สุดยอดนวัตกรรม อาชีวศึกษาการประกวดสิ่งประดิษฐ์ของคนรุ่นใหม่ครั้งที่ 31 ระดับภาคใต้ อาชีวะศึกษาเน้นเรียนรู้วิชาชีพเพื่อสร้างอาชีพด้วยตัวเอง นักศึกษาเรียนจบแล้วว่างงานมากขึ้น ขณะที่รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวะศึกษา ยันนักศึกษาที่จบอาชีวะในปัจจุบันไม่ตกงานแน่นอน แม้สถานการณ์เศรษฐกิจในประเทศมีการเลิกจ้างแรงงานมากขึ้นก็ตาม
สุดยอดนวัตกรรม เวลา 13.30 น. วันที่ 8 มกราคม 2563 ณ วิทยาลัยเทคนิคตรัง จ.ตรัง ดร.พีรพล พูลทวี รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวะศึกษาประธานเปิดงาน นายขจรศักดิ์ เจริญโสภา รองผู้ว่าราชการจังหวัดตรังกล่าวให้การต้อนรับ นายสายัณห์ แสงสุริยันต์ ผู้อำนวยการวิทยาลัยสารพัดช่างนครศรีธรรมราช ดร.ปรีดี เกตุทอง ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคตรัง
ร่วมเปิดงานสุดยอดนวัตกรรมอาชีวศึกษา การประกวดสิ่งประดิษฐ์ของคนรุ่นใหม่ ครั้งที่ 31 ระดับภาคใต้ และการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์สมาคมวิทยาศาสตร์ฯ-อาชีวศึกษา-เอสโซ่ ครั้งที่ 30 ประจำปีการศึกษา 2562 ระหว่างวันที่ 7-30 มกราคม 2563
ซึ่งมีสถานศึกษาในสังกัดอาชีวศึกษาภาคใต้ที่เข้าร่วมจำนวน 70 แห่ง มีนักเรียน นักศึกษา จำนวน 1,620 คน จาก 14 จังหวัดภาคใต้ นำสิ่งประดิษฐ์เข้าประกวด จำนวน 296 ผลงาน และการประกวดองค์ความรู้ การน้ำเสนอผลงานวิจัยนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์ของคนรุ่นใหม่ ภาคภาษาอังกฤษ จำนวน 30 ผลงาน รวมทั้งหมด 326 ผลงาน
และการประกวดโครงการวิทยาศาสตร์สมาคมวิทยาศาสตร์ฯ-อาชีวศึกษา-เอสโซ่ มีสถานศึกษาในสังกัดอาชีวศึกษาภาคใต้ที่เข้าร่วม มีนักเรียน-นักศึกษา จำนวน 258 คน ผลงานในระดับ ปวช. จำนวน 40 ผลงาน จาก 35 สถานศึกษาและระดับ ปวส. จำนวน 41 ผลงาน จาก 38 สถานศึกษา
ทั้งนี้สิ่งประดิษฐ์ที่จัดการประกวดแบ่งออกเป็น 9 ประเภท คือ -ด้านพัฒนาคุณภาพชีวิต ได้แก่ ชุดปรับปรุงคุณภาพน้ำด้วยไฟฟ้า ไม้เท้าค้ำยันยืดหยุ่นฯลฯ – ด้านเพื่อการประกอบอาชีพ ได้แก่ เครื่องย่างข้าวเหนียวสามเหลี่ยม เครื่องหยอดเมล็ดผักในถาดไฮโดรโปนิกส์ ฯลฯ – การอนุรักษ์พลังงาน ได้แก่ โคมไฟพลังน้ำเค็ม แสงอาทิตย์บำบัดน้ำฯลฯ –ผลิตภัณฑ์อาหาร ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ผักแผ่น 4D ตะลิงปลิงอบแห้งสามรส ฯลฯ
ด้านหัตถศิลป์ ได้แก่ การพัฒนาลวดลายฉลุหนังตะลุงสู่เครื่องประกอบการแต่งกายร่วมสมัย กระเป๋าไทยดัดแปลง ฯลฯ – นวัตกรรมซอฟแวร์และระบบสมองกลฝังตัว ได้แก่ ระบบจัดการร้านค้าออนไลน์ อุปกรณ์ตรวจวัดฝุ่น PM 2.5 ฯลฯ – ด้านการแพทย์หรือบรรเทาสาธารณภัย ได้แก่ เครื่องกระตุ้นกล้ามเนื้อด้วยกระแสไฟฟ้า ตู้กำจัดไรฝุ่น ฯลฯ
ด้านเทคโนโลยีชีวภาพ ได้แก่ ครีมขัดรองเท้าผงถ่านไปโอชาร์จากเปลือกมังคุด โอเอซีสจากกากกาแฟ ฯลฯ – ประเภทกำหนดโจทย์ ชุดควบคุมด้านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเพื่อชุมชน ได้แก่ อุปกรณ์วิเคราะห์ค่าฟ้า ระบบรักษาความปลอดภัยภายในบ้าน ฯลฯ เป็นต้น
นางสาวอุษาวดี เกื้อเกตุ อายุ 17 ปี ปี 1 จากวิทยาลัยเทคนิคพัทลุง กล่าวว่า นักเรียนที่เข้ามาเรียนอาชีวะหรือวิทยาลัยเทคนิคทางครูจะสอนในอาชีพที่เรามีความสนใจที่จะทำได้เลย ซึ่งเมื่อเราจบออกไปแล้วไปสมัครงานก็มีใบรับรองว่าเราฝึกงานมาแล้วเขาก็จะพิจารณารับเราเข้าทำงาน ในยุค 4.0 มีการใช้ข้อมูลจากคอมพิวเตอร์มากขึ้น
ตนเองเรียนสาขาเรื่องแฟชั่นครูจะมีการสอนการออกแบบในเว็บไซต์ต่าง ๆ เราสามารถเอาไปประกอบได้ เพราะทุกวันนี้เราใช้เทคโนโลยีนำมาประกอบอาชีพจำนวนมาก ตนมองว่าจากที่มีการตกงานจำนวนมากนั้นส่วนหนึ่งมาจากคนที่เรียนจบมาไม่ตรงกับสายงาน ตนเองมองว่าทางโรงเรียนควรปรับการเรียนการสอนเน้นด้านการสร้างอาชีพมากขึ้น งดทฤษฎีให้น้อยลง หากเรียนจบแล้วไม่มีงานทำก็ทำใจได้ ตนเองจะเข้าทำงานให้ตรงกับสายที่ตนเองเรียนมา
ขณะที่ ดร.พีรพล พูลทวี รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวะศึกษา กล่าวว่า ถ้าพูดถึง 4.0 ดูว่ามันจะล้าไปสักนิดหนึ่ง แต่มันเป็นเรื่องของนวัตกรรมในจุดที่เราทำกันมาตลอด นิวเคโนเวชั่น มันเป็นเรื่องนวัตกรรมใหม่ๆ จริง นอกจากเราจะรองรับแล้วเราต้องกล้าที่จะเปลี่ยนแปลง คนที่ไม่กล้าเปลี่ยนแปลงเลยจะทำอะไรได้
การที่เรามาส่งเสริมให้เด็กรู้จักคิดตรงนี้ให้เด็กได้รู้ว่าวันนี้เป็นแบบนี้พรุ่งนี้ก็เปลี่ยนแล้วให้เขาคิดสม่ำเสมอว่าชีวิตความเป็นอยู่ตั้งแต่เช้าจนเย็นจะทำอย่างไรให้ชีวิตดำรงอยู่อย่างง่ายและสบาย การเป็นอยู่ในปัจจุบันต้องพึ่งนวัตกรรมทุกตัวที่ทำให้ง่ายขึ้น เร็วขึ้นสิ่งเหล่านี้เป็นโจทย์ใหญ่ ๆ ให้เด็กได้รู้จักคิด และตนแทบไม่เชื่อว่าเด็กที่จบออกไปแล้วตกงาน ตนการันตีมาทุกเวทีว่าลูกศิษย์จบ ปวส.100% มีงานทำแน่นอน ส่วน ปวช.เป็นส่วนที่ก้ำกึ่ง 2 สถานะคือเด็กเรียนต่อ และเด็กอยากหยุดเพื่อที่จะทำงานดูแลครอบครัว ซึ่งตรงนี้เราจะแก้ด้วยความเสมอภาค
เมื่อแก้ไขครบถ้วนแล้วตนเชื่อว่าอาชีวะตกงานจะไม่มี ปีที่ผ่านมาเราปูพรมโดยการเคาะความต้องการของผู้ประกอบการว่าคุณต้องการอย่างไร อาชีวะเราทำได้ทั้งหมด เพียงแต่ว้าที่ไม่ตรงเราไม่เข้าถึงข้อมูล แต่ ณ วันนี้เราเข้าถึงข้อมูล ในสภาอุตสาหกรรม แรงงาน
จากกระแสที่ว่าตกงานจริง ๆ แล้วเราไม่เข้าใจโจทย์ว่าผู้ประกอบการต้องการอะไร ซึ่งนะวันนี้เราทำโดยการเคาะและเข้ามาบริหารจัดการ ตนมั่นใจว่าอนาคตข้างหน้าลูกศิษย์ของเราจะมีงานทำ ซึ่งกระบวนการ ณ วันนี้เด็กอยู่กับเราเพียง 2 ปี ส่วนปีสุดท้ายเราให้เขาลงพื้นที่ในการฝึกงานของเขา เพื่อให้เขาได้แสดงศักยภาพให้สถานประกอบการได้เห็นเขาจะเลือกรับลูกศิษย์เราเข้าไป เป็นการป้องกันและการันตีได้ว่าลูกศิษย์ไม่ตกงานแน่นอน
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: