ตรัง ปั่น World Ocean Day 2018 รวมนักปั่นจากทั่วประเทศกว่า 900 คน ร่วมปั่นปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ เต่าตนุ จำนวน 20 ตัว พันธุ์ปูม้า จำนวน 3 ล้านตัวรณรงค์อนุรักษ์ทะเลไทย อันดามันก้าวไกล จากทรัพยากรไทย สู่ทรัพยากรโลก
9 มิถุนายน 2561 ภายในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง ต.ไม้ฝาด อ.ปะเหลียน จ.ตรัง นายศิริพัฒ พัฒกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง นายวสันต์ ถนอมทรัพย์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง นายกันจพงศ์ อนุรัตนพานิช ผู้อำนวยการสถาบันมหาสมุทรระหว่างประเทศ ดร.พิทักษ์พงษ์ ชัยคช ประธานชมรมกีฬาจักรยานจังหวัดตรัง ร่วมกิจกรรมเนื่องในวันมหาสมุทรโลก พ.ศ.2561 (World Ocean Day 2018)ที่ทางจังหวัดตรัง ได้รับเกียรติจัดขึ้น ระหว่างวันที่ 7-9 มิถุนายน 2561 โดยมีนักปั่นจักรยานจากทั่วประเทศร่วมกิจกรรมกว่า 900 คน ร่วมปั่นระยะทาง 41 กม.พร้อมทั้งร่วมกิจกรรมปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ เต่าตนุ จำนวน 20 ตัว พันธุ์ปูม้า จำนวน 3 ล้านตัวอีกด้วย เพิ่มจำนวนประชากรสัตว์ให้เพิ่มมากขึ้น รวมทั้งการเก็บขยะเพื่อทำความสะอาดท้องทะเลให้สวยงาม ซึ่งแสดงให้เห็นว่าชาวตรังสำนึกในบุญคุณของมหาสมุทรและทะเลที่ทำให้เรามีคุณภาพชีวิตที่ดีและยั่งยืนมาจนถึงวันนี้ ณ หาดคลองสน อ.สิเกา อีกด้วย โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมกว่า 1,000 คน
ด้านนายศิริพัฒ พัฒกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง กล่าวว่า กิจกรรมเนื่องในวันมหาสมุทรโลก พ.ศ.2561 (World Ocean Day 2018) ระหว่างวันที่ 7-9 มิถุนายน 2561ภายใต้สโลแกน “Clean Our Oceans” หรือ “ทะเลดี ชีวีมีสุข” และวันนี้เป็นการปั่นจักรยานมากันหลายร้อยคนเพื่อให้คนไทยและคนทั่วโลกได้รับรู้ว่า ที่จังหวัดตรังใช้ท้องทะเลเป็นแหล่งทำกิน ณ วันหนึ่งที่องค์การสหประชาชาติกำหนดให้เป็นวันมหาสมุทรโลก จังหวัดตรังมีการรณรงค์กันอย่างจริงจัง
ผมขอยืนยันว่าที่จังหวัดทำนั้นแม้จะเป็นเชิงสัญลักษณ์ก็จริงแต่หมายความว่าทางจังหวัดพร้อมและมีความตั้งใจร่วมกันว่าเราจะอนุรักษ์ท้องทะเล ให้เราได้ใช้ทรัพยากรทางทะเลอย่างอุดมบูรณ์และมีการสุข ระยะทางปั่นในวันนี้ผ่านเส้นทางทะเล ระยะทาง 41 กม.และมีการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ กิจกรรมนี้จะทำให้คนทั่วโลกได้เห็นว่าจังหวัดตรัง มีทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลที่อุดมสมบูรณ์ มีชายหาดที่งดงาม มีป่าไม้ ป่าชายเลน ที่ยังสมบูรณ์เต็มที่ครบวงจร
นายศิริพัฒ กล่าวทิ้งท้ายว่า หลังจากนี้ทางจังหวัดจะมีกิจกรรมต่อยอดการอนุรักษ์ทะเล ด้วยการณรงค์ประชาสัมพันธ์ไม่ให้มีการทิ้งขยะ ของเสียลงในท้องทะเล ต้องช่วยกันระงับตั้งแต่ในครัวเรือน ไม่ใช่เฉพาะประชาชนที่อาศัยอยู่ริมน้ำ แต่รวมถึงคนที่อาศัยบนฝั่ง ไม่มุ่งเน้นไปที่นักท่องเที่ยว แต่อย่าลืมว่าปัจจัยหลักอยู่ที่ขยะครัวเรือน ที่สำคัญคือจะต้องใช้วัสดุที่ไม่เป็นพิษต่อทะเล และสัตว์น้ำทางทะเล ไม่อปลากินเข้าไปแล้วจะเจ็บป่วยล้มตาย เช่นเหตุวาฬกินถึงพลาสติกแล้วมาตาย ต้องแก้ไข
ข่าวน่าสนใจ:
- ผู้ว่าตรังสั่งซ่อมด่วนหลังคาท่าเรือปากเมง หวั่นอันตรายนทท. กระทบภาพลักษณ์จว. ลั่นพร้อมออกเงินส่วนตัว 2.3 หมื่นค่าวัสดุ…
- สมาคมกอล์ฟสมุย สนับสนุนอุปกรณ์การทำงานให้ตำรวจ
- วธ.จัด“ลอยกระทงวิถีไทย ปลอดภัย ใส่ใจสิ่งแวดล้อม” น้อง“หมูเด้ง” Thai Cuteness ร่วมสร้างสีสัน
- อนุบาลเชียงราย จัดกิจกรรม “ร่วมมือร่วมใจ ดวงตานาตาชา”
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: