หลังศาลปกครองมีคำสั่งชี้ว่าคำสั่งม.นครพนมที่พักงาน ผศ.ดร.เพ็ญศิริ ดำรงภคภากร อดีตคณบดีวิทยาลัยพยาบาล ม.นครพนม เมื่อปี 2560 เป็นคำสั่งที่มิชอบ หลังเจ้าตัวต่อสู้เพื่อหายุติธรรมให้ตัวเองมา 2 ปี แต่หลังมีคำสั่งศาลแทนที่ทุกอย่างจะจบ แต่ผู้บริหารได้อุทธรณ์คำสั่ง
เป็นปัญหาที่หลายคนมองเห็นคำตอบตั้งแต่แรกว่า ความขัดแย้งที่เกาะกินฝังลึกใน ม.นครพนมมาต่อเนื่องยาวนานยากที่จะจบด้วยดี
กรณีของผศ.ดร.เพ็ญศิริ อดีตคณะบดีวิทยาลัยพยาบาล ม.นครพนม เป็นผลพวงผลสืบเนื่องมาจากปัญหาภายใน ที่ประทุครั้งล่าสุดเมื่อช่วงเทศกาลสงกรานต์ ปี 2560 เมื่อ รศ.ดร.ประวิต เอราวรรณ์ อธิการ ม.นครพนม ในขณะนั้น ได้ประกาศลาออก กลางงานรดน้ำดำหัว เทศกาลสงกรานต์ วันที่ 19 เม.ย. และมีผลวันที่ 2 พ.ค. 2560
ไม่มีคำอธิบาย จาก รศ.ดร.ประวิต ถึงเหตุผลที่ต้องตัดสินใจลาออก หลังจากทำหน้าที่รักษาการแทนอธิการบดีมาถึง 8 เดือนและเพิ่งได้รับการโปรดเกล้าฯ รับตำแหน่ง นั่งเป็นอธิการบดีเต็มตัวเพียงแค่ 4 เดือน
ข่าวน่าสนใจ:
- นบ.ยส.24 บูรณาการร่วมกับกลุ่มงานสุขภาพจิตและยาเสพติด สสจ.นครพนม และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ประชุมหารือตรวจพื้นที่อาคารหลังศูนย์ฟื้นฟู…
- คิดจะค้ายาฯ ขอให้..คิดถึงคุก!!
- กล้องวงจรปิดจับภาพ แม่รับลูกซ้อน 4 กลับจากโรงเรียน ชนรถ พ่วงบาดเจ็บสาหัส ลูกร้องระงม
- จ.นครพนม บูรณาการร่วมปล่อยแถวระดมกวาดล้างอาชญากรรมช่วงเทศกาลลอยกระทง 2567
แต่เสียงวิพากษ์วิจารณ์ภายในต่างก็มองว่ามาจากปัญหาการ “ล้วงลูก” ของผู้ทรงอำนาจบางคนจนอธิการบดีทนไม่ไหว
เมื่อการบดีลาออกซึ่งสาเหตุหลักของความขัดแย้งครั้งนี้ หนีไม่พ้นเรื่องผลประโยชน์ในมหาวิทยาลัย ที่มีเรื่องไม่ชอบมาพากลมาต่อเนื่อง ทั้ง สตง., ป.ป.ช.ตรวจสอบความผิดปกติใน ม.นครพนมในหลายกรณี
อาจารย์ นักศึกษา บุคลากรในมหาวิทยาลัย และประชาชนในท้องที่ โดยการชุมนุมในสิ่งที่เรียกว่า เป็นการนัดรวมตัวเพื่อปกป้องม.นครพนม เพื่อคัดค้านการลาออกของอธิการบดี และเรียกร้องให้มีการตรวจสอบการทำงานของ รศ.ดร.ภาวิช ทองโรจน์ นายกสภา ม.นครพนม ที่นั่งในตำแหน่งนี้ มาตั้งแต่ปี 2553 ว่ามีการใช้อำนาจหน้าที่ก้าวล่วงการบริหารงานของมหาวิทยาลัยหรือไม่
นายสมชาย วิทย์ดำรงค์ ผวจ.นครพนม ซึ่งนั่งเป็นกรรมการสภาอยู่ด้วย ได้ลาออกจากตำแหน่งเป็นคนแรก หลังจากนั้นกรรมการสภาคนอื่น รวมทั้งผู้คณะกรรมการสรรหา ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ก็ทยอยลาออกจากกรรมการสภาฯ รวม 7 คน จากกรรมการทั้งหมด 23 คน
เมื่อผลกระทบเกิดเป็นวงกว้าง ผศ.ดร.เพ็ญศิริ ตกเป็นเป้าว่าเป็นแกนนำในการประท้วง และตามมาด้วยการตั้งคณะกรรมการสอบวินัยขั้นร้ายแรง 5 คำสั่ง พร้อมทั้งสั่งพักราชการ เงินเดือนก็ไม่ได้รับต้องดิ้นรนต่อสู้พึ่งศาลเพื่อขอความยุติธรรม
กรรมการสภาฯ ที่เหลือ 16 คน โดยมี รศ.ดร.ภาวิช เป็นประธาน ก็เดินหน้าจัดการประชุม ตั้งผศ.ดร.จินดา งามสุทธิ อุปนายกสภาฯ รักษาการอธิการบดีขัดตาทัพ และตั้ง นพ.วุฒิชัย ธนาพงศธร เป็นประธานคณะกรรมการสรรหาอธิการบดี
ท่ามกลางความวุ่นวายไม่จางหาย การสรรหาอธิการบดีถูกลากช้าออก สุดท้ายได้ ดร.พัฒนพงษ์ วันจันทึก เป็นอธิการบดีเมื่อ 11 มี.ค.2561 แต่จนขณะนี้ ผ่านไป 15 เดือน สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ยังไม่มีการเสนอขอพระราชทานโปรดเกล้าฯ โดยไม่ทราบสาเหตุ
ส่องความผิดปกติในม.นครพนม ผ่านการแต่งตั้งผู้บริหาร โดยเฉพาะตำแหน่งอธิการบดีจะพบกับเรื่องประหลาด ที่เมื่อดูรายชื่ออธิการบดี หลังการก่อตั้ง ตามพ.ร.บ. ปี 2548 และมีอธิการบดีคนแรกเมื่อปี 2550 มีอธิการบดีตัวจริงเพียง 2 คน คือ รศ.สุวิทย์ เลาหศิริวงศ์ ที่นั่งในตำแหน่ง 2 สมัย และ รศ.ดร.ประวิต เอราวรรณ์ ที่นั่งในตำแหน่งเพียง 4 เดือนแล้วลาออก นอกนั้นเป็นรักษาการทั้งหมด
นี่ย่อมสะท้อนภาพความขัดแย้ง และการไม่ลงตัวในการบริหารองค์กรที่ชัดเจน
รายชื่ออธิการบดี ม.นครพนม
1.รศ.สุวิทย์ เลาหศิริวงศ์ 27 ส.ค.2550-17 พ.ย.2554 ,18 พ.ย.2554-17 พ.ย.2558 (วาระ 2)
2.ผศ. ดร.ทัศนา ประสานศรี 22 ส.ค.2557-16 ธ.ค.2557 (รักษาราชการแทน)
3.ดร.ไพฑูรย์ พลสนะ 16 ธ.ค.2557- 12 พ.ย.2558 (รักษาราชการแทน)
4.ดร.พรหมสวัสดิ์ ทิพย์คงคา 12 พ.ย.2558 – 1 พ.ค.2559 (รักษาราชการแทน)
5.รศ.ดร.ประวิต เอราวรรณ์ 1 พ.ค.2559 – 7 ม.ค.2560 (รักษาราชการแทน), 8 ม.ค.2560-1 พ.ค.2560
6. ผศ.ดร.จินดา งามสุทธิ 2 พ.ค.2560 – 15 พ.ค.2560 (รักษาราชการแทน)
7. ผศ.ดร.สังคม ภูมิพันธุ์ 15 พ.ค.2560 – 11 มี.ค.2561 (รักษาราชการแทน)
8. ดร.พัฒนพงษ์ วันจันทึก 11 มี.ค.2561- ปัจจุบัน (รักษาราชการแทน)
หลายคนพูดถึง “โบรกเกอร์”ที่คอยหาผลประโยชน์ใน ม.นครพนม มหาวิทยาลัยที่มีอัตลักษณ์แตกต่างจากมหาวิทยาลัยอื่น ๆ ที่เริ่มก่อตั้งจากการควบรวม 6 วิทยาลัยในท้องที่มารวมตั้งเป็นมหาวิทยาลัย
ปัญหาที่หมักหมมต่อเนื่องล้วนมาจากผลประโยชน์ที่ฟ้องร้องกันจนคดีล้นศาล สะท้อนภาพชัดเจนจาก 12 ปี ที่แทบไม่มีอธิการบดีตัวจริงบริหารงาน
วิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยที่ว่า “เป็นมหาวิทยาลัยแห่งการสร้างสรรค์สังคมพหุวัฒนธรรมชั้นนำแห่งอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงตอนกลาง” จะไปถึงจุดนั้นได้อย่างไร หากภายในยังมีแต่เรื่องวุ่นวายไม่จบไม่สิ้น
ใครเป็นตัวปัญหา ใครทำตัวเป็น “โบรกเกอร์” จน 12 ปี ที่ทำให้ ม.นครพนม ตกอยู่ในแดนสนธยา ควรจะคิดถึงส่วนรวมได้แล้ว.
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: