X
เกษตรย่านตาขาว,กลุ่มอารักขาพืช ,สำนักงานเกษตรจังหวัดตรัง,เกษตรจังหวัดตรัง,โรงใบร่วง,เกษตรตรัง, โรงใบร่วงในยางพารา,

เกษตรจังหวัดตรัง แนะ 3 แนวทางเมื่อเกิดการแพร่ระบาดของโรคใบร่วงยางพาราชนิดใหม่

เกษตรย่านตาขาว ร่วมกับกลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดตรัง ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์ การแพร่ระบาดของโรคใบร่วงยางพาราชนิดใหม่ เกิดจากเชื้อรา Pestalotiopsis sp., Colletotrichum sp. ในอาการเริ่มแรก จะเกิดจุดช้ำบริเวณใต้ใบ

โรคใบร่วงยางพารา : วันที่ 12 ตุลาคม 2565 นางแพรวพรรณ ทองพิทักษ์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ ร่วมกับนางสุภัชชา ณ พัทลุง หัวหน้ากลุ่มอารักขาพืช พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดตรัง ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์ การแพร่ระบาดของโรคใบร่วงยางพาราชนิดใหม่ โดยมี นางละออง ดำช่วย เกษตรกรเจ้าของแปลง เป็นผู้ให้ข้อมูลการระบาดของโรคพืชในแปลง และนำเดินสำรวจพื้นที่ในแปลงยางพารา

เพื่อสำรวจโรคพืชในพื้นที่แปลงปลูก ซึ่งตั้งอยู่หมู่ที่ 10 ตำบลทุ่งค่าย อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง ผลจากการสอบถามข้อมูล พบว่า มีการระบาดของโรคใบร่วงยางพาราชนิดใหม่ในพื้นที่ปลูกเป็นวงกว้าง ซึ่งโรคใบร่วงยางพาราชนิดใหม่ เกิดจากเชื้อรา Pestalotiopsis sp., Colletotrichum sp. ในอาการเริ่มแรก จะเกิดจุดช้ำบริเวณใต้ใบ และด้านบนของใบบริเวณเดียวกันจะเป็นสีเหลืองลักษณะกลม ต่อมาจะขยายใหญ่ขึ้นกลายเป็นสีคล้ำ ขอบแผลดำ

และกลายเป็นเนื้อเยื่อแห้งสีน้ำตาลจนถึงขีดขาวซีด รูปร่างจุดแผลค่อนข้างกลม รอบแผลไม่มีสีเหลืองล้อมรอบ จำนวนมากกว่า 1 จุด อาจซ้อนกันเป็นแผลขนาดใหญ่ เมื่ออาการรุนแรงจะเกิดใบเหลืองและร่วง เบื้องต้นพบว่าในพื้นที่ดังกล่าวมีการร่วงของใบยางพาราเพิ่มขึ้นและโรคมีการพัฒนาเพิ่มขึ้นคือ ลักษณะใบยางพาราเป็นวงกลมคล้ายดอกกุหลาบ อาจเป็นเพราะมีฝนตกชุกอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีความชื้นสูงตลอดเวลา ส่งผลให้ใบยางพาราร่วงเพิ่มขึ้น เบื้องต้นทางเจ้าหน้าที่ได้ให้คำแนะนำว่า 3 ทางดังนี้

1) ใส่ปุ๋ยบำรุงสม่ำเสมอ เพื่อสร้างความสมบูรณ์ให้กับต้นยางพารา เมื่อเกิดอาการใบเหลืองและร่วง ต้นยางจะสามารถสร้างใบใหม่ออกมาทดแทนใบยางที่ร่วงเนื่องจากโรคได้อย่างรวดเร็ว
2) ใช้จุลินทรีย์ปฏิปักษ์ ได้แก่ เชื้อราไตรโคเดอร์มา (โดยผสมเชื้อสด 1 กิโลกรัม : รำละเอียด 4 กิโลกรัม : ปุ๋ยหมัก 100 กิโลกรัม โรยรอบโคนต้น ต้นละ 1 กิโลกรัม หรือใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา 1 กิโลกรัม ต่อน้ำสะอาด 100-200 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วแปลง)

ควบคุมเชื้อสาเหตุโรคที่ติดมากับใบที่ร่วงลงดิน และจะช่วยส่งเสริมให้ต้นยางแข็งแรง หรือใช้เชื้อจุลินทรีย์ Bacillus subtilis (Bs) โดยการนำผงเชื้อ 1 กรัม เติมลงในน้ำสะอาด 1 ลิตร เขย่าให้เข้ากันและตั้งทั้งไว้เป็นเวลา 2 วัน (เขย่าเป็นบางเวลา) และนำหัวเชื้อที่ได้ไปผสมน้ำ 10 ลิตร เพื่อนำไปฉีดพ่นหรือราดต้นพืชที่ต้องการเพื่อป้องกันกำจัดโรคพืช
3) พ่นสารเคมีควบคุมโรค โดยฉีดพ่นบริเวณทรงพุ่มและพื้นดินให้ทั่วแปลงเมื่อพบการระบาดที่รุนแรง โดยฉีดพ่นพุ่มใบอย่างน้อย 2 ครั้ง ทำซ้ำทุก 7-15 วัน และฉีดพ่นพื้นสวนที่มีใบที่เป็นโรคร่วงหล่น.

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน