้โครงการยกระดับศักยภาพผู้ประกอบการจังหวัดตรังเป็นนักการค้ามืออาชีพ โดยมีกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ ในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2567 เป็นการจัดอบรมภาคทฤษฎีในการเตรียมความพร้อมในการนำเสนอสินค้าและการเจรจาธุรกิจ ณ ห้องประชุม ชั้น 3 บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) (สาขาตรัง ถนนรักษ์จันทร์) และฝึกปฏิบัติจริงในสถานที่จริง ในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2567 ณ ลานโปรโมชั่น ชั้น 1 หน้า KFC ศูนย์การค้าโรบินสันไลฟ์สไตล์ตรัง จำนวน 50 ราย
และมีกิจกรรมแสดงและจำหน่ายสินค้า ระหว่างวันที่ 29 พฤศจิกายน – 1 ธันวาคม 2567 ณ ลานโปรโมชั่น ชั้น 1 หน้า KFC ศูนย์การค้าโรบินสันไลฟ์สไตล์ ตรัง จำนวน 50 ร้านค้า พร้อมทั้งมีกิจกรรมไลฟ์สดประชาสัมพันธ์สินค้าเพื่อให้เกิดการซื้อขายจริง โดยผ่าน Influencerผู้มีชื่อเสียงในจังหวัดและต่างจังหวัด, กิจกรรมจับคู่เจรจาธุรกิจในรูปแบบออฟไลน์ และออนไลน์(Online Business Matching) ในวันที่ 1 ธันวาคม 2567 ณ ห้องTrang FC ศูนย์การค้าโรบินสันไลฟ์สไตล์ ตรัง มีผู้ประกอบการจังหวัดตรัง จำนวน 30 ราย และผู้ซื้อ ในประเทศและต่างประเทศกว่า 15 ราย
งาน “Very Trang” มากได้อีกที่ตรัง จัดขึ้นเพื่อเป็นการสร้างประสบการณ์ให้ผู้ประกอบการจังหวัดตรังได้รับการพัฒนาองค์ความรู้ด้านตลาด การค้าระหว่างประเทศ พร้อมการปฏิบัติจริงในสถานที่จริง นับเป็นโอกาสที่ดีผู้ประกอบการจังหวัดตรัง มีโอกาสและช่องทางการตลาดทั้งในและต่างประเทศเพิ่มขึ้น สามารถก้าวสู่การเป็นผู้ประกอบการค้ามืออาชีพในระดับสากลได้ รวมทั้งส่งเสริมเศรษฐกิจการค้าของจังหวัดให้มีความเข้มแข็ง และสร้างรายได้เข้าสู่จังหวัดเพิ่มขึ้น
นางสาวสุภากิตติ์ เกลี้ยงสงค์ พาณิชย์จังหวัดตรัง บอกว่า ทรัพยากรที่หลากหลายของจังหวัดตรังไม่ว่าจะเป็นเรื่องของวัตถุดิบอาหารทะเลรวมไปถึงผลิตภัณฑ์ชุมชนผลิตภัณฑ์ SME ต่างๆที่มีอยู่หลากหลายทำให้ทางสำนักงานพาณิชย์จังหวัด ได้จัดทำโครงการเพื่อที่จะพัฒนาและยกระดับผู้ประกอบการของจังหวัดตรังให้เป็นผู้ประกอบการค้ามืออาชีพ โครงการนี้ก็เลยเป็นที่มาของการจัดกิจกรรมต่างๆ ก็คือเรื่องของการจัดสัมมนาผู้ประกอบการในประเด็นที่เกี่ยวกับเรื่องความรู้ต่างๆ เรื่องของการจัด Display ร้านค้าอย่างไรให้น่าสนใจ อาจจะมีการออกงานต่างๆหรือว่าใครที่มีหน้าร้านของตัวเอง รวมไปถึงเรื่องของการใช้ social media การใช้มือถือในการสร้างตัวตนของตัวเอง การถ่ายภาพ และความรู้ในการเจรจาธุรกิจเราจะมีกิจกรรมต่างๆที่ให้ผู้ประกอบการของเราได้มีการพบปะเจรจาธุรกิจผู้ซื้อหรือ Buyer ซึ่งในกิจกรรมนี้นอกจากมีการจัดอบรมแล้วเราก็จะมีกิจกรรม พบปะเจราธุรกิจระหว่างผู้ประกอบการที่เข้าร่วมงานทั้งหมด 50 ราย และผู้ซื้อ ซึ่งเราได้มีการประสานงานไปยังสำนักงานพาณิชย์จังหวัดในจังหวัดต่างๆให้หาผู้ซื้อมาให้เรารวมไปถึงกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ได้ประสานทางทูตพาณิชย์ ซึ่งในกิจกรรมนี้เราจะมีการเจรจาธุรกิจในวันพรุ่งนี้ 1 ธันวาคม 2567 และมีการจับคู่ในตารางนัดหมายกันเรียบร้อยแล้วการกระจัดจะเกิดขึ้นในวันพรุ่งนี้ และมีกิจกรรมการจัดงานแสดงจำหน่ายระหว่างวันที่ 29 พ.ย.-1 ธ.ค. 67 ที่บริเวณหน้า KFC ห้างโรบินสันตรัง โดยในช่วงการจัดแสดงหรือจำหน่ายสินค้า เราจะมีวิทยากรที่ให้ความรู้ในเชิงวิชาการในเรื่องของการจัด display ต่างๆทางวิทยากรก็จะมาแนะนำความรู้ของแต่ละบูธในการปฏิบัติจริงในวันนี้ด้วย ทำให้ผู้ประกอบการมีทักษะความรู้ในการจัดร้านจะเป็นประโยชน์ให้กับผู้ประกอบการมากยิ่งขึ้น
ทั้งนี้เรื่องของสินค้า GI ไม่ว่าจะเป็นพริกไทยตรังพันธุ์ปะเหลียน หมูย่างเมืองตรัง ข้าวเบายอดม่วงที่เราได้ขึ้นทะเบียนเป็นสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ของจังหวัดตรังแล้วเราก็พยายามที่จะประชาสัมพันธ์และส่งเสริมผู้ประกอบการให้มีช่องทางการตลาดเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันก็พยายามผลักดันให้ผู้ประกอบการของเรามีการต่อยอดการใช้สินค้า GI มาเป็นวัตถุดิบ ไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่นหมูย่างเมืองตรังจะไปปรากฏอยู่ในไส้ของขนมต่างๆ หรือพริกไทยตรังไปบวกอยู่กับลูกชิ้นปลาพริกไทยตรัง ซึ่งตรงนี้ก็ถือว่าเป็นช่องทางหนึ่งที่ทำให้ผู้ประกอบการของเราได้มีโอกาสทางการตลาด ไม่เน้นเฉพาะผลิตภัณฑ์ตัวใหม่อย่างเดียว อย่างเช่นเรื่องของบรรจุภัณฑ์สร้างแบรนด์สร้างเรื่องราวของสินค้าที่จะสื่อสารออกไปให้กับผู้บริโภคได้รับทราบว่ามีสินค้าอย่างไรน่าสนใจและมีเรื่องราวความเป็นมาอย่างไร จะช่วยเพิ่มรายได้ให้แก่ผู้ประกอบการในชุมชนได้มากยิ่งขึ้นยอดขายไม่น้อยกว่า 500,000 บาท
ทั้งนี้ยอดจำหน่ายจำนวน 50 บูธ ที่มาจำหน่ายภายใน 3 วันนี้เราคิดว่าน่าจะไม่น้อยกว่า 500,000 บาท ส่วนในเรื่องยอดการเจรจาด้านการค้าจะเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่จะเปิดมูลค่าการซื้อขาย คาดว่าไม่ต่ำกว่า 1 ล้านบาท
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: