ตรัง สถาบันพระบรมราชชนก ปฏิวัติการศึกษาสาธารณสุข เตรียมผลิต ‘9 หมอ’ รุ่นใหม่ พร้อมพัฒนาสุขภาพระดับโลก อธิการบดีสถาบันพระบรมราชชนก ดร.นพ.วิชัย เทียนถาวร นำทีมผู้บริหารเยือนสถาบันการศึกษาสาธารณสุขในจังหวัดตรัง เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับโครงการผลิตบัณฑิตสุขภาพรุ่นใหม่ที่มีความเป็นนวัตกรรม โดยมุ่งเน้นการผลิตทีมสุขภาพครบ 9 สาขาวิชาชีพ เพื่อกระจายไปทำงานในชุมชนและสถานีอนามัยทั่วประเทศ พร้อมวางแผนพัฒนาระบบสาธารณสุขเชิงรุก ด้วยแนวคิด “สร้างนำซ่อม” ซึ่งจะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนและพัฒนาสุขภาวะของคนไทยอย่างยั่งยืน
ดร.นพ.วิชัย เทียนถาวร อธิการบดีสถาบันพระบรมราชชนก พร้อมคณะผู้บริหาร เดินทางลงพื้นที่เยี่ยมเยียนวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง ต.ควนธานี อ.กันตัง จ.ตรัง และวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีตรัง ต.ทับเที่ยง อ.เมืองตรัง จ.ตรัง โดยได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นจากนายสุนทร ปราบเขต ผู้อำนวยการวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง พร้อมคณะผู้บริหาร คณาจารย์ และนักศึกษา
ดร.นพ.วิชัย เทียนถาวร อธิการบดีสถาบันพระบรมราชชนก บอกว่า สำหรับสถาบันราชนกของเราก็เป็นสถาบันที่เกิดใหม่ ตาม พ.ร.บ.2562 เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2562 ปีนี้ก็เข้าเป็นปีที่ 6 โดยสถาบันฯเราเริ่มมาจากโรงเรียนผดุงครรภ์ในสมัยก่อน ซึ่งมีปัญหาแม่และเด็กตายมาก ทางรัฐบาลในขณะนั้นได้ตั้งโรงเรียนผดุงครรภ์ไปอยู่ในชนบท เพื่อที่จะแก้ปัญหาแม่และลูกตาย เด็กขาดสารอาหาร และในเรื่องของการได้รับวัคซีนต่าง ๆ จนกระทั่งวิทยาลัยพยาบาลของเราพัฒนา การผดุงครรภ์มาเป็นวิทยาลัยพยาบาล และจนกระทั่งมาเป็นสถาบัน ซึ่งปกติเราจะรับประกาศนียบัตร และรับปริญญาจากมหาวิทยาลัยต่างๆ ที่เราทำ ข้อผูกพันซึ่งกันและกัน แต่ครั้งนี้เป็นครั้งแรกของประเทศไทย ที่ทางพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 10 ได้พระราชทานให้ ในการเริ่มต้นของสถาบันเรามี 2 คณะ 1. คณะพยาบาล ซึ่งผลิตบัณฑิตได้ปีละประมาณ 4,200 กว่าคน 2. คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ ผลิตบัณฑิตได้ปีละ 2,000 คน ก็ประมาณ 6,000 เศษ สำหรับคณะแพทย์ที่เรา เปิดมาเป็นปีที่ 2 ซึ่งเรามี วิทยาลัยแพทย์ศาสตร์อยู่ 3 แห่งได้แก่วิทยาลัยแพทย์ศาสตร์นครสวรรค์ นครศรีธรรมราช และราชบุรี รับทั้ง 3 วิทยาลัยและ 3 โรงพยาบาล 96 คนต่อปี ซึ่งปีนี้เป็นปีที่ 2 สำหรับการรับนักศึกษาเราในช่วงปีที่ผ่านมา เราประสบความสำเร็จในการที่เราทำ MOU กับ โรงเรียนมัธยมทั่วประเทศโดยนายอนุทิน ชาญวีรกุลรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ก็ได้ลงนามกับ น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีกระทรวง ศึกษาธิการในขณะนั้น ในช่วงประมาณเดือนสิงหาคม 2563 ทำมา 3 ปีก็พบว่านักศึกษาที่รับมา 3 รุ่นประมาณ 80% ได้มาจาก MOU ซึ่งการทำ MOU ก็จะเป็นโครงการที่สำคัญกับประเทศ คือให้เด็กทุกโรงเรียนในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นจ.แม่ฮ่องสอน จ.น่าน จ.ยะลา ทุกโรงเรียนมีสิทธิ์เท่าเทียมกับโรงเรียนเตรียมอุดม โรงเรียนราชินี เพราะฉะนั้นความเท่าเทียมกันของการศึกษาโดยที่เราไม่ได้สอบ ใช้เกรดเป็นหลัก พยาบาล 3.0 สาธารณสุข 2.5 ก็เข้าได้หมด คือจะเป็นชาวเขา ชาวเรา ก็มีสิทธิ์เท่าเทียมกันซึ่งที่ผ่านมาเราพบว่า ทางสถาบันต้องออกกำลังเนื่องจากเด็กที่เข้ามาพื้นฐานยังไม่เท่ากัน เพราะฉะนั้นการเตรียมการ ในเรื่องของคัดก่อนเข้าเพื่อจะปูพื้นฐานให้เข้ากัน แต่อย่างไรก็ตามแต่ที่เราทำมา 3 ปี พบว่าเด็กทดสอบผ่านตามหลักการอาจจะมีซ่อมบ้าง แต่ท้ายสุดเด็กทุกคนก็ได้ผ่านเกณฑ์หมด
สำหรับปี 2568-2577 เป็นต้นไป ก็จะมีการรับนักศึกษาอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งเป็นรูปแบบที่ 2 เป็นรูปแบบที่สถาบันพระบรมราชนกผลิตบัณฑิตให้กับกระทรวงสาธารณสุข และเป็นโครงการแรกของประเทศและโครงการแรกในโลกนี้ ซึ่งผลิตบัณฑิต ทีมนวัตกรรมสุขภาพ ซึ่งประกอบด้วย 9 หมอ ประกอบด้วย แพทย์ พยาบาล สาธารณสุข ผู้ช่วยพยาบาล ผู้ช่วยสาธารณสุข ฉุกเฉินการแพทย์ แพทย์แผนไทยทันตแพทย์ เภสัช โดยที่เราผลิตที่ สบช. ตั้งแต่ 1-9 เพื่อที่จะให้ทีมและเป็นทีม นวัตกรรมและมี mindset หรือ เน้นชุมชนเป็นหลักและเป็นบัณฑิตคืนถิ่นมาจากอำเภอไหนก็กลับไปอำเภอนั้น เหตุผลตรงนี้ก็คือต้องการให้เป็นบัณฑิตที่รักภูมิลำเนา และมีทัศนคติในการทำงานในทิศทางเดียวกัน เพื่อหล่อหลอมการเรียนการสอน ซึ่งเรามีปณิธานคือปัญญาเพื่อชุมชน เพราะฉะนั้นทิศทางในการพัฒนาการเรียนการสอนของเรา เดิมเราจะผลิตบัณฑิตเป็นผู้นำ แต่เราเปลี่ยนใหม่ เมื่อวันที่ 18-19 เดือนพฤศจิกายน 2567 ที่ผ่านมาเราเปิด Kick Off ซึ่งถือว่าเป็นมหาวิทยาลัยระดับโลกที่เราผลิตบัณฑิตเป็นปฐมภูมิก็ให้ผลิตไป แต่ปี 2568 เป็นต้นไปทีมสุขภาพที่ดูแลปฐมภูมิจะเป็นทีมที่ผลิตจากสบช.และดูแลเรื่องสุขภาพสร้างนำซ่อม ในอดีตที่ผ่านมาเราจะตามรักษา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเบาหวานความดันเราก็ตามรักษา แต่ท้ายสุดจะไปเกิดโรคของอัมพาตอัมพฤกษ์ เส้นเลือดหัวใจตีบตันและไตวาย และอีกเรื่องหนึ่งโรคจิตประสาท แต่หากเรานำสร้างนำซ่อมประชาชนคนไทยดูแลซ้ำ โรคไม่ติดต่อเชื้อโรคของเราต่างกับเชื้อโรคสมัยก่อน หน้ายุคนี้เกิดจากเชื้อแบคทีเรียไวรัส เป็นโรคที่เราป้องกันด้วยวัคซีน เช่น คอตีบ ไอกรน โปลิโอ เรื่องของอหิวาตกโรค แต่ระยะนี้โรคที่เป็นเชื้อโรคก็คือพฤติกรรมสุขภาพเราจะรณรงค์ให้คนไทยสร้างสุขภาพตั้งแต่เด็ก ออกกำลังกายอาหารอารมณ์ ลดเหล้า ลดบุหรี่ ลดอ้วนก็คือ 3 ออ 3 ลอ เรามีเครื่องมือ อันหนึ่งที่ทั่วโลกไม่มีในการเฝ้าระวังก็คือปิงปอง 7 สี ซึ่งเราใช้ชื่อว่าสบช.โมเดล เป็นเครื่องมือสาธารณสุขมูลฐานที่คล้ายกับการแก้ปัญหาเด็กขาดสารอาหารสมัยก่อน โดยการชั่งน้ำหนักเด็ก และแก้ปัญหาเด็กกินข้าวด้วยบัตรโภชนาการ ให้ออกกำลังกายสุขภาพก็จะดี สำหรับการเรียนการสอนเราจะเริ่มต้นตั้งแต่ปี 2568 เป็นต้นไป ซึ่งเราจะแบ่งจากโครงการที่เรามีผลิต 62,000 คน ด้วยงบประมาณ 37,234 ล้านบาท จะแบ่งเป็น 10% กระจายทั่วกันทั่วประเทศ เพราะฉะนั้นที่ตรังปีแรก 10% ปีที่ 2 10% ท้ายสุด รพ. สต.ทั้งหมดจะได้รับ 9 หมอเหมือนกัน แต่ปีแรกเนื่องจากงบประมาณทางรัฐบาลไม่ทัน ได้แปรญัตติมา 123 ล้านบาทเศษก็ได้ ก็รับประมาณ 30% แต่ปีแรกเราจะเน้นหมอที่ไปจบบรรจุที่สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระพันปีหลวง อยู่จังหวัด 1 คนก็ประมาณ 52 ที่ในประเทศไทยเพื่อเป็นต้นแบบ หลังจากนั้นเราก็ผลิตตามปกติเพราะฉะนั้นทั่วประเทศจะได้เท่าเทียมกัน สำหรับโครงการนี้จะเป็นโครงการที่พัฒนาระบบสาธารณสุขของเราที่เป็นการพลิกโฉม ถ้าเราเน้นในเรื่องการดูแลสุขภาพตั้งแต่เบื้องต้น ตั้งแต่แม่และเด็ก เด็กวัยเรียน ไปวัยทำงานจนถึงผู้สูงวัย เชื่อว่าผู้หญิงอายุประมาณ 79-80 โดยเฉลี่ยผู้ชายอายุประมาณ 75-76 หากเราดูแลดีๆ ก็จะไปเสียชีวิตตอนอายุ 90 ก็จะเป็นเรื่องที่ปลูกฝังนักศึกษาของเราให้มีองค์ความรู้นี้พอจบไปทำงานแล้วก็จะได้มายเซต และละติจูดที่ดี ทุกคนก็จะไปดูในเรื่องสร้างนำซ่อม คิดว่า ในอนาคตของประเทศเราจะ โดยที่เรามีมหาวิทยาลัยฮาวเวิร์ดมาร่วมทำ MOU กับเราด้วยกัน ที่สมเด็จพระบิดาเรียนแพทย์ที่นั่น และที่สกอตแลนด์ ซึ่งเป็นเจ้าโลกของแพทย์ศาสตร์ศึกษา ซึ่งเชื่อว่าการทำงานของเราโดยมีการพัฒนาให้ถึงระดับโลกหลักสูตรก็เป็นหลักสูตรที่ใช้ระดับโลกเช่นกัน บัณฑิตก็ได้รับการหล่อหลอม ไปเป็นผลพวงท้ายที่สุดก็คือสถานีใหม่ทั่วประเทศได้ระดับโลกเช่นกัน
การเยี่ยมเยียนครั้งนี้นับเป็นอีกก้าวสำคัญในการพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านสุขภาพของสถาบันพระบรมราชชนก เพื่อสร้างบัณฑิตที่พร้อมทำงานในระดับชุมชนและระดับโลกอย่างแท้จริง.
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: