X

พิธีมอบใบอนุญาตให้ปลูกสร้างสิ่งล่วงล้ำลำแม่น้ำ ให้แก่ชาวบ้านแหลมทราย ม.6 ต.เทพกระษัตรี อ.ถลาง จ.ภูเก็ต

พิธีมอบใบอนุญาตให้ปลูกสร้างสิ่งล่วงล้ำลำแม่น้ำ ให้แก่ชาวบ้านแหลมทราย ม.6 ต.เทพกระษัตรี อ.ถลาง จ.ภูเก็ต
อันสืบเนื่องมาจากตามที่คณะรักษา ความสงบแห่งชาติ ได้มีคำสั่งที่ 32/2560 เรื่องการบรรเทาความเสียหายให้แก่ประชาชนในกรณีปลูกสร้างอาคารหรือสิ่งอื่นใดล่วงล้ำลำแม่น้ำ เพื่อไม่ให้การบังคับใช้พระราชบัญญัติการเดินเรือในน้ำไทย ฉบับที่ 17 พ.ศ. 2560 ส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อสังคมโดยรวม

เนื่องจากเมื่อปีพศ.2560 คสช. ได้ออกคำสั่งที่ 36/2560 เรื่องการบรรเทาความเสียหาย
ให้แก่ประชาชนที่ปลูกสร้างสิ่งล่วงล้ำลำน้ำ ที่ไม่ได้อนุญาต โดยให้สามารถแจ้งการครอบครองสิ่งล่วงล้ำลำน้ำต่อกรมเจ้าท่า เพื่อพิจาณาอนุญาตไว้ โดยสำหรับภูเก็ต ในพื้นที่บ้านแหลมทราย ต.เทพกระษัตรี อ. ถลาง จ.ภูเก็ต มีกลุ่มชาวบ้าน
ประชาชนได้มาจดแจ้งครอบครองสิ่งล่วงล้ำลำน้ำทั้งหมด 34 ราย ซึ่งสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคสาขา 48 ภูเก็ต ได้ดำเนินการพิจารณาตามหลักเกณฑ์ของประกาศกระทรวงคมนาคมแล้ว ได้ให้การอนุญาตใน
ห้วงแรก จำนวน 14 ราย ไม่อนุญาตและสั่งรื้อถอนสิ่งล่วงล้ำลำน้ำ ซึ่งกลุ่มที่ไม่ได้รับอนุญาต ได้ใช้สิทธิ์ทางปกครองขออุทธรณ์คำสั่งรื้อถอนต่อสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคสาขาภูเก็ต แต่เนื่องจากขาดการยื่นอุทธรณ์ ยังขาดเอกสารสำคัญในการรับรองปี พ.ศ. ของสิ่งปลูกสร้างฯ ทำให้ถูกยกเลิกอุทธรณ์ทั้งหมด และต้องไปใช้สิทธิ์ทางศาลปกครอง แต่หลังจากนั้นได้มีการผลักดัน ร่วมกันแก้ไขปัญหาของหน่วยงานต่างๆ ทั้งฝ่ายปกครอง ท้องถิ่น ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดภูเก็ต

ด้านสำนักงานเลขาธิการนายกรัฐมนตรี กรมเจ้าท่าและกระทรวงคมนาคม และที่สำคัญยิ่งสภาองค์การบริหารส่วนตำบลเทพกระษัตรี ได้ออกหนังสือรับรองปี พ.ศ. ให้กับกลุ่มชาวบ้านผู้เดือดร้อน ทำให้สำนักงานเจ้าท่าภูมิภาค สาขาภูเก็ต สามารถนำเรื่องต่างๆกลับมาพิจารณาเพื่อออกใบอนุญาตให้พี่น้องชาวบ้านแหลมทราย ได้ใช้สิ่งปลูกสร้าง ล่วงล้ำลำน้ำที่ถูกกฎหมาย ตาม พ.ร.บ.การเดินเรือในน่านน้ำไทยฯ ต่อไป

ด้านนายสุชาติโยธารักษ์ ชาวบ้านผู้ต่อสู้เรียกร้องสิทธิ์ จากนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ตนทำการต่อสู้เรียกร้องสิทธิ์เป็นตัวแทนของชาวบ้านมาตั้งแต่ปี 2560 แต่เรื่องถูกดองไว้ไม่ทราบว่าติดอะไรหลายครั้งที่ตนเข้าร่วมประชุมกับจังหวัดภูเก็ตหลายครั้งที่ผมเข้าร่วมกับคณะกรรมการหรือคณะรัฐมนตรีที่ลงมาประชุมที่จังหวัดภูเก็ต ตนก็ขอเข้าร่วมประชุมด้วยและชี้แจงเรื่องความเดือดร้อนของชาวบ้านที่อาศัยกันอยู่ในบริเวณนี้มาช้านานบางคนอยู่ตั้งแต่รุ่นปู่รุ่นย่ารุ่นตารุ่นยายมาจนถึงทุกวันนี้เป็นรุ่นหลังแล้ว

การต่อสู้ครั้งสุดท้ายของตนเริ่มขึ้นเมื่อปี2560 ตนไม่รู้จะทำอย่างไรจึงทำหนังสือเรียนต่อท่านนายกรัฐมนตรีเพื่อขอที่ทำกินที่อยู่อาศัยเพราะเราเป็นชาวประมงต้องทำมาหากินกับน้ำและเป็นความโชคดีของชาวบ้านในแหลมทราย 34ครอบครัวที่ทางรัฐบาลได้มีมติให้กรมเจ้าท่าตรวจสอบสิทธิ์ของชาวบ้านถ้าชาวบ้านครอบครัวใดมีการปลูกสร้างอาคารบ้านเรือนอาศัยอยู่ก่อนปี 2537 ก็จะได้สิทธิ์ครอบครองและอยู่อาศัยต่อไปส่วนคนที่ปลูกบ้านหลังจากปี2537 ก็ต้องถูกถอนออกไปตามคำสั่งของคณะ คสช.

ต่อมาชาวบ้านได้มีการพิสูจน์สิทธิ์บ้านที่ขออนุญาตปลูกสร้างหลังปี 2537 ว่าบ้านทุกหลังที่อยู่ในบ้านแหลมทราย หมู่ที่6 นี้ปลูกมาก่อนที่จะมีประกาศปี 2537 จึงทำให้เทศบาลตำบลเทพกระษัตรี ทำหนังสือรับรองให้ชาวบ้ามทราย 34 ครอบครัวเป็นผู้อยู่มาก่อนประกาศปี 2537 ทุกครอบครัวจึงได้สิทธิ์อยู่อาศัยในที่ปลูกสร้างเดิม โดยไม่ต้องย้ายออก

และวันนี้ 27 พฤษภาคม 2565 เวลา 11:00 น.กรมเจ้าท่า จังหวัดภูเก็ต ได้ทำพิธีมอบใบอนุญาตการปลูกสร้างสิ่งล่วงล้ำลำน้ำให้กับประชาชนบ้านแหลมทราย หมู่ที่6 จำนวน 34 ครอบครัว ให้ปลูกสร้างหรืออยู่อาศัยได้โดยไม่ผิดกฎหมาย

ด้านนส.สุดใจ ภูเขาทอง อายุ 43 ปี หนึ่งในชาวบ้านที่ได้รับมอบหนังสือสิ่งปลูกสร้างล่วงล้ำลำน้ำ หมู่บ้านแหลมทราย หมู่ที่ 6 ต.เทพกษัตรี อ.ถลาง จ.ภูเก็ต กล่าวว่าตนร่วมกับชาวบ้านช่วยกันต่อสู้ ที่อยู่อาศัย ที่ทำกินกันมาตั้งแต่ก่อนปี 2537 จนถึงปัจจุบัน วันนี้ตนดีใจมากที่ทางกรมเจ้าท่าจังหวัดภูเก็ตได้ออกใบอนุญาตให้ตนสามารถที่จะอยู่อาศัยในอาคารที่ปลูกรุกล้ำลำน้ำได้อย่างถูกกฎหมาย ที่ผ่านมาการต่อสู้ยากลำบากมากกว่าจะได้มา ตนและชาวบ้านทุกคนจะรักษาไว้เพื่อให้ตกทอดไปถึงลูกหลานรุ่นต่อๆไป

ด้าน นายณชพงศ ประนิตย์ ผู้อำนวยการ สนง. เจ้าท่าภูมิภาค สาขาภูเก็ต กล่าวว่า โครงการนี้ก็สืบเนื่องจากปี 2560จากคำสั่งคสช มีแนวความคิดที่จะจัดระเบียบน่านน้ำทั่วประเทศที่ไม่ได้มีการออกใบอนุญาตก็เลยมีคำสั่งคสชที่ 32/60ให้ผู้ที่ปลูกสิ่งก่อสร้างที่ล้ำน่านน้ำทั่วประเทศต่อสำนักงานเจ้าท่าทั่วประเทศก็โฟกัสมาที่บ้านแหลมทรายของจังหวัดภูเก็ตเมื่อปี 60 ก็มีผู้มายื่นเรื่องตามหลักเกณฑ์ประกาศของกระทรวงคมนาคมก็มายื่นทั้งหมด 48 รายก็เมื่อเข้าสู่กระบวนการพิจารณาแล้วก็ได้รับอนุญาต 14 รายรอบแรกมีใบอนุญาตครบตามกฎหมายกำหนดและเหลืออยู่ 34 รายเอกสารต่างๆไม่มีไม่ว่าจะเป็นทะเบียนบ้านเอกสารรับรองท้องถิ่นต่างๆ ก็ไม่มีเเละการติดตั้งมิเตอร์น้ำไฟฟ้าเอกสารต่างๆ ก็ไม่มีไม่สามารถระบุได้ว่าบ้านหลังนี้ทางเอกสารทางราชการไม่มีและก็ได้มีคำสั่งรื้อถอนแต่ว่าให้ใช้สิทธิ์พิจารณาอุทธรณ์ภายใน 15 วันก็ได้มีการยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนดแต่เอกสารตามกฎหมายไม่มีแต่ก็ให้สิทธิ์ทั้งผู้ที่ไปยื่นศาลอุทธรณ์ทั้ง 34 รายภายใน 90 วันก็เลยทำให้สิทธิ์ตรงนั้นขาดไป ทางกรมเจ้าท่าเองก็ไม่มีทางอื่นก็ต้องมีการดำเนินคดีและมีคำสั่งรื้อถอนต่อไปและก็ได้มีกลุ่มผู้นำของชาวบ้านไม่ว่าจะเป็นผู้ใหญ่บ้านและผู้นำท้องถิ่นทางนายกทางกำนันทุกภาคส่วนที่จะหาทางช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบดังกล่าวไหนจะต้องมีเรื่องผลกระทบของมลพิษทางเสียงทำอะไรก็ไม่ได้ก็เลยมีการที่จะยื่นไปไม่ว่าจะเป็นศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดภูเก็ตสำนักงานนายกรัฐมนตรี ครม. สัญจรที่มาภูเก็ตเมื่อปลายปี 63 และก็ไปที่กรมเจ้าท่าทั้งรัฐมนตรีต่างๆ ก็จะหาทางพยายามช่วยกัน ก็สุดท้ายแล้วมาที่ทาง อบต.เทพกระษัตรีก็ได้มีการประชุมสภาเเละพอประชุมสภาเสร็จก็ได้มีมติออกมาเป็นหนังสือรับรองสิ่งที่ปลูกสร้างสิ่งล้ำน่านน้ำต่างๆก็มายื่นเอกสารเพิ่มเติมให้ผมเจ้าท่าเจ้าท่าเมื่อได้พบหลักฐานเอกสารใหม่ต่างๆ ก็มีการพิจารณาทบทวนมันมีการพบเอกสารหลักฐานใหม่ก็จะยกเลิกให้สู่กระบวนการใหม่หมดเลยเพราะใช้เวลาที่จะดำเนินการต่อเนื่องมาเอกสารแต่ละอย่างก็เยอะแยะไปหมดจนมาถึงวันนี้ทั้งหมด 34 รายเป็นร้านอาหาร 2 ราย ห้ามขายต่อที่ดินเด็ดขาดแต่สามารถปรับปรุงให้สวยงามได้ซ่อมแซมได้ยกให้สูงขึ้นนิดนึงก็ได้แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องอยู่ในกรอบเดิมแต่ก่อนที่จะดำเนินการให้มายื่นเรื่องที่เจ้าท่าก่อนให้พิจารณาว่าจะต้องทำยังไงบ้างจะได้กำกับดูแลว่าท่านทำตามจริงตามนี้ไหมและสุดท้ายท้ายสุดท่านก็จะต้องเสียค่าตอบแทนให้กับทางเทศบาลเทพกษัตรีด้วยคือการเสียภาษีคือตามกฎหมายคือตารางเมตรละ 5 บาทต่อปีและก็ให้ถือตามปฏิบัติตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องด้วย

 

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน