X
แห่จาด,ส่งตายาย,ตั้งเปรต,เดือนสิบ,บุญใหญ่, วัดเชียวขาญกิจ,

ตรัง ชาวบ้านหนองตรุด ร่วมส่งตา-ยาย งานบุญสารทเดือนสิบอย่างคึกคัก

ตรัง ชาวบ้านหนองตรุด ร่วมส่งตา-ยาย งานบุญสารทเดือนสิบอย่างคึกคักแม้สภาพเศรษฐกิจในช่วงนี้จะไม่ค่อยดีนักด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัสสายพันธุ์ใหม่โคโรนา 2019 (COVID-19) ก็ตาม

ส่งตายาย วันนี้ (17 กันยายน 2563) ตรงกับแรม 15 ค่ำ เดือน 10 หรือวันบุญใหญ่ พี่น้องชาวบ้านนาแขก หมู่ที่ 3 ตำบลหนองตรุด อำเภอเมือง จังหวัดตรัง ได้ร่วมกันแห่ขบวนกลองยาว พร้อมด้วยหมรับที่ประดิษฐ์ขึ้นเป็นรูปศาลาทรงไทย และภายในบรรจุและประดับด้วยสิ่งของ อาหาร ขนมเดือนสิบลงภายในภาชนะที่เตรียมไว้ ประเภทอาหารแห้ง พืชผักที่เก็บไว้ได้นาน

ของใช้ในชีวิตประจำวัน ขนมอันเป็นสัญลักษณ์ของสารทเดือนสิบเป็นสิ่งสำคัญของหมฺรับ ได้แก่ ขนมพอง ขนมลา ขนมกง (ขนมไข่ปลา) ขนมบ้า ขนมดีซำ ขนมที่บรรพบุรุษและญาติที่ล่วงลับได้นำไปใช้ประโยชน์ ตามลำดับชั้นการจัด แห่ไปยังวัดเชี่ยวชาญกิจ ซึ่งเป็นวัดประจำตำบลหนองตรุด ระยะทาง 3 กิโลเมตร บรรยากาศการแห่ขบวนกลองยาวและหมฺรับ

เต็มไปด้วยรอยยิ้มความสนุกสนาน ความสามัคคีของพี่น้องบ้านนาแขกและต่างหมู่บ้านที่มาร่วมงานบุญในครั้งนี้ สำหรับขบวนกลองยาวนำทีมโดย นายศักดิ์ชัย แก่นเมือง ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 3 บ้านนาแขก ตำบลหนองตรุด อำเภอเมือง จังหวัดตรัง พร้อมด้วยผู้นำชุมชน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน และพี่น้องบ้านนาแขก

ทั้งนี้ถึงแม้สภาพเศรษฐกิจในช่วงนี้จะไม่ค่อยดีนักด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัสสายพันธุ์ใหม่โคโรนา 2019 (COVID-19) ก็ตาม โดยตามวัดต่างๆ มีพุทธศาสนิกชนเดินทางไปร่วมทำบุญเป็นจำนวนมาก อย่างที่วัดเชี่ยวชาญกิจ ตำบลหนองตรุด อำเภอเมืองตรัง ได้มีการนำอาหารคาวหวานไปร่วมทำบุญกันอย่างเนืองแน่น เพื่ออุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้แก่ปู่ย่าตายาย

หรือผู้ล่วงลับไปแล้ว ซึ่งถือเป็นการแสดงออกถึงความรัก ความสามัคคี และความกตัญญูกตเวทีต่อบรรพบุรุษผู้ล่วงลับตามความเชื่อที่ว่าจะกลับมาเยี่ยมลูกหลานในช่วงวันสารทเดือนสิบของทุกปี สำหรับอาหารคาวหวานที่นำมาทำบุญในวันนี้ โดยเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ คือ ขนมลา ขนมพอง ขนมบ้า ขนมดีซัม หรือขนมรู และขนมกง เพราะมีความเชื่อที่ว่า

ขนมทั้ง 5 อย่างเป็นสัญลักษณ์แทนสิ่งของเครื่องใช้ซึ่งผู้ล่วงลับไปแล้วสามารถนำไปใช้เป็นยานพาหนะ เครื่องนุ่งห่ม เครื่องประดับ เงินทอง และของเล่นตามประเพณี นอกจากนั้น ยังได้มีการนำอาหารอีกส่วนหนึ่งไปตั้งบริเวณรอบนอกวัดเพื่อเป็นการตั้งเปรต หรือสัมภเวสีอย่างละเล็กอย่างละน้อย หรือตามความเชื่อที่เรียกว่า การตั้งเปรต ก่อนที่จะมีการถวายสังฆทานแก่พระสงฆ์ พร้อมกับกรวดน้ำให้แก่บรรพบุรุษผู้ล่วงลับ ถือเป็นการทำส่งบรรพบุรุษผู้ล่วงลับอย่างสมบูรณ์.

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน