X

ภูเก็ตแถลงโรคท้องร่วงระบาด พร้อมระบุแนวทางป้องกัน ยึดหลัก “สุก ร้อน สะอาด”

ภูเก็ตแถลงข่าวกรณีสถานการณ์โรคติดต่อระบบทางเดินอาหารและน้ำ สสจ.ระบุแนวทางการป้องกันโรคอุจจาระร่วง ขอให้ประชาชนยึดหลัก “สุก ร้อน สะอาด” โดยรับประทานอาหารปรุงสุกใหม่ด้วยความร้อน ไม่รับประทานอาหารแบบสุกๆ ดิบๆ และดื่มน้ำสะอาดที่ได้รับมาตรฐาน

วันนี้ 8 มิถุนายน 2566 ที่ห้องประชุมชั้น 5 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต นายณรงค์ วุ่นซิ้ว ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต พร้อมด้วย นายดนัย สุนันทารอด รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต, นายแพทย์กู้ศักดิ์ กู้เกียรติกูล นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต , นายเรวัต อารีรอบ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต ,นายศุภโชค ละอองเพชร รองนายกเทศมนตรีนครภูเก็ต , นางวิภา สายรัตน์ ผอ .สพป.ภูเก็ต,นายแพทย์ชูชาติ นิจวัฒนา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลฉลอง,นายแพทย์ บรรพต ปานเคลือบ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลถลาง,แพทย์หญิงศุภลักษณ์ ละอองเพชร รองผู้อำนวยการ โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต,แพทย์หญิงเหมือนแพร บุญล้อม ผู้อำนวยการโรงพยาบาลป่าตองและนายเพิ่มเกียรติ เกษกุล ประธานคณะกรรมการประสานและส่งเสริมการศึกษาเอกชนจังหวัดภูเก็ต ร่วม แถลงข่าวกรณีสถานการณ์โรคติดต่อระบบทางเดินอาหารและน้ำ จังหวัดภูเก็ต

แพทย์กู้ศักดิ์ กู้เกียรติกูล นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า ด้วยขณะนี้ประเทศไทยและจังหวัดภูเก็ตเข้าสู่ฤดูฝน อากาศมีความเย็นและขึ้นทำให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของเชื้อก่อโรคหลายชนิด โดยเฉพาะโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน ที่เกิดจากเชื้อไวรัสโนโรและไวรัสโรต้า รวมถึงเชื้อแบคทีเรีย เชื้ออีโคไล ที่เกิดจากการรับประทานอาหาร น้ำดื่ม น้ำแข็งที่ไม่สะอาด ปนเปื้อนเชื้อก่อโรค ซึ่งเหมาะต่อการเจริญเติบโตของเชื้อโรค

ทั้งนี้ วันที่อังคารที่ 6 มิถุนายน 2566 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ตได้รับรายงานสถานการณ์พบผู้ป่วยโรคอุจจาระร่วงเข้ารับบริการในโรงพยาบาลภาครัฐ เฉลี่ย 50 ราย/วัน โรงพยาบาลเอกชนเฉลี่ย 100 ราย/วัน กระจายหลายกลุ่มอายุ ในหลายพื้นที่ รวมทั้งมีรายงานพบนักเรียนป่วยด้วยโรคอุจจาระร่วงกระจายในหลายโรงเรียน

โดยสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ตร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ลงพื้นที่ตรวจสอบข้อมูล
พบว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่เข้าโรงพยาบาลมีอาการ ปวดท้อง อาเจียน ท้องเสีย และบางรายมีไข้
ซึ่งพบทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ทั้งนี้ประวัติอาหารและความเชื่อมโยงยังไม่ชัดเจน และพบการกระจาย
ของโรคทั้ง 3 อำเภอ สำหรับในโรงเรียนพบนักเรียนป่วยในพื้นที่อำเภอเมือง กะทู้ และถลาง
ประวัติอาหารและความเชื่อมโยงยังไม่ชัดเจน จากสถานกรณ์ดังกล่าวสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต จึงได้ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดดำเนินการ ดังต่อไปนี้
1. แจ้งสถานบริการสาธารณสุขทั้งภาครัฐ และเอกชน ติดตามเฝ้าระวังสถานการณ์โรคติดต่อ
ทางอาหารและน้ำในพื้นที่อย่างใกล้ชิด เพื่อเตรียมการดำเนินการป้องกันควบคุมการระบาด
ของโรคฯ ในพื้นที่รับผิดชอบ
2. แจ้งสถานศึกษาในพื้นที่ ทุกระดับ ให้ดำเนินการจัดกิจกรรมการเฝ้าระวัง ป้องกันควบคุมโรคติดต่อทางอาหารและน้ำ ได้แก่ การปฏิบัติตนให้ถูกสุขอนามัย ด้วยการรับประทานอาหารปรุงสุกใหม่ สะอาด ไม่รับประทานอาหารสุกๆดิบๆ และอาหารค้างมื้อ งดทานอาหารที่ไม่ผ่านความร้อน ล้างมือให้สะอาดก่อนรับประทานอาหาร และหลังจากถ่ายอุจจาระ หรือสัมผัสสิ่งสกปรกเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรคทั้งจากตนเองไปสู่ผู้อื่น กรณีที่ป่วยให้หยุดงาน หยุดเรียน เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ ,ให้มีมาตรการคัดกรองผู้ป่วยให้หยุดเรียนจนกว่าจะหาย ,เน้นมาตรการสุขาภิบาลอาหารในโรงเรียน และเพิ่มความเข้มข้น ความถี่ ในการทำความสะอาดจุดเสี่ยงในโรงเรียนเพื่อฆ่าเชื้อ
3. ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในพื้นที่มีพฤติกรรมในการป้องกันควบคุมโรค ได้แก่ การปฏิบัติตนให้ถูกสุขอนามัย ด้วยการรับประทานอาหารปรุงสุกใหม่ สะอาด ไม่รับประทานอาหารสุกๆดิบๆและอาหารค้างมื้อ งดทานอาหารที่ไม่ผ่านความร้อน ล้างมือให้สะอาดก่อนรับประทานอาหารและหลังจากถ่ายอุจจาระ หรือสัมผัสสิ่งสกปรก เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรคทั้งจากตนเองไปสู่ผู้อื่น กรณีที่ป่วยให้หยุดงาน หยุดเรียน เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
4. ประสานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่งให้ดำเนินการ ดังต่อไปนี้
4.1 ฝ้าระวังมาตรฐานด้านสุขาภิบาลอาหารในสถานที่จำหน่ายอาหาร ประกอบด้วย
ร้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหาร ตลาดสด ตลาดนัด และอาหารริมบาทวิถี
4.2 ทำความสะอาดบริเวณพื้นที่สาธารณะ ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ เช่น คลอรีน
4.3 กำกับดูแลระบบบำบัดน้ำเสียของหน่วยงาน ในการฆ่าเชื้อด้วยคลอรืนก่อนปล่อยสู่
แหล่งน้ำสาธารณะ
4.4 ติดตาม กำกับดูแลระบบประปาของหน่วยงาน และประปาชุมชน ให้มีค่าคลอรีนอิสระคงเหลือปลายท่อ 0.5 – 1 ppm. และมีการสุ่มตรวจ เพื่อเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง
5. ประสานประปาภูมิภาคให้ดำเนินการติดกตาม กำกับดูแลระบบประปาของหน่วยงานและประปาชุมชน ให้มีค่าคลอรีนอิสระคงเหลือปลายท่อ 0.5 – 1 ppm. และมีสุ่มตรวจ เพื่อเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง
6. ประเมินและประสานสถานประกอบการที่ผลิตน้ำดื่ม และน้ำแข็ง เพื่อตรวจสอบเฝ้าระวังความปลอดภัย โดยดำเนินการตรวจสอบกระบวนการฆ่เชื้อและการควบคุมกระบวนการผลิต รวมถึงเน้นย้ำผู้ประกอบการกวดขันเกี่ยวกับสุขลักษณะที่ดีของพนักงานในกระบวนการผลิตและควบคุม ไม่ให้เกิดการปนเปื้อนในขั้นตอนการขนส่งน้ำแข็ง เพื่อลดความเสี่ยงในการปนเปื้อนเชื้อ
และ 7. ดำเนินการเฝ้าระวังเชื้อในพื้นที่โดยการเก็บตัวอย่าง น้ำ น้ำแข็ง น้ำใช้ อุจจาระ และอาเจียน
เพื่อส่งตรวจหาเชื้อก่อโรค (อยู่ระหว่างรอผล)

สำหรับการป้องกันโรคอุจจาระร่วง ขอให้ประชาชนยึดหลัก “สุก ร้อน สะอาด” โดยรับประทานอาหารปรุงสุกใหม่ด้วยความร้อน ไม่รับประทานอาหารแบบสุกๆ ดิบๆ และดื่มน้ำสะอาดที่ได้รับมาตรฐาน

สำหรับการป้องกันโรคอุจจาระร่วง ขอให้ประชาชนยึดหลัก “สุก ร้อน สะอาด” โดยรับประทานอาหารปรุงสุกใหม่ด้วยความร้อน ไม่รับประทานอาหารแบบสุกๆ ดิบๆ ดื่มน้ำสะอาดที่ได้รับมาตรฐาน หากเป็นน้ำแข็งหลอดที่บรรจุถุงควรสังเกตรายละเอียดบนฉลากให้ครบถ้วน และเครื่องหมาย อย. สำหรับอาหารค้างมื้อควรอุ่นร้อนทุกครั้งก่อนรับประทาน และล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่ ทุกครั้งก่อนปรุงหรือรับประทานอาหารและภายหลังขับถ่าย

ทั้งนี้ หากอาการอุจจาระร่วงไม่ดีขึ้น มีอาการถ่ายเป็นน้ำมากขึ้น อาเจียนบ่อย รับประทานอาหารไม่ได้ มีไข้สูง ถ่ายอุจจาระเป็นมูกปนเลือด ควรรีบไปพบแพทย์ทันที สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร. 1422 กรณีป่วยไม่สามารถไปโรงพยาบาลได้ขอความช่วยเหลือได้ที่ สายด่วน 1669

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน