จัดงานงาน จังหวัดตรัง จัดประชุมผู้ประกอบการและแรงงานต่างด้าว แนวทางการบริหารจัดการการทำงานของแรงงานต่างด้าว กิจการประมงทะเล ทั้งนี้ปัญหาที่ไม่ไมใช่ปัญหาการค้ามนุษย์แต่เป็นปัญหาแรงงานย้ายประเภทการทำงานจากทะเลขึ้นสู่ฝั่ง ทำให้เกิดปัญหาแรงงานทางทะเลขาดแคลน
จัดงานงาน วันนี้ (11/12/62) ที่โรงแรมวัฒนา พาร์ค อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง นายวศิน กลั่นจิตร จัดหางานจังหวัดตรัง เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุม เรื่อง แนวทางการบริหาร จัดการการทำงานของแรงงานต่างด้าว กิจการประมงทะเลปัจุบัน จังหวัดตรังมีแรงงานต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้ทำงาน จำนวน ๑๐,๕๔๒ คน เป็นแรงงานสัญชาติเมียนมา 8,350 คน สัญชาติลาว 1,213 คนและสัญชาติกัมพูชา 979 คน มีนายจ้างทั้งหมด 1,023 ราย
ในจำนวนนี้มีแรงงานต่างด้าวที่ทำงานในเรือประมง จำนวน 626 คน เป็นแรงงานสัญชาติเมียนมา 461คน สัญชาติลาว 2 คน และสัญชาติกัมพูชา 163 คน มีนายจ้าง จำนวน 71 ราย ที่ผ่านมาปัญหาการค้ามนุษย์ในเรือประมงมักจะถูกหยิบยกขึ้นมาเป็น ประเด็น ที่หลายหน่วยงานให้ความสำคัญ โดยเฉพาะแรงงานประมงข้ามชาติจากประเทศเพื่อนบ้าน เช่น เมียนมา ลาว และกัมพูชา มักตกเป็นเหยื่อค้ามนุษย์เพื่อเป็นแรงงานภาคประมง
แรงงานเหล่านี้ จะถูกลิดรอนสิทธิเสรีภาพ ไม่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายแรงงาน จนทำให้ประเทศไทย ถูกประเทศสหรัฐอมริกาจัดลำดับการค้ามนุษย์ให้อยู่ในอันดับ Tier ๒ Watch List หรือเป็นประเทศ ที่ต้องเฝ้าจับตา ต่อมารัฐบาลภายใต้การนำของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีได้ให้ ความสำคัญและถือเป็นวาระแห่งชาติที่ทุกหน่วยงานต้องร่วมกันแก้ไขปัญหาดังกล่าว
โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ในรูปแบบแรงงานประมง ซึ่งปัจจุบันปัญหาการค้ามนุษย์ได้รับการแก้ไขให้อยู่ในระดับเป็นที่พอใจ จนประเทศสหรัฐอเมริกาได้ปรับอันดับการเฝ้าระวังจากระดับ Tier ๒ watch list ขึ้นมาเป็น Tier ๒ แต่อย่างไรก็ตามปัญหาการค้ามนุษย์ในเรือประมงยังคงต้องให้ ความสำคัญในการร่วมกันฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง และป้องกันมิให้เกิดขึ้นในพื้นที่ของจังหวัดตรัง
ทั้งนี้จะต้องได้รับความร่วมมือร่วมกันทั้งภาครัฐและเอกชน สำนักงานจัดหางานจังหวัดตรัง ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่พิจารณาออกใบอนุญาต ทำงานและควบคุมจัดระเบียบแรงงานต่างด้าวให้อยู่ในระบบ ได้ตระหนักถึงปัญหาเหล่านี้เป็นอย่างดี จึงได้จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้กับนายจ้าง เจ้าของสถานประกอบการและลูกจ้างในกิจการ เรือประมงทะเลขึ้น
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้ ความเข้าใจในข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น การใช้เครื่องมือประมงที่ถูกต้องตามกฎหมาย ความรู้เกี่ยวกับพระราชกำหนดการบริการจัดการการ และพบว่าปัญหาในขณะนี้ไม่ใช่ปัญหาการค้ามนุษย์แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้ มาจากปัญหาแรงงานทางประมงขอย้ายจากการทำประมงมาทำงานมากขึ้น จึงทำให้เกิดปัญหาการขาดแคลนแรงงานด้านประมง
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: