เสนอนายกฯขอมติครม.เปิดให้ชาวเชียงใหม่ลงประชามติ “รื้อ-ไม่รื้อ”บ้านพักตุลาการเชิงดอยสุเทพ เพื่อหาทางลงกับทุกฝ่ายไม่ให้เสียหน้า ฝ่ายคัดค้านรับลูกแต่ประเด็นการลงประชามติต้องชัดเจน และต้องดำเนินการให้เร็ว ชี้หากถึงมิ.ย.61 ที่จะมีการส่งมอบงานก่อสร้างปัญหาเผชิญหน้าจะยิ่งรุนแรง กระแสความเกลียดชังจะขยายวงมากขึ้น
วันนี้(1 พ.ค.2561) นายศรีสุวรรณ จรรยา นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน ออกแถลงการณ์แก้ไขปัญหาบ้านพักศาลเชียงใหม่ โดยเสนอให้นายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ใช้อำนาจโดยหาทางออกกรณีดังกล่าวโดยการเปิดใช้ประชาชนชาวเชียงใหม่ลงประชามติ โดยให้เหตุผลว่า จากท่าทีของนายกรัฐมนตรีที่ให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชนล่าสุดว่า “กรณีปัญหาบ้านพักตุลาการที่จังหวัดเชียงใหม่ แม้ยอมรับว่ากฎหมายไม่ผิด แต่ความรู้สึกของคนในพื้นที่ เป็นเรื่องของป่าในมุมมองของประชาชน แล้วรัฐบาลจะทำอย่างไร ขอความกรุณาช่วยกันคิดด้วย” เป็นท่าทีในลักษณะหมดหนทางในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งเกี่ยวกับบ้านพักและที่ทำการศาลอุทธรณ์ ภาค 5 ที่เชิงดอยสุเทพ ต.ดอนแก้ว อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่
ข่าวน่าสนใจ:
- หมดวาระอบจ.ตรัง รุ่งขึ้น “บุ่นเล้ง” เปิดตัวทันควัน ใช้ชื่อ “ทีมนายกบุ่นเล้ง” แทน “ทีมกิจปวงชน” ชูนโยบาย “รวมพลังที่ยิ่งใหญ่ ขับเคลื่อนตรังให้เป็น 1”
- นนทบุรี ศพชายปริศนาลอยอืดกลางคลองย่านไทรน้อย จนท.พบลักษณะคล้ายบาดแผลฉีกขาดที่แขนและใบหูขาด
- ตรัง ผู้ตรวจฯกระทรวงพาณิชย์ ลงตรังเยี่ยมแปลงปลูกพริกไทยตรัง-สุราชุมชน ผู้ผลิตต่อยอดสินค้า GI "พริกไทยตรังพันธุ์ปะเหลียน สู่มาตรฐาน EU organic…
- รวบสาวใหญ่ซิ่งมอไซค์ขนยาบ้า 516,000 เม็ด
สมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน เห็นว่ากรณีนี้ ปัญหาที่เกิดขึ้นมาจากการใช้อำนาจรัฐโดยอ้างข้อกฎหมาย และเรื่องนี้ก็ควรจบด้วยมาตรการทางกฎหมายที่มีรองรับอยู่แล้ว และจะไม่มีใครต้องเสียหน้าด้วย โดยการเปิดโอกาสให้คนเชียงใหม่ทั้งจังหวัดใช้กฎหมาย “ประชามติ” เพื่อ “ทุบทิ้ง” หรือ “คงสภาพ” โดยนายกรัฐมนตรีนำเรื่องดังกล่าวขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีเพื่อดำเนินการตามมาตรา 166 ประกอบมาตรา 244(1)(2)(3) ของรัฐธรรมนูญ 2560 บัญญัติไว้ความว่า “ในกรณีที่มีเหตุอันสมควร คณะรัฐมนตรีจะขอให้มีการออกเสียงประชามติ ในเรื่องใดอันมิใช่เรื่องที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือเรื่องที่เกี่ยวกับตัวบุคคลหรือคณะบุคคลใดก็ได้ ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ” โดยเป็นหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ในการดำเนินการออกประกาศและจัดการออกเสียงประชามติดังกล่าวได้ภายในระยะเวลาที่รวดเร็วภายในระยะเวลา 90-120 วัน โดยใช้กฎหมายเทียบเคียงกับ“พรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ.2552”
ผลของประชามติที่ออกมาจะเป็นการสะท้อนความเห็นหรือความต้องการของคนเชียงใหม่ที่แท้จริง ซึ่งนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีสามารถใช้เป็นข้ออ้างในการใช้อำนาจในการ “ทุบทิ้ง” หรือ “คงสภาพ” ของบ้านพักและที่ทำการศาลอุทธรณ์ ภาค 5 เชียงใหม่ในพื้นที่เชิงดอยสุเทพได้ต่อไปหรือไม่ และถือว่ามติดังกล่าวจะเป็นข้อยุติทั้งทางกฎหมาย และทางปกครองในกรณีขัดแย้งดังกล่าวได้เป็นที่ยุติได้ดีที่สุดในขณะนี้
ทนง ทองภูเบศร์ นักวิชาการอิสระ ผู้เริ่มแคมเปญ Change.org ทวงคืนผืนป่าดอยสุเทพ ให้ความเห็นกับข้อเสนอของนายศรีสุวรรณว่า ข้อเสนอที่จะใช้วิธีการเปิดลงประชามติเป็นอีกวิธีการหนึ่งที่จะหาความชอบธรรมในการรื้อ หรือไม่รื้อเพราะที่ผ่านมาทุกฝ่ายโดยเฉพาะภาครัฐลังเล ไม่มั่นใจว่าหากดำเนินการไปกลัวจะผิดกฎหมาย โดยเฉพาะท่าทีของศาลที่โยนการตัดสินใจให้ฝ่ายบริหารดำเนินการ แต่ก็มีข้อแม้พ่วงมาด้วยว่า”ให้ดำเนินการโดยถูกต้องตามกฎหมาย” ก็ยิ่งทำให้ฝ่ายบริหารลังเลที่จะดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง
ทนง ระบุว่าหากทางออกของเรื่องนี้โดยการลงประชามติก็ต้องชัดเจนว่าประเด็นที่จะใช้ในการให้ประชาชนลงประชามติคืออะไร เพราะเรื่องนี้ยังมองคนละมุมระหว่างฝ่ายประชาชนกับภาครัฐ โดยภาครัฐพยายามดึงเป็นประเด็นการดำเนินการตามระเบียบพัสดุ แต่ภาคประชาชนมองว่าเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อม หากลงประชามติโดยที่ประเด็นไม่ชัดเจนก็ยากที่จะจบ
“โชคดีที่เรื่องนี้เป็นเรื่องสิ่งแวดล้อม แม้บางคนจะพยายามโยงไปเป็นเรื่องการเมืองแต่คนในพื้นที่ตอนนี้เขารับรู้หมดแล้ว จากคนที่เคยสงสัย ลังเลกับการเคลื่อนไหว กลับเป็นผู้ที่ให้คำอธิบายกับคนอื่นได้ชัดเจนกับเรื่องที่มีการเคลื่อนไหวเพื่อให้รื้อบ้านพักตุลาการที่เชิงดอย ในภาคประชาชนไม่น่าห่วงแล้วถือว่าจุดติด ไม่ว่าจะเป็นสีใดทางการเมืองทุกคนเก็บไว้ในใจหมด มีสีเดียวคือสีเขียว”
ทนง บอกว่าภาครัฐต้องดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งโดยเร่งด่วน ไม่ใช่ปล่อยปัญหาซื้อเวลาไปวันๆ เพราะหากในเดือนมิ.ย.นี้มีการรับมอบงานการก่อสร้างจากผู้รับเหมาแล้ว ปัญหาแทรกซ้อนจะตามมามากมาย เช่นหากมีผู้เข้าไปพักอาศัยในบ้านพักขณะที่ประชาชนยังคัดค้าน ก็ยังไม่รับประกันว่าจะเกิดอะไรขึ้นเพราะที่ผ่านมาเป็นการเผชิญหน้ากันแล้ว และในกลุ่มที่เคลื่อนไหวคัดค้านก็มีหลากหลาย บางส่วนก็มีแนวคิดแบบฮาร์ดคอร์ หากมีคนเข้าไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่ที่มีข้อขัดแย้งก็จะยิ่งเผชิญหน้ากันมากขึ้น
“ผมไม่อยากให้เกิดกระแสความเกลียดชังมันขยายวงออกไป หากเรื่องนี้เป็นเรื่องการเมือง กับนักการเมืองก็ถือว่าเป็นเรื่องพอรับได้ แต่นี่เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นระหว่างประชาชนกับตุลาการถ้าไม่หาทางออกโดยเร็วกระแสการเกลียดชังลุกลามมากขึ้น เป็นเรื่องที่ไม่เป็นผลดีเลย” ทนง กล่าว
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: