หลิงเฉิน คาเฟ่สไตล์จีนฮ่องกงย้อนยุค แนววินเทจ ชูเมนูผลลูกจาก วัตถุดิบที่มีมากในท้องถิ่นมาเป็นเบเกอรี่โฮมเมด เค้กลูกจากคาราเมลสุดแสนจะอร่อยทานคู่กับเครื่องดื่มเย็นๆ
หลิงเฉิน คาเฟ่ ตั้งอยู่เลขที่ 47 ถ.หน้าค่าย ต.กันตัง อ.กันตัง จ.ตรัง เป็นอาคารเก่าแบบชิโนโปรตุกิส อายุมากกว่า 100 ปี ใกล้กับที่ทำการไปรษณีย์กันตัง ซึ่งกันตังเป็นบ้านเกิดที่สร้างความทรงจำ ความผูกพันกับนายภทร สกุลส่องบุญศิริ จึงทำให้เกิดแรงบันดาลใจในการสร้างร้านหลิงเฉินคาเฟ่ แห่งนี้ขึ้นมา
ภายในร้านหลิงเฉินจะตกแต่งแบบเรียบง่าย สไตล์จีนฮ่องกงย้อนยุค แนววินเทจ มีมุมถ่ายภาพสวยๆดุจดั่งอยู่ที่เมืองจีนทั้งมุมโคมไฟโบราณ ซุ้มประตูสวนหลังร้าน ทางร้านจะมีลูกค้านักท่องเที่ยวแวะเวียนมาเยื่อนไม่ขาดสาย ทางร้านจะมีอาหารและเครื่องดื่มบริการ ทั้ง ชา กาแฟ เบเกอร์รี่ และอาหารจีน
ซึ่งกาแฟที่ใช้ คัดสรรกาแฟจากต่างประเทศ มาผสมกับกาแฟไทย จะได้รสสัมผัสใหม่ที่เข้มข้นลงตัว ที่สร้างความแปลกใหม่ มากกว่าการดื่มกาแฟเข้มๆ แล้วก็จบภายในแก้วเดียว เช่น ดับเบิ้ลมินต์ลาเต้ ลองแบลค(อเมริกาโน่) ดาร์กโกโก้ สปันส์ลูกจาก ช๊อกโกแล็ตปั่น
ส่วนเบเกอร์รี่ เป็นสิ่งที่ทางร้านตั้งใจนำเสนอ โดยมีการนำลูกจากซึ่งเป็นวัตถุดิบที่มีมากในท้องถิ่นมาเป็นส่วนผสมหลักใรการทำเบเกอร์รี่ เช่น เค้กลูกจากคาราเมล ทอฟฟี่เค้ก เค้กน้ำตาลจากแมคคาเดเมีย บัตเตอร์เลม่อนเค้ก
อาหารจีน สไตล์ปีนัง นำวัตถุดิบจากทะเลตรังมารังสรรค์เป็นอาหารจานเดียวที่ลงตัวในราคาเบาๆ โดยราคาเครื่องดื่มและเบเกอรี่เริ่มต้นที่ 45 บาท อาหารเริ่มต้นที่ 69 บาท
เพื่อความปลอดภัยของลูกค้าและนักท่องเที่ยว ทางร้านจะมีบริการวัดอุณภูมิร่างกาย สอบถางถึงการฉีดวัคซีน และการทำความสะอาดฆ่าเชื้อทุกครั้งที่ลูกค้ารับทานอาหารเครื่องดื่มเสร็จแล้วและรอจนน้ำยาฆ่าเชื้อแห้งจึงจะอนุญาตให้ลูกค้าท่านอื่นมานั่ง
สามารถติดตามร้าน.”หลิงเฉิน” ได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 0661654453 เฟสบุ๊ก หลิงเฉิน Ling Chen Café LINE Official : @Lingchencafe ร้านเปิดเวลา10.00 – 20.00 น. และปิดบริการทุกวันพุธ
นายภัทร สกุลส่องบุญศิริ (แจ๊ค) อายุ 32 ปี เจ้าของร้านเล่าให้ฟังว่า หลิงเฉิน (Ling Chen) แปลว่ารุ่งอรุณ ซึ่งชื่อนี้ได้รับแรงบันดาลใจมาจากชื่อความหมายของจังหวัดตรัง เมื่อเท้าความถึงที่มาของชื่อจังหวัดตรัง ก็มีหลายสันนิษฐาน ซึ่งในนั้นเราหยิบยกมาจากคำว่า “ตรังเค” ซึ่ง
เป็นภาษามลายูแปลว่า “รุ่งอรุณ” หรือ “สว่างแล้ว” เพราะสมัยก่อนชาวมลายูและชาวมัชฌิมประเทศ ที่เดินทางมาโดยทางเรือมาค้าขายกับไทย เมื่อเรือแล่นมาตามลำน้ำตรังพอมาถึงอำเภอกันตังก็เป็นเวลารุ่งอรุณพอดี พวกที่มาโดยเรืออาจจะเปล่งเสียงออกมาว่า “ตรัง เค” ดังกล่าวแล้ว แต่ที่มาของคำว่า “ตรัง” ทั้งสองประการนี้ เป็นเพียง ข้อสันนิษฐานเท่านั้น ไม่มีหลักฐานใด ๆ ยืนยันได้คือที่มาของคำว่า .“หลิงเฉิน” จึงถูกประยุกต์ให้เป็นภาษาจีนกลาง เพื่อให้ตรงกับ concept และสถานที่นั้นเอง.
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: