ตรัง พช. จัดกิจกรรมอบรมแกนนำพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้และการมีส่วนร่วมของประชาชน ผ่านกระบวนการสร้างและพัฒนาผู้นำชุมชน โดยใช้กระบวนการพัฒนาชุมชนในการร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมวางแผน ร่วมปฏิบัติ และติดตามประเมินผลการพัฒนาร่วมกัน บนฐาน ความพอประมาณ
ตรัง พช. วันที่ 30-31 มกราคม 2563 ที่ โรงแรมธรรมรินทร์ ธนา อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง นายวสันต์ ชิงชนะ พัฒนาการจังหวัดตรัง ได้จัดโครงการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง กิจกรรมอบรมแกนนำพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงขึ้น ซึ่งกระทรวงมหาดไทย มอบหมายให้กรมการพัฒนาชุมชน ได้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙
ได้ทรงพระกรุณาพระราชทานไว้ในวโรกาสต่างๆ มาเป็นหลักในการพัฒนาหมู่บ้านและชุมชน ซึ่งสอดคล้องกับภารกิจหลักของกรมการพัฒนาชุมชน คือส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้และการมีส่วนร่วมของประชาชน ผ่านกระบวนการสร้างและพัฒนาผู้นำชุมชน โดยใช้กระบวนการพัฒนาชุมชนในการร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมวางแผน ร่วมปฏิบัติ
และติดตามประเมินผลการพัฒนาร่วมกัน บนฐาน ความพอประมาณ ใช้ความรู้ในการพิจารณาตัดสินใจด้วยเหตุผล และมีคุณธรรม เพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน แก่ชุมชนไม่ให้ได้รับผลกระทบจากสภาวะการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้น เป็นชุมชนที่มีความเข้มแข็ง มีระบบเศรษฐกิจชุมชนที่เหมาะสม มีสิ่งแวดล้อมที่ดี มีระบบความสัมพันธ์ที่เหนียวแน่น และมีระบบบริหารจัดการชุมชนที่เป็นระบบและต่อเนื่อง โดยมีกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 190 คน
ทางด้านนายขจรศักดิ์ ศิริโสภา รองผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง กล่าวว่า จังหวัดตรัง แบ่งการปกครองออกเป็น 10 อำเภอ 87 ตำบล 723 หมู่บ้าน จากผลการดำเนินงานขับเคลื่อนโครงการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงที่ผ่านมา มีหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ทั้งสิ้นจำนวน 219 หมู่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 30.29 ของจำนวนหมู่บ้านทั้งหมดของจังหวัดตรัง
ข่าวน่าสนใจ:
ในวันนี้ต้องขอแสดงความยินดีกับอีก 90 หมู่บ้านของท่าน ที่ได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมกระบวนการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ทุกท่านคงทราบดีว่าหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นสิ่งที่มีคุณค่ายิ่งที่พ่อหลวงของปวงชนชาวไทย ได้พระราชทานให้พสกนิกรของพระองค์ได้น้อมนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งผมเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่าท่านที่นั่งอยู่ในห้องประชุมแห่งนี้ ได้นำมาใช้ในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว
แต่ในวันนี้ความท้าทายของท่านคือการขับเคลื่อนในระดับหมู่บ้าน การสร้างความตระหนักให้คนในหมู่บ้านได้เกิดความเข้าใจ และร่วมกันขับเคลื่อนกิจกรรมในหมู่บ้าน เพื่อทำให้เกิดความสมดุลของการพัฒนาหมู่บ้านตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน.
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: