ภูเก็ต กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ลงพื้นที่ร่วมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตรวจสอบธุรกิจที่เข้าข่ายนอมินีในพื้นที่ โดยเฉพาะธุรกิจเกี่ยวเนื่องการท่องเที่ยว 9 จุด และ 1 ใน 9 คือ บริษัท อีเลเฟนท์ แซงชัวรี่ พาร์ค ภูเก็ต จำกัด และเชื่อมโยงถึงธุรกิจวิลล่าที่หาดยามู
วันที่ (14 มีนาคม 2567) พ.ต.ต. ยุทธนา แพรดำ รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษรักษาราชการแทนอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษและคณะลงพื้นที่จังหวัดภูเก็ตเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงและบูรณาการทำงานกับหน่วยงานในพื้นที่กรณีการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 และกรณีการบุกรุกที่สาธารณะ ตรวจสอบการออกเอกสารสิทธิ์ในที่ดินโดยมิชอบ พื้นที่แหลมยามู จังหวัดภูเก็ตโดยเวลา 10.20 น. ได้ประชุมร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่ประกอบด้วย : คณะพนักงานสอบสวนคดีพิเศษกองคดีความมั่นคง กรมสอบสวนคดีพิเศษ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กรมการท่องเที่ยวกองบัญชาการตำรวจท่องเที่ยว และสำนักงานตำรวจตรวจคนเข้าเมือง เพื่อหารือกรณีการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 ณ ห้องประชุมสำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดภูเก็ตพ.ต.ต. ยุทธนา แพรดำ รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษรักษาราชการแทนอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ กล่าวว่า การลงพื้นที่ในครั้งนี้เพื่อติดตามการบังคับใช้กฎหมาย ว่าด้วยการประกอบธุรกิจ ของคนต่างด้าว ซึ่งเป็นปฏิบัติการตามแผนวงรอบปกติ ที่จะต้องมีการตรวจพื้นที่และตรวจธุรกิจ โดยในครั้งนี้มีเป้าหมาย 9 แห่ง โดยแบ่งปฏิบัติการเป็น 2 สาย ทั้งนี้นอกจากตรวจสอบการกระทำผิดตามกฎหมายของคนต่างด้าว จะมีการตรวจสอบ การกระทำผิดเกี่ยวกับด้านการท่องเที่ยว และมัคคุเทศก์ด้วย รวมทั้งในวันนี้จะลงพื้นที่ไปตรวจสอบ หาดยามู ซึ่งมีผู้ร้องขอให้ตรวจสอบ ในกรณีการออกเอกสารสิทธิ์ว่ามีความถูกต้อง ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ รวมถึงการตรวจสอบที่ดินของวิลล่าหรู ว่าอยู่ในพื้นที่หวงห้ามของทางราชการหรือไม่
โดยเบื้องต้นคณะได้ดูรายละเอียดจากภาพถ่ายทางอากาศ และมีการตั้งประเด็นข้อสงสัย ในประเด็นของพื้นที่ก่อนจะขอออกเอกสาร นส.3 ก มีการทำประโยชน์มาก่อนหรือไม่ โดยจากข้อมูลพบว่าที่ดินแปลงดังกล่าวมีการใช้ สค. 1 มาออก นส.3 ก เมื่อปี 2517 และในปี 2548 มีการออกเป็น นส.3 ก ทั้งนี้ทั้งนั้นในการนำ สค. 1 มาออกในปี 2517 จะต้องตรวจสอบว่า มีการทำประโยชน์หรือไม่ ให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด โดยในประเด็นนี้สิ่งที่จะพิสูจน์ยืนยันคือภาพถ่ายทางอากาศ และจะต้องให้ผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้อ่านแปล ซึ่งจากการดูด้วยตาเปล่าเพราะเป็นพื้นที่ป่าที่สมบูรณ์ ไม่เห็นร่องรอยการทำประโยชน์ ซึ่งจะต้องตั้งข้อสังเกตในประเด็นนี้ ดังนั้นเมื่อได้รับการยืนยันจากผู้เชี่ยวชาญ จึงจะดำเนินการขอสอบ พื้นที่ข้างเคียงในประเด็นที่มาที่ไปของพื้นที่สำหรับการลงพื้นที่หาดยามู จะดูภาพรวมทั้งหมดและพื้นที่ข้างเคียง และในประเด็นการติดตามการตรวจสอบปางช้างของชาวสวิส ฯพบว่าในเอกสารมีการถือครองหุ้น ในสัดส่วนที่ถูกต้องตามกฎหมาย คือชาวต่างชาติถือหุ้นไม่เกิน 49% และคนไทยไม่เกิน 51% ทั้งนี้ในส่วนของคนไทยที่ถือหุ้นจะต้องมีการพิสูจน์ว่า เป็นการถือหุ้นแทนหรือเป็นนอมินีหรือไม่ โดยจะต้องดูในเรื่องเอกสารการเงิน และประเด็นอื่น ๆ ประกอบกันเพื่อชี้ชัดว่า การประกอบธุรกิจนี้ เป็นการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวที่ใช้คนไทยมาเป็นนอมินีหรือไม่ เนื่องจากธุรกิจดังกล่าวเป็นธุรกิจที่หวงห้ามสำหรับคนไทย โดยปัจจุบันพบว่ามีชาวต่างชาติเข้ามาประกอบธุรกิจมากมาย ทำให้มูลค่าสินค้าและบริการมีมูลค่าสูงขึ้น ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบกับคนไทยได้ ซึ่งเป็นหน้าที่ของ DSI ตามกฎหมายว่าด้วยการสอบสวนคดีพิเศษ
ข่าวน่าสนใจ:
- ตำรวจบุรีรัมย์ จับเครือข่ายยาเสพติดรายใหญ่ ยึดยาบ้า 82,165 เม็ด พร้อมทรัพย์สินกว่า 7.5 แสนบาท
- มหกรรมสุดยิ่งใหญ่ส่งท้ายปี จ.ขอนแก่น งานเทศกาล “ปลาร้า หมอลำ ISAN to the World‘24” วันที่ 26-29 ธ.ค. 67 ณ ลานศรีจันทร์ อาคารขอนแก่น…
- DSI จชต.ให้การต้อนรับและเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในระดับภูมิภาคกับเจ้าหน้าที่ระดับสูงแห่งรัฐเปรัค สหพันธรัฐมาเลเซีย
- บุกทลายรังเว็บพนันเกาหลี!!
ในส่วนของความเชื่อมโยงของปางช้างและมูลนิธิฯ ของชาวสวิสฯ ที่มีการจดทะเบียน ซึ่งเจ้าหน้าที่จะต้องไปดู ในส่วนของมูลนิธิ ที่ต้องจดทะเบียนโดยไม่แสวงหากำไรและตรวจสอบการประกอบธุรกิจปางช้างว่าดำเนินการทำอะไร ซึ่งจะมีหลายหน่วยงานทั้งกรมการท่องเที่ยว ตำรวจท่องเที่ยว และหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องซึ่งจะมีการถือกฎหมายของตนเองเข้าไปตรวจสอบร่วมกันและที่ผ่านมา DSI ได้ลงมาตรวจพื้นที่อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในการประกอบธุรกิจที่มีการจดทะเบียนตั้งแต่ 50 ล้านขึ้นไป โดยหากทุนจดทะเบียนไม่ถึง 50 ล้านจะเป็นหน้าที่ของ พนักงานสอบสวนท้องที่”
ด้านนายทวีวัฒน์ สุรสิทธิ์ ผู้อำนวยการ กองคดีความมั่นคง กล่าวว่า”สำหรับการ ปูพรมพื้นที่เป้าหมาย 9 แห่งในขั้นต้นจะดูข้อมูลจากเอกสารและทางกายภาพ โดยให้นายทะเบียนธุรกิจท่องเที่ยวพิจารณาร่วมกับ DSI สำหรับการสอบสวนเชิงลึกว่าจะเข้าข่ายการกระทำความผิด การประกอบธุรกิจต่างด้าวหรือไม่อย่างไร จะต้องตรวจสอบ เชิงลึกของเส้นทางการเงิน รวมถึงเรื่องอำนาจของการบริหารจัดการ ซึ่งมีข้อสังเกตเรื่องโครงสร้างการถือครองหุ้น หากพบเป็นลักษณะของคนต่างด้าว มีอำนาจในการบริหารจัดการ และเข้าในลักษณะของนอมินี DSI ก็จะดำเนินการต่อ ในการขยายผลสืบสวนสอบสวนต่อไปสำหรับภาพรวมการลงพื้นที่ 9 เป้าหมาย จะลงพื้นที่ตรวจโดยใช้กฎหมาย 2 ตัว คือในฐานะพนักงานเจ้าหน้าที่ คือตาม พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ซึ่งกรมพัฒนาธุรกิจเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ โดยดำเนินการคู่กับกฎหมายธุรกิจบริการนำเที่ยว เป็นการดำเนินการแบบคู่ขนาน โดยมีเป้าหมายหลักคือการตรวจสอบการได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวมีความถูกต้องหรือไม่ เป็นไปตามเงื่อนไขที่ได้รับอนุญาต หรือไม่ และธุรกิจนั้น มีภารกิจอื่นที่เป็นในลักษณะนอมินี หรือไม่ซึ่งเจ้าหน้าที่จะได้ ตรวจสอบในเชิงลึกและดำเนินการตามกฎหมาย
โดยภายหลังการสัมภาษณ์เสร็จสิ้น คณะได้แบ่งเป็น 2 สาย เพื่อลงพื้นที่ไปตรวจสอบตามเป้าหมายทั้ง 9 แห่ง โดยมีเป้าหมายหลักคือ แหลมยามู ตรวจสอบพื้นที่ต้องสงสัยว่ามีการบุกรุกที่สาธารณะและตรวจสอบการออกเอกสารสิทธิ์ในที่ดินโดยมิชอบและลงพื้นที่ตรวจสถานประกอบการด้านธุรกิจท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ตรวมถึง การลงพื้นที่ตรวจสอบปางช้าง ของชาวสวิสฯ ด้วย
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: