อบจ.ตรัง แจงจัดซื้อที่ดินกว่า 90 ไร่ สร้างท่าเทียบเรือบ้านนาเกลือ หลังเกิดประเด็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบงมีหนังสือแจ้งมายังจังหวัดเกี่ยวกับท่าเทียบเรือนาเกลือ ตั้งอยู่ภายในเขตพื้นที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบง
วันที่ 14 มี.ค.61 นายสมจิตร คงฉาง รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดตรัง นายประพันธ์ ไตรทิพยพงศ์ หัวหน้าฝ่ายนิติการและการพาณิชย์ องค์การบริหารส่วนจังหวัดตรัง ร่วมการแถลงข่าวต่อนายศิริพัฒ พัฒกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง นายวสันต์ ถนอมทรัพย์ นายชัชวาล ฉายะบุตร รองผู้ว่าราชการจังหวัด โดยมี พ.อ.พิชิต แก้วโชติ รอง ผอ.กอ.รมน.ตรัง นายวิเชียร รัตนโสม เจ้าพนักงานที่ดิน จ.ตรัง นายจักรี สุขุม เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดตรัง สาขากันตัง นายแพทย์บรรเจิด สุขพิพัฒปานนท์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดตรัง นายไพโรจน์ อินทรศรี ปศุสัตว์จังหวัดตรัง พร้อมหัวหน้าส่วนราชการร่วมด้วย ในประเด็นกรณีเขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบงมีหนังสือแจ้งมายังจังหวัดเกี่ยวกับท่าเทียบเรือนาเกลือ ต.นาเกลือ อ .กันตัง จ.ตรัง ตั้งอยู่ภายในเขตพื้นที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบง สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 5 (นครศรีธรรมราช) กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
ข่าวน่าสนใจ:
- พิธีเปิดนิทรรศการฟอสซิลช้างดึกดำบรรพ์และสัตว์ร่วมยุคในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา
- บ้านใหญ่พรรคเพื่อไทยเชียงราย เปิดตัวผู้สมัครนายก อบจ.พร้อมกับนำทีมผู้สมัคร สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย ทั้ง 36 เขต ในนามพรรคเพื่อไทย
- ระทึก ไฟไหม้โรงงานผลิตกล่องโฟมใส่อาหารหวิดวอดหมดหลัง
- คู่แข่งนอกสายตานายก ก้อย “พนธ์ มรุชพงษ์สาธร” ขอวัดดีกรีว่าที่นายก อบจ.แปดริ้ว
รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดตรัง ได้ชี้แจงความเป็นมาของการจัดซื้อที่ดินกว่า 90 ไร่ เพื่อก่อสร้างท่าเทียบเรือบ้านนาเกลือ โดยใช้งบประมาณของกรมเจ้าท่า จำนวน 400 ร้อยกว่าล้านบาท เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการขนส่งสินแร่ระหว่างจังหวัดตรังและจังหวัดใกล้เคียงกับประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ บังคลาเทศ ศรีลังกาและอินเดีย ให้เพิ่มสูงขึ้น แทนท่าเรือกันตังที่มีข้อจำกัดเรื่องพื้นที่และมีมลภาวะรบกวนชุมชน ซึ่งกรมเจ้าท่าได้ออกแบบการก่อสร้างเป็นท่าเรืออเนกประสงค์ ส่วนในประเด็นที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดตรังได้ยื่นคำขอรังวัดออกโฉนดที่ดิน เมื่อปี 2553 คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายเกี่ยวกับออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินหรือหนังสือสำคัญสำหรับที่ดินในเขตพื้นที่ป่าเพื่อการอนุรักษ์ ได้ดำเนินการพิสูจน์สิทธิว่ารุกล้ำเข้าไปในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบงหรือไม่ เมื่อพิสูจน์แล้วก็เข้าคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายเกี่ยวกับออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินหรือหนังสือสำคัญสำหรับที่ดินในเขตพื้นที่ป่าเพื่อการอนุรักษ์ อีกครั้งและแย้งว่าให้สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 5 (นครศรีธรรมราช)แปล และวิเคราะห์ภาพถ่ายทางอากาศว่าที่ดินเดิมมีสภาพอย่างไร เมื่อแปลเสร็จแล้วก็ส่งมาให้เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบง และส่งต่อให้สำนักงานที่ดิน สาขากันตัง ซึ่งการขอออกโฉนดต้องเข้าคณะกรรมการตรวจพิสูจน์ที่ดินตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 43 (กพร.) พิสูจน์ว่าการขอออกโฉนดทำได้หรือไม่ ทั้งนี้การซื้อที่ดินจากชาวบ้านมานั้น ซื้อตามเอกสาร นส.3 ก. ก็ถือเป็นเอกสารที่ออกโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว และมีการจัดซื้อจัดจ้างตามระเบียบ
ด้านนายวิเชียร รัตนโสม เจ้าพนักงานที่ดิน จ.ตรัง กล่าวว่า นส3ก. ออกมาแล้วก็สามารถที่จะซื้อขายกันได้ตามกฎหมาย ในส่วนที่เขตห้ามล่ามีประกาศเขตห้ามล่าฯ การออกเอกสารสิทธิในเขตห้ามล่าฯ ต้องมีคณะกรรมการตรวจพิสูจน์ที่ดินตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 43 เพื่อพิจารณาว่าอยู่ในประเด็นที่สามารถออกได้หรือไม่ ขอชี้แจงเรื่องประกาศเขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบง แต่เดิมคือ ห้ามล่าสัตว์ป่า ปัจจุบันกรมป่าไม้ ตีความ เรื่องเขตป่าสงวน ซึ่งห้ามออกเอกสารสิทธินั้นไม่ใช่ ต้องดูเอกสารที่มา ส่วนปัญหาลักษณะที่ว่าจะรุกล้ำแค่ไหน อย่างไร จะทับซ้อนกันอย่างไร นส3ก. ไม่ใช่ว่าจะห้ามออกในเขตห้ามล่าฯ ต้องเข้าใจตรงนี้ สามารถออกได้ สำคัญคือ การออกหลังประกาศเขตห้ามล่าฯ ต้องผ่านคณะกรรมการตรวจพิสูจน์ที่ดินตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 43 (กพร.) ว่ามีการครอบครองผลประโยชน์อย่างไร
นายจักรี สุขุม เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดตรัง สาขากันตัง กล่าวว่า กรณีที่ดิน อบจ. ที่ยื่นขอออกโฉนดทั้งหมด 36 แปลง ตรวจสอบทั้งหมดอยู่ในเขตห้ามล่าฯ ช่างรังวัดไปรังวัดพิสูจน์สอบสวนแล้ว ผู้ครอบครองได้ทำประโยชน์อยู่จริง อยู่ในหลักเกณฑ์ที่สามารถขอออกโฉนดได้ แต่เมื่อตรวจสอบแล้วอยู่ในเขตห้ามล่าฯ กรณีที่อนุมัติให้ออกโฉนดได้ต้องตั้งคณะกรรมการตรวจพิสูจน์ที่ดินตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 43 ไปตรวจพิสูจน์ว่าผู้ครอบครองได้ทำประโยชน์จริง เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ และเสนอความคิดเห็นขออนุมัติต่อผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง ถ้าผู้ว่าราชการจังหวัดตรังเห็นชอบก็สั่งอนุมัติให้ออกโฉนดได้ ขณะนี้ได้ดำเนินการถึงขั้นคณะกรรมการตรวจพิสูจน์ที่ดินตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 43 ได้ไปตรวจพิสูจน์แล้ว ซึ่งคณะกรรมการฯ มี 6 ท่าน ส่วนที่ให้ความเห็นชอบแล้ว 5 ท่าน ยังเหลือความคิดเห็นของเขตห้ามล่าฯ ซึ่งเขตห้ามล่าฯ เคยไปร่วมตรวจพิสูจน์ แต่ขอไม่ออกความเห็น จะให้ความเห็นเมื่อผลการแปลภาพถ่ายทางอากาศออกมา ซึ่งตอนนี้ผลการแปลภาพถ่ายออกมาแต่ก็ยังไม่ตอบ และได้มีหนังสือสอบถามไปแล้วว่าจะเห็นชอบหรือไม่
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: