X
ยุวทูต, PSU Young GACC, ม.อ.ตรัง, ภูมิปัญญา, วิถีชีวิต, ต้นจาก,ติหมา,ก้านจาก,

ยุวทูต PSU Young GACC ม.อ.ตรัง ชูภูมิปัญญา “จาก” วิถีชีวิต สู่เศรษฐกิจชุมชน

ยุวทูต PSU Young GACC ม.อ.ตรัง ชูภูมิปัญญา “จาก” วิถีชีวิต สู่เศรษฐกิจชุมชน ส่งเสริมผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีวัสดุตั้งต้นมาจาก “ต้นจากทะเล Nypa Palm” ส่งเสริมผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีวัสดุตั้งต้นมาจาก “ต้นจากทะเล Nypa Palm”

ยุวทูต : วันนี้ (12 กรกฎาคม 2564) อาจารย์ณฐ ย่าหลี อาจารย์ เผยถึงการดำเนินการโครงการ PSU Young Global Affairs and Corporate Communication หรือ PSU Young GACC โดยมี ดร.สติมา โรจนวงศ์ชัย อาจารย์ประจำหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาภาษาอังกฤษธุรกิจ นางสาวสุธัญญา หนูนรินทร์ พร้อมด้วย นักศึกษาหลักสูตรภาษาอังกฤษธุรกิจ (BE) และหลักสูตรบัญชี (ACC) คณะพาณิชยศาสตร์และการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง จำนวน 15 คน

ที่ได้รับเลือกเป็นยุวทูตโครงการ PSU Young GACC ได้ลงพื้นที่อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง เพื่อทำโครงการ “จาก” วิถีชีวิต สู่เศรษฐกิจชุมชน ส่งเสริมผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีวัสดุตั้งต้นมาจาก “ต้นจากทะเล Nypa Palm” ส่งเสริมผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีวัสดุตั้งต้นมาจาก “ต้นจากทะเล Nypa Palm” โดยได้รับเงินสนับสนุนภายใต้โครงการ PSU Open Mobility โครงการพลิกโฉมมหาวิทยาลัย (Reinventing University) ประจำปีงบประมาณ 2564  เป็นเงินทั้งสิ้น 360,000 บาท

ยุวทูต PSU Young GACC เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้นักศึกษาที่เป็นยุวทูตสามารถประยุกต์ใช้สมรรถนะการอยู่ร่วมกันในสังคมโลก (Global Competence) ร่วมทำกิจกรรมระหว่างมหาวิทยาลัยฯ กับชุมชน เกิดการส่งเสริมกิจกรรมด้านพัฒนาความร่วมมือ องค์ความรู้ นวัตกรรม หรืองานวิจัย เพื่อเพิ่มโอกาสในการร่วมงานวิชาการกับมหาวิทยาลัยพันธมิตรนานาชาติได้ในอนาคต ตามเป้าหมาย SDGs ในข้อกำหนดขององค์การสหประชาชาติ United Nation

โดยมีแผนการลงพื้นที่ทำกิจกรรมในด้านต่างๆ กับชุมชน ประกอบด้วย การศึกษาและเผยแพร่องค์ความรู้ชุมชนที่มีต้นจากเป็นวิถีชีวิต  ประกวดออกแบบผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของต้นจากเป็นวัสดุตั้งต้นในการผลิต พัฒนาและเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นจากต้นจากทะเล ยกระดับผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีต้นจากเป็นฐานสู่ตลาดนานาชาติออนไลน์ หาต้นทุนในผลิตภัณฑ์ชุมชนจากต้นจาก จากต้นน้ำสู่ปลายน้ำ และพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมที่มีแหล่งผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีต้นจากเป็นฐาน

โครงการดังกล่าวเป็นการนำองค์ความรู้และทฤษฎีจากห้องเรียนสู่การลงมือปฏิบัติจริงเพื่อช่วยเหลือชุมชน ช่วยกันลงพื้นที่หาแนวทางแก้ไข โดยมีแผนการดำเนินงานที่ชัดเจน และมีจุดประสงค์ที่จะปรับเปลี่ยนก้านจากให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถขายสู่ตลาดท้องถิ่นและตลาดนานาชาติได้ จะช่วยส่งเสริมให้ชุมชนและชาวบ้านมีรายได้เสริม ฟื้นฟูสภาพเศรษฐกิจชุมชน และพัฒนาสถานที่ผลิตให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์และเชิงวัฒนธรรมได้ด้วย  อีกทั้งยังให้ความสำคัญของการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพ

ประกอบกับคณะทำงานมีสัมพันธ์อันดีกับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศที่คาดว่าเข้าร่วมโครงการได้ ประกอบด้วย Universiti of Malaya (UM) มาเลเซีย, National University of Laos (NUOL) ประเทศลาว, Universiti Tun Hussein Onn Malaysia (UTHM) มาเลเซีย Royal University of Phnom Penh (RUPP) กัมพูชา, National University, Ho Chi Minh มหาวิทยาลัยแห่งชาติเวียดนาม (โฮจิมินห์ซิตี้)  และ HEBEI Medical University ประเทศจีน ซึ่งจะมีกิจกรรมที่เชิญชวนให้มหาวิทยาลัยในต่างประเทศได้ร่วมทำกิจกรรม ผ่านรูปแบบออนไลน์ด้วย.

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน