หน่วยส่งเสริมธนาคารปูม้า มทร.ศรีวิชัย แนะใช้ “ปุ๋ยผสมเปลือกปูม้า” ส่งเสริมชาวบ้านเกาะสุกรปลูก “แตงโมลอยฟ้า” หวานฉ่ำทุกฤดูกาล โครงการวิจัย “การฟื้นฟูทรัพยากรปูม้าและเสริมสร้างเศรษฐกิจฐานรากในชุมชนธนาคารปูม้าพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดตรังและ กระบี่” ภายใต้การสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรมจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2565
ปุ๋ยผสมเปลือกปูม้า : อาจารย์ ดร.วิกิจ ผินรับ รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา และอาจารย์ประจำสาขาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์ประมง มทร.ศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง หัวหน้าโครงการ พร้อมด้วยอาจารย์ ดร.นัฎฐา คเชนทร์ภักดี อาจารย์ประจำสาขาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์ประมง/ผู้ร่วมวิจัย และคณะทำงานโครงการธนาคารปูม้าตรังและกระบี่ มทร.ศรีวิชัย-วช. และผศ.ชำนาญ ขวัญสกุล อาจารย์ประจำสาขาวิชาพัฒนาการเกษตรและการจัดการธุรกิจเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช วิทยากรฝึกอบรมการยกระดับการใช้ปุ๋ยผสมเปลือกปูม้าปลูกแตงโมแบบโรงเรือนต้นแบบ “แตงโมลอยฟ้า”
โดยมีนายสมชาติ ไชยโห รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสุกร เป็นประธานในพิธีเปิด โครงการฝึกอบรมให้กับกลุ่มวิสาหกิจแตงโมชุมชนเกาะสุกรและผู้สนใจเข้าร่วมการฝึกอบรม เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้การใช้ปุ๋ยผสมเปลือกปูม้าในการปลูกแตงโมแบบโรงเรือนต้นแบบ “แตงโมลอยฟ้า เกาะสุกร” อาจารย์ ดร.วิกิจ ผินรับ หัวหน้าโครงการฯ กล่าวว่า จากกรณีศึกษาแนวทางการปลูกแตงโมโดยปกติ ชาวบ้านตำบลเกาสุกรนิยมการปลูกในแปลงเปิดกลางแจ้งเหมือนพืชอื่นๆ ทั่วไป
แต่มักปลูกได้ผลดีในช่วงหน้าแล้งเท่านั้น ซึ่งช่วงหน้าฝนมักมีปัญหาการระบาดของโรคและแมลงศัตรูพืช ทำให้แตงโมมีคุณภาพ และผลผลิตลดลง การปลูกแตงโมลอยฟ้าในโรงเรือน จึงเป็นทางเลือกหนึ่ง และสามารถปลูกแตงโมต่อเนื่องตลอดทั้งปี ด้าน ผศ.ชำนาญ ขวัญสกุล ในฐานะผู้ร่วมวิจัย กล่าวว่า จากวิจัยได้ทำการปลูกแตงโมด้วยกัน 4รูปแบบ คือ 1. การปลูกแตงโมแบบกลางแจ้งทั่วไป 2.การปลูกในโรงเรือนแบบยกร่องปลูก 3.ปลูกแบบลอยฟ้ายกร่องปลูก และ4.ปลูกในกระสอบแบบลอบฟ้า
ซึ่งการการทดสอบดังกล่าวได้มีการนำปุ๋ยผสมเปลือกปูม้ามาใช้ในการผสมการเตรียมดินก่อนที่จะทำการปลูกทั้ง 4รูปแบบ ทำให้ได้ผลผลิตและปริมาณที่เปรียบเทียบได้อย่างชัดเจน เนื่องจากการโรงเรือน สามารถควบคุมปัจจัย ภายนอกเกี่ยวกับแมลงสัตรูพืชได้ได้ดี คุ้มค่าต่อการลงทุน ทำให้แตงโมจะมีลวดลายที่เหมือนกัน ดร.นัฎฐา คเชนทร์ภักดี ได้ทำการทดสอบความหวานของแตงโมทั้ง 4 รูปแบบ ว่าแตงโมที่ปลูกในโรงเรือนแบบกระสอบ มีระดับความหวานอยู่ 12.3 ° Brix (องศาบริกซ์)
ซึ่งถือเป็นความหวานที่มีมากที่สุดจากการทดสอบปลูกแตงโมทั้ง 4 แบบ จากการฝึกอบรมในครั้งนี้นอกจะเป็นการส่งเสริมความรู้ เพื่อพัฒนาต่อยอดการสร้างอาชีพเพิ่มมูลค่าเพิ่มและสร้างรายได้ให้กับชุมชน การวิธีการปลูกแตงโมลอยฟ้าแบบโรงเรือนโดยใช้ปุ๋ยผสมเปลือกปูม้าให้ ยังถือเป็นการต่อยอดโครงการส่งเสริมธนาคารปูม้าให้กับกลุ่มวิสาหกิจแตงโมชุมชนเกาะสุกร สร้าง แนวคิดด้านใช้ประโยชน์จากเปลือกปูม้า ให้เกิดความคุ้มค่าจากทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชน เนื่องจากเปลือกปูม้ามีแคลเซียม และแมกนีเซียมซึ่งเป็นแหล่งธาตุอาหารที่มีประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตของพืช ทำให้คุณภาพของแตงโมมีรสชาติที่ดีขึ้นและมีความแข็งแรงของต้นกล้า และปลอดสารพิษไม่มีสิ่งตกค้างเหมาะสำหรับผู้บริโภคที่ใส่ใจสุขภาพ สาย healthy ถือเป็นกระแสที่กำลังมาแรงในขณะนี้
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: