โรงพยาบาล TRPH (ตรังรวมแพทย์) จัดกิจกรรม “ดูแลหัวใจแม่” แนะนำให้ความรู้ความเข้าใจปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด พร้อมให้บริการตรวจคลื่นหัวใจให้คุณแม่ฟรี 100 ท่าน
โรงพยาบาลTRPH วันที่ 9 สิงหาคม 2563 เวลา 10.00 น. ณ บริเวณห้องโถงชั้น 1 อาคาร 3 โรงพยาบาลตรังรวมแพทย์ โดย นายชัยนคร ไตรภูมิ รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลฝ่ายพันธมิตรทางธุรกิจการแพทย์ นายแพทย์วีระพันธ์ วัฒนกำธรกุล แพทย์ด้านอายุกรรมโรคหัวใจและหลอดเลือด เปิดเวทีเสวนา “ดูแลหัวใจแม่” แนะความรู้ความเข้าใจปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด
นายแพทย์วีระพันธ์ วัฒนกำธรกุล กล่าวว่า โรคหัวใจกับผู้หญิง ติดอันดับ 1 ใน 3 ของโรคที่คร่าชีวิต ซึ่ง 80% กล้ามเนื้อหัวใจเฉียบพลัน ประชากรประเทศไทย 1 แสนคน มียอดผู้ป่วยสูงกว่าประเทศอื่น 7 คนต่อ 1 ชั่วโมง อัตราการตายของผู้ชาย 7%
ของผู้หญิง 8 % โดยจะมีอาการให้เห็น 70% ขึ้นไป ทั้งนี้มีปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจ 7 อย่างด้วยกัน เหนื่อยง่าย หายใจลำบาก เจ็บแน่นหน้าอก ด้านซ้าย ด้านขวา หรือทั้งสองด้าน ไม่สามารถนอนราบได้ เป็นลมหมดสติอย่างไม่ทราบสาเหตุ ขา เท้า บวม หรือมีลักษณะเขียวคล้ำอย่างไม่ทราบสาเหตุ
อาการเจ็บหน้าอก อย่างเจ็บจี๊ดๆ อาจจะไม่ใช่มาจากโรคหัวใจ แต่อาการของโรคหัวใจจะมีอาการแน่นๆหน้าอก มีอาการเป็นนาน 1 นาทีขึ้นไป หรือมีอาการเจ็บเมื่อออกแรงและจะดีขึ้นเมื่อหยุดพัก อาการ 3 อย่างนี้เป็นโรคหัวใจแน่นอน
ปัจจัยเสี่ยงสำหรับผู้หญิง คือ ภาวะวัยทอง อายุมากกว่า 45 ปี คุณผู้หญิงที่มีความมั่นใจตัวเอง นั่งทำงาน 7-8 ชั่วโมง ขาดฮอร์โมนเอสโตรเจน เกี่ยวกับโรคภูมิต้านทาน โรคพุ่มพวงslf โรครูมาตอย การรักษาจะใช้วิธีการฉีดสีทางข้อมือ ซึ่งในผู้ป่วยบางรายสามารถกลับบ้านได้เลยดีกว่าการฉีดสีบริเวณขาหนีบ
ทั้งนี้ได้เปิดเผยว่า ทางกระทรวงสาธารณสุขรายงานว่า ปัจจุบันแนวโน้มเป็นโรคหัวใจเพิ่มมากขึ้นต่างจากต่างประเทศ อาจจะเป็นทางเทคโนโลยีของเขา และความระมัดระวังของคนไทยยังไม่ให้ความสำคัญสักเท่าไหร่ จากสถิติ ปี 57 ถึงปัจจุบัน มีผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจ มีเกือบ 1 ล้าน 5 แสนราย สืบเนื่องมาจากการใช้ชีวิตที่รีบเร่งกินผักปลาน้อยลง
ใช้ชีวิตสุขสบายหน้าทีวี ซึ่งเป็นภัยเงียบในการเป็นโรคหัวใจ ซึ่งในวันแม่นี้ตนแนะนำให้พาคุณแม่มาตรวจเพราะโรคหัวใจในผู้หญิงเพิ่มมากขึ้น ในขณะที่ผู้ชายลดลง ซึ่งปัจจุบันพบผู้ป่วยอายุน้อยมาก ทั้งที่ไม่สูบบุหรี่ หรือดื่มเหล้าชอบรับประทานอาหารไม่มีเนื้อสัตว์ ซึ่งเป็นกรรมพันธุ์และประวัติตั้งครรภ์แล้วเป็นหัวใจล้มเหลว โรคที่กระตุ้นให้เป็นโรคหัวใจ คือสภาวะการตั้งครรภ์ ภาวะซึมเศร้า
โรคหัวใจไม่ใช่เพียงแค่การออกกำลังกายอย่างเดียว หรือการรับประทานอาหาร แต่ต้องตรวจสุขภาพอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และภายในงานยังมีการแจกคูปองตรวจ คลื่นไฟฟ้าหัวใจสำหรับผู้ร่วมกิจกรรมฟรี จำนวน 100 คน อีกด้วย.
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: