เปลี่ยนขยะริมหาด ให้มีมูลค่า ม.อ.ตรัง ออกแบบผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ (Upcycle) มอบให้โรงเรียนมัธยมวัดควนวิเศษมูลนิธิ เปลี่ยนขยะไร้ค่าจากชายหาดให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์สีเขียวที่มีมูลค่าที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้จริงตรงตามความต้องการ อีกทั้งยังช่วยกระตุ้นให้เกิดการอนุรักษ์ธรรมชาติ
เปลี่ยนขยะริมหาด ให้มีมูลค่า วันนี้ 22 พฤศจิกายน 2562 เวลา 10.00 น. อาจารย์วรวุฒิ มัธยันต์ อาจารย์กรสวรรค์ชนก ตั้งปอง อาจารย์สุภารัตน์ พิลางาม อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ พร้อมด้วย ดร.ปิยะนุช ปรีชานนท์ ดร. Tao Lu อาจารย์กมลชนก เซ่งสวัสดิ์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาการจัดการธุรกิจ คณะพาณิชยศาสตร์และการจัดการ และกลุ่มนักศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง ร่วมมอบผลงานการออกแบบผลิตภัณฑ์สีเขียวจากวัสดุเหลือใช้ (Upcycle) ให้กับโรงเรียนมัธยมวัดควนวิเศษมูลนิธิ โดยมี ดร.สัญญา ศรีวิเชียร ผู้จัดการโรงเรียน เป็นตัวแทนรับมอบ
อาจารย์วรวุฒิ ในฐานะประธานโครงการ กล่าวว่า โครงการบริการวิชาการการออกแบบผลิตภัณฑ์สีเขียว (Green Product) เพื่อการพัฒนาด้านการตลาด บริการและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน ครั้งที่ 1 มีแนวคิดให้นักศึกษาร่วมกันออกแบบผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ผ่านกระบวนการ Upcycle เพื่อให้ตอบสนองการใช้งานในแต่ละประเภทโดยใช้ศาสตร์ด้านการตลาดวิเคราะห์ความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย
ผสมผสานแนวทางการออกแบบทางสถาปัตยกรรมเพื่อเพิ่มคุณค่าของผลิตภัณฑ์ที่ยังคงความสวยงามควบคู่กับไอเดียที่สร้างสรรค์ โดยให้กลุ่มนักศึกษาลงพื้นที่บริเวณชายหาดราชมงคล อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง เพื่อร่วมกันเก็บขยะบริเวณชายหาดร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ในวันทำความสะอาดโลก (World Cleanup Day) ซึ่งตรงกับวันที่ 21 กันยายนที่ผ่านมา นำขยะที่เก็บได้จากชายหาด มาผ่านกระบวนการออกแบบสร้างสรรค์เพื่อเพิ่มมูลค่าให้เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ (Upcycle) ที่สามารถใช้งานได้หลายหลายรูปแบบ
อาจารย์วรวุฒิกล่าวเพิ่มเติมว่า หัวใจหลักของการทำงานในครั้งนี้ นอกจากจะต้องการให้นักศึกษาต่างสาขาได้มีการบูรณาการการเรียนการสอน (Integrate Curriculum) แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่างศาสตร์การตลาดและสถาปัตยกรรมแล้ว ยังต้องการจุดประกายความคิดสร้างสรรค์ สร้างแรงบันดาลใจให้กับนักเรียนโรงเรียนมัธยมวัดควนวิเศษมูลนิธิที่เป็นเยาวชนของสังคมในการสร้างวัฒนธรรมการนำกลับมาใช้ใหม่
ข่าวน่าสนใจ:
ผ่านกระบวนการ Upcycle ดังเช่นการเปลี่ยนขยะไร้ค่าจากชายหาดให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์สีเขียวที่มีมูลค่าที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้จริงตรงตามความต้องการ อีกทั้งยังช่วยกระตุ้นให้เกิดการอนุรักษ์ธรรมชาติ สงวนรักษาสภาพแวดล้อมทั้งในปัจจุบันและอนาคตให้คงอยู่ได้อย่างยั่งยืน.
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: