เลขาธิการ กศน. ระดมผู้บริหารภาคใต้ เร่งการขับเคลื่อนงานครึ่งปีหลังภารกิจสำคัญส่วนหนึ่งที่จะต้องขับเคลื่อนการดำเนินงานภายใต้นโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ท่านตรีนุช เทียนทอง โดยส่งเสริมโอกาส ความเสมอภาคและความเท่าเทียมทางการศึกษา สร้างโอกาสให้กับสังคม คืนโอกาสให้กับเด็กๆ กลับเข้าสู่ระบบการศึกษาอีกครั้ง
เลขาธิการ กศน. : วันที่ 22 เมษายน 2565 นายวัลลพ สงวนนาม เลขาธิการ กศน. เปิดประชุม ประชุมติดตามการดำเนินงาสำนักงาน กศน. ไตรมาส 1 – 2 และชี้แจงแนวทางการขับเคลื่อนงานต่อเนื่องไตรมาส 3 – 4 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565(จังหวัดในเขตพื้นที่ภาคใต้) ณ โรงแรมธรรมรินทร์ ธนา อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง โดยมี ผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 200 คน ประกอบด้วย รองเลขาธิการ กศน. ผู้อำนวยการสำนักงาน กศน.จังหวัด กศน.อำเภอ และสถานศึกษาขึ้นตรงในเขตพื้นที่ภาคใต้
นายวัลลพ สงวนนาม เลขาธิการ กศน. กล่าวว่า สำนักงาน กศน. ขับเคลื่อนภารกิจในช่วงครึ่งปีหลังของปีงบประมาณโดยมีภารกิจสำคัญส่วนหนึ่งที่จะต้องขับเคลื่อนการดำเนินงานภายใต้นโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ท่านตรีนุช เทียนทอง ประกอบด้วย 1) โครงการส่งเสริมโอกาส ความเสมอภาคและความเท่าเทียมทางการศึกษา “พาน้องกลับมาเรียน” สร้างโอกาสให้กับสังคม คืนโอกาสให้กับเด็กๆ กลับเข้าสู่ระบบการศึกษาอีกครั้ง
ถือเป็นการเติมเต็มด้านการศึกษาให้กับเด็กและเยาวชนอันเป็นกำลังสำคัญของประเทศ ซึ่งหากเด็กได้รับโอกาสทางการศึกษาแล้วก็จะมีอนาคตที่ดี โดยนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ จันทร์โอชา ตั้งเป้าหมายตัวเลขของเด็กที่หลุดจากระบบการศึกษาต้องเป็นศูนย์
ข่าวน่าสนใจ:
2) โครงการ “กศน. ปักหมุด” ที่ตระหนักถึงความสำคัญในการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการทั่วประเทศ เพื่อให้คนพิการสามารถเข้าถึงการศึกษาในรูปแบบที่เหมาะสมอย่างมีคุณภาพ โดยใช้กลยุทธ์ “รุกถึงที่ ลุยถึงถิ่น” ในการสำรวจ ติดตาม ค้นหาและรวบรวมข้อมูลกลุ่มเป้าหมายคนพิการ พร้อมนำกลับเข้าสู่ระบบการศึกษา โดยวางแผนการจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับบริบทและความต้องการของคนพิการ อย่างแท้จริง
3) โครงการสถานศึกษาปลอดภัย โดยนำระบบมาตรฐานความปลอดภัย MOE Safety Center ผ่านศูนย์ความปลอดภัย สำนักงาน กศน. มาใช้แก้ปัญหาความไม่ปลอดภัยของนักศึกษา ครู และบุคลากร กศน. รวมทั้งบริหารความเสี่ยงตามมาตรการ 3 ป ได้แก่ ป้องกัน ปลูกฝัง และปราบปราม ให้เกิดความปลอดภัยและป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ซ้ำ สร้างความมั่นใจและความเชื่อมั่นให้กับนักศึกษา ครู และบุคลากร กศน. ตลอดจนประชาชนทั่วไป และ
4) โครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินครู ซึ่งภารกิจสำคัญดังกล่าว สำนักงาน กศน. จะต้องมีการสร้างการรับรู้ สร้างความเข้าใจให้กับบุคลากรในทุกระดับ อาจมีการตั้งคณะทำงานเพื่อการนำนโยบายแปลงเป็นแผนไปสู่การปฏิบัติ รวมทั้งมีระบบและเครื่องมือการกำกับ ติดตาม ประเมิน และรายงานผลการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ ก็ชื่นชมผู้บริหารสถานศึกษา ครู กศน.และบุคลากร ทุกที่ร่วมกันสนับสนุนและขับเคลื่อนการดำเนินงานภายใต้นโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กันอย่างเข้มแข็งเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิดให้กับประชาชน.
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: