คณบดีคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ต เปิดศูนย์การเรียนรู้มุ่งสู่การพัฒนาจักสานก้านจากบ้านนายอดทอง อ.กันตัง จ.ตรัง โดยให้นักศึกษากินนอนในพื้นที่เพื่อร่วมต่อยอดผลิตภัณฑ์เหลือใช้จากใบจากหรืออาชีพปากกัดตีนถีบจากรุ่นสู่รุ่นนานถึง 7 ปีจนสามารถส่งขายไปไกลถึงต่างประเทศ มีแคตตาล็อก 3 ภาษาและสร้างรายได้เหยียบ 3 ล้านบาทต่อปี เน้นงานทำมือไม่พึ่งเครื่องจักรกล
จักสานก้านจาก วันที่ 14 มีนาคม 2564 เวลา 10.15 น. ที่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านนายอดทอง หมู่ที่ 5 ต.วังวน อ.กันตัง จ.ตรัง รองศาตราจารย์ประภาศรี อึ่งกุล คณบดีคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ต เป็นประธานเปิดศูนย์การเรียนรู้นำสู่การศึกษา ค้นคว้ามุ่งพัฒนาจักสานก้านจาก เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับประชาชนที่สนใจอาชีพปากกัดตีนถีบหรือการจักสานก้านจาก ให้ออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น กระทง กรงนก กระเป๋า รองเท้า โคมไฟ ตะกร้า ม้านั่ง และอื่น ๆ โดยให้นักศึกษาของมหาวิทยาลัยฯ ในรายวิชาการพัฒนาทุนมนุษย์ในท้องถิ่นอันดามัน เข้ามากินนอนกับชาวบ้านในพื้นที่จากรุ่นสู่รุ่นนับตั้งแต่ปี 2557 รวม 7 รุ่นเป็นเวลา 7 ปีแล้ว
เพื่อยกระดับคุณภาพสินค้าใบจากที่เหลือใช้จากการลอกใบทำยาสูบแล้ว ให้สามารถทำได้หลากหลายรูปแบบมากขึ้น เพื่อไม่ก่อให้เกิดมลพิษหรือขยะในชุมชน ซึ่งแต่เดิมชาวบ้านนำก้านจากมาจักสานเป็นติหมา (ภาชนะที่ใช้ตักน้ำ) เพียงอย่างเดียว ต่อมามีการต่อยอดมาเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ทำให้มีตลาดที่กว้างขึ้น จนปัจจุบันสามารถส่งขายทั้งในและต่างประเทศ เช่น จีน เกาหลี ญี่ปุ่น อเมริกา ฝรั่งเศส โดยมีรายได้ประมาณ 80,000-90,000 บาทจากปี 2546 ที่เริ่มก่อตั้ง มาเป็นรายได้ 2.9 -3 ล้านบาทต่อปี และมีสมาชิกเพิ่มขึ้นจากเดิม 11 คนเป็น 76 คนแล้ว แต่นักศึกษาฯ ยังไม่หยุดต่อยอดสินค้าด้วยการคิดผลิตโคมไฟหลายรูปแบบ ใช้ประดับตกแต่งอาคารสถานที่ รีสอร์ทและร้านอาหารต่าง ๆ รวมทั้งสอนทำกระเป๋าปารีส โดยมีตลาดในเมืองปารีส ประเทศฝรั่งเศสสั่งซื้อเข้ามาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งงานทุกชิ้นเน้นทำมือหรืองานแฮนด์เมด ไม่พึ่งเครื่องจักรกล
นอกจากนี้ ยังทำแคตตาล็อก 3 ภาษาได้แก่ ภาษาจีน อังกฤษและภาษาไทย ไว้ให้ลูกค้าต่างประเทศเข้ามาสแกนคิวอาร์ตโค้ตเพื่อเพิ่มช่องทางการตลาดด้วย โดยในอนาคตอันใกล้ จะมีการนำลายจักสานก้านจานทำเป็นตราประทับลงบนผืนผ้า เพื่อให้เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของตำบลวังวน อ.กันตัง จ.ตรัง หนึ่งเดียวที่ไม่เหมือนใคร โดยขายทั้งระบบออนไลน์และออฟไลน์ตลอด 24 ชั่วโมง
ด้านรองศาสตราจารย์ประภาศรี อึ่งกุล คณะบดีคณะวิทยาการจัดการ ม.ราชภัฎภูเก็ต กล่าวว่า สิ่งที่นักศึกษาเข้ามาเรียนรู้ในสถานที่แห่งนี้ คือการเรียนรู้เรื่องการจักสาน การจัดจำหน่าย การตลาดทั้งภายในจังหวัด ต่างจังหวัดและส่งออกต่างประเทศ ซึ่งนักศึกษาหลายรุ่นได้เข้ามาเรียนรู้ในสถานที่แห่งนี้
ในอนาคตที่ต้องทำต่อเนื่องและต่อยอดจากวิสาหกิจคือการออกแบบลวดลายตามธรรมชาติที่ได้จากผลิตภัณฑ์ของต้นจาก แล้วทำเป็นตราประทับพิมพ์ลงไปบนผ้า เพื่อให้เกิดเผ้าที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะพื้นที่ของผ้าตำบลวังวนแห่งนี้ ขณะนี้ได้ประสานกับวิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญในการออกแบบลวดลายเหล่านี้ที่เป็นแทนพิมพ์สำเร็จรูป สามารถประทับลงไปบนผ้าหรือกระดาษที่ทำจากสิ่งที่เหลือใช้ของต้นจาก ซึ่งจะกลายเป็นผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ที่จะเกิดขึ้น อีกอย่างหนึ่งที่จะทำควบคู่กันไปคือการออกแบบโคมไฟที่มีความสวยงาม พร้อมใช้สอยเป็นที่ต้องการของตลาด และจะเพิ่มผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ออกไปอีกหลายอย่างโดยทำได้เองไม่พึ่งเครื่องจักร
ด้านนางสุจินต์ ไข่ริน ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านนายอดทองฯ กล่าวว่า กลุ่มฯ ได้ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2546 เริ่มขายดีขึ้นเป็นที่ต้องการของตาด โดยเฉพาะตลาดต่างประเทศ มีจีนออเดอร์ติหมาใบจากอาทิตย์ละ 15,000 ใบต่อเดือน เกาหลี 30,000 ใบต่อเดือน สหรัฐและญี่ปุ่นจะสั่งตัวกระจาด โดยใช้ติหมาใส่เครื่องดื่มแทนแก้วน้ำ แทนกล่องโฟม ราคาส่ง 8-10 บาท สร้างรายได้ต่อเดือนประมาณ 250,000-300,000 บาท ต่อปีได้ประมาณ 2.9-3 ล้านบาทมากกว่าหลายปีที่ผ่านมา โดยในปีเริ่มต้นได้แค่เดือนละประมาณ 80,000-90,000 บาทต่อเดือนในปี 2546-2548.
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: