ชาวบ้านแห่เก็บเห็ดเสม็ดขายสร้างรายได้ มทร.ตรังรับซื้อไม่อั้นส่งเสริมรายได้ชุมชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง จัดจุดบริการตรวจคัดกรองชาวบ้านก่อนเข้าเก็บเห็ดเสม็ด ภายใต้มาตรการป้องกันและเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรค COVID-19
วันที่ 24 เมษายน 2563 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง ชาวบ้านแห่เก็บเห็ดเสม็ดทันที่มีฝนโปรยปรายลงมา 4-5 วัน ในช่วยปลายเดือนเมษายนตลอดไปจนถึงปลายเดือนพฤษภาคม ของทุกปี เป็นช่วงต้นฤดูฝน ชาวบ้านในหลายพื้นที่ริมฝั่งทะเลอันดามัน เช่น ที่ อ.สิเกา อ.กันตัง อ.ย่านตาขาว อ.ปะเหลียน จะออกไปหาเห็ดเสม็ด ซึ่งเป็นเห็ดที่ได้รับความนิยมบริโภคกันอย่างมากทางภาคใต้ หนึ่งปีจะมีให้รับประทานหนึ่งครั้ง ด้วยรสชาติเห็ดเสม็ดจะมีรสขมเล็กน้อย จึงมักนำไปต้ม จิ้มกินกับน้ำพริก หรือนำไปแกงกะทิ (แกงคั่วกะทิ) กับปลาย่าง หรือกุ้งสด
ซึ่งในปีนี้การเก็บเห็ดเสม็ดจะแตกต่างไปจากปีก่อนๆที่ผ่าน โดยทราบกันดีว่าทั่วโลกกำลังพบกับปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไวรัสสายพันธุ์ใหม่โครานา 2019 (COVID-19) และแต่ละหน่วยงาน แต่ละชุมชน แต่ละครอบครัวต่างตระหนักในการดูแลสุขภาพให้ปลอดภัยจากโรคดังกล่าว
เช่นเดียวกันกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง ที่มีมาตรการต่างๆออกมาเพื่อความปลอดภัยของคณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษา ทั้งนี้ในส่วนของชุมชนทางมหาวิทยาลัยก็มีความสัมพันธ์อันดีมาโดยตลอดตั้งแต่เริ่มก่อตั้งมหาวิทยาลัย ดังนั้น ในการเก็บเห็ดปีนี้ทางมหาวิทยาลัยได้วางมาตรการไว้ คือ คัดกรองโดยการตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย หากเกิน 37.3 องศา ก็จะไม่ให้เข้ามาภายในมหาวิทยาลัย ต้องสวมหน้ากากอนามัย และเว้นระยะห่างในการเก็บเห็ด เป็นต้น
ทั้งนี้ ในส่วนของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง จะรับซื้อเห็ดจากชาวบ้านและนำมาแปรรูปและจัดจำหน่ายทั้งภายในและภายนอกองค์กร เพื่อเป็นการช่วยเหลือชุมชนที่ขาดรายได้จากอาชีพเกษตรกร และได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ COVID-19 ชาวบ้านสามารถนำไปขายได้ราคาดี กิโลกรัมละ 100-300 บาท
หรือช่วยสร้างรายได้ให้แต่ละครอบครัววันละนับพันบาท ซึ่งดีกว่าการประกอบอาชีพอื่น โดยเฉพาะการทำสวนยางพารา ที่ไม่สามารถออกกรีดได้เลยในช่วงที่ฝนตกอย่างต่อเนื่องเช่นนี้ สำหรับบริเวณที่ชาวบ้านจากทั่วทุกสารทิศหลายร้อยคนจะนิยมเดินทางเพื่อไปเก็บเห็ดเสม็ดกันตั้งแต่เช้ามืด
ภายในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง ต.ไม้ฝาด อ.สิเกา จ.ตรัง เนื่องจากเป็นแหล่งป่าเสม็ด ป่าพรุที่ใหญ่ที่สุดของ จ.ตรัง ในพื้นที่กว่า 1,700 ไร่ และจะออกดอกเบ่งบานแค่เพียงปีละ 1 เดือนเศษเท่านั้น ซึ่งแต่ละคนจะได้จำนวนมากบ้าง น้อยบ้างตามแต่ความชำนาญ และความสามารถ โดยอุปกรณ์ในการเก็บก็มีเพียงไม้ยาวๆ ขนาด 1 เมตรเท่านั้น เพื่อใช้เขี่ยหาเห็ดเสม็ด ที่มักจะงอกอยู่ตามโคนต้นเสม็ด.
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: