พระพุทธรูป หลวงพ่อแก้ว วัดในเขา จ.ตรัง ถูกทิ้งในสวนยางพาราริมป่าช้า ยาวนาน 46 ปี ซึ่งเจ้าอาวาสรูปปัจจุบันกลับไปพบ จึงอธิฐานหากพระพุทธรูปดังล่าวอยากกลับวัด ขอให้ญาติโยมนำกลับไปบูรณะ ผ่านไปเพียงแค่ 7 วัน เกิดเรื่องปาฎิหารย์ บังเอิญได้มีญาติโยมมาเข้ามาติดต่อขอบูรณะจริงๆ ทั้งที่ไม่เคยรู้เรื่องนี้มาก่อน ชาวบ้านแห่เข้ากราบไหว้ ไม่พลาดหาเลขเด็ดเสี่ยงโชค งวดวันที่ 2 พ.ค.นี้
หลวงพ่อแก้ว : เมื่อเวลา 10.00 น. วันนี้ 30 เม.ย.66 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่บริเวณลานธรรม วัดในเขา ต.บ้าหวี อ.หาดสำราญ จ.ตรัง พระมหารัตนากร ปวโร (นาคพล) เจ้าอาวาสวัดฯ และยังเป็นเจ้าคณะ ต.ท่าพญา และเลขาฯ เจ้าคณะอำเภอปะเหลียน นายถนอม ชิตแก้ว ประธานคณะกรรมการวัดฯ และเป็นอดีตกำนันตำบลบ้าหวี พร้อมด้วย ชาวบ้านในชุมชน ได้ร่วมกันอัญเชิญพระพุทธรูปพระพุทธรตนโชติ (หลวงพ่อแก้ว) อายุเก่าแก่ประมาณ 46 ปี ซึ่งเป็นพระพุทธรูปเก่าแก่ของชุมชน ที่ถูกทิ้งไว้ภายในสวนยางพาราของเช้าบ้านซึ่งอยู่ติดกับป่าช้าของวัดมาประดิษฐานภายในวัด ตั้งแต่วันที่ 27 เม.ย.66 ซึ่งตรงกับวันพระ ได้มีบรรดาญาติโยมได้เข้ามากราบไหว้กันอย่างไม่ขาดสาย โดยจะจัดตั้งไว้จนถึงวันที่ 10 พ.ค. เพื่อนนำไปบูรณะซ่อมแซมให้กลับมาสมบูรณ์
ภายหลังจากที่ พระมหารัตนากรฯ เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน ได้ไปพบเจอพระพุทธรูปองค์ดังกล่าว จึงได้อธิฐานว่าถ้าพระพุทธรูปองค์ดังกล่าวอยากจะมาประดิษฐานอยู่ภายในวัดในเขา ขอให้ดลจิตใจให้มีญาติโยมนำกลับมาบูรณะ ซึ่งหลังจากนั้นไม่นานเพียงแค่ 7 วัน ได้มีญาติโยมเข้ามาถวายสังฆทาน แล้วอยู่ ๆ ญาติโยมก็พูดว่าถ้ามีพระพุทธรูปอยากให้สร้างหรือซ่อม โยมมีลูกชายเป็นช่างปั้น ให้พระมหารัตนากรฯ แจ้งความประสงค์ได้เลย ทำให้พระมหารัตนากรฯ ก็ได้เอ๋ยปากว่าได้อธิฐานไปเมื่อ 7 วันก่อนเอง จึงได้บูรณะพระพุทธรูปองค์ดังกล่าวจริง ๆ และหลังจากนั้นพระมหารัตนากรฯ จึงได้นิมนต์พระพุทธรูปดังกล่าวมาประดิษฐานไว้ที่วัด พร้อมทั้งทางญาติโยมก็ได้มารับเป็นเจ้าภาพบูรณะในเวลาเดียวกัน
พระมหารัตนากร ปวโร (นาคพล) เจ้าอาวาสวัดฯ กล่าวว่า ในพื้นที่ของ ต.บ้าหวี แต่เดิมไม่มีวัด เมื่อถึงเวลาจะร่วมงานบุญ ชาวบ้านต้องเดินทางไปยังวัดหนองสมาน ต.หาดสำราญ ประกอบกับการสัญจรในสมัยก่อนถนนหนทางลำบาก จนในปี พ.ศ.2509 มีครอบครัวของนายคริ้ง นางเหียบ ชิตแก้ว ได้บริจาคมอบที่ดินจำนวน 7 ไร่ เพื่อเป็นที่สร้างวัด ชาวบ้านส่วนใหญ่เห็นด้วย จึงรวมตัวกันสร้าง แล้วส่งตัวแทนเดินทางไปนิมนต์ พระเหียม เพชรอินทร์ เป็นพระลูกวัดนานอน ต.นาท่ามใต้ อ.เมือง จ.ตรัง จึงตั้งชื่อ ‘สำนักสงฆ์คีรีราชพัฒนา’ ช่วงระหว่างปี พ.ศ.2509-2520 ระยะเวลา 11 ปี แล้วจึงลาสิกขาบทออกไปซื้อที่ดินปลูกยางพารา สร้างบ้านอยู่ ติดกับป่าช้า อยู่ห่างกับสำนักสงฆ์ฯ ประมาณ 1 กิโลเมตร
ข่าวน่าสนใจ:
- ตรัง คู่ซี้ พระ-ฆราวาส เมาแอ๋ด่าทอชาวบ้านใกล้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อาละวาดอ้างมีปืน ทำชาวบ้านแตกตื่น ตร.หิ้วปีกบังคับสึก กร่างไม่เลิกบอกรู้จักพระผู้ใหญ่
- วิกฤตพะยูนตรัง 7 วันสำรวจ พบแค่ตัวเดียว ทดลองวางแปลงอาหาร กลับถูกเมินไม่ยอมกิน
- ตรัง จัดใหญ่ 12 วัน งานฉลองรัฐธรรมนูญและงานกาชาดจ.ตรัง 4-15 ธ.ค.นี้ รีแบร์นใหม่! ย้อนยุคงานเหลิมแต่แรก แสดงบินโดรนพิธีเปิด วธ.ทุ่ม 3.4 ล้าน…
- ชวนชิม 'ศรีบุญเรือน' ร้านข้าวต้มต้นตำรับ สืบทอดสามรุ่น เสน่ห์ร้านข้าวต้มยามค่ำคืน ที่รวมอาหารจีน อาหารเหลา อาหารใต้ไว้ในร้านเดียว
พระมหารัตนากร กล่าวต่อไปว่า ในช่วงที่ทำสวนอยู่นั้น ในยามว่าง ‘ทิดเหียน’ ซึ่งมีพรสวรรค์ในการปั้น จึงได้ออกแบบปั้นพระพุทธรูป ด้วยปูนซิเมนต์ ตามแบบแนวคิด ชื่อพระพุทธรตนโชติ (หลวงพ่อแก้ว) ทำการปั้นด้วยมืออยู่ในสวนยางพารา สร้างจนแล้วเสร็จจำนวน 2 องค์ ต่อมาได้ขายที่ดินสวนยางพาราดังกล่าวให้กับคนในพื้นที่ แล้วกลับไปอยู่บ้านเกิด และเสียชีวิตภายหลัง โดยเจ้าของที่ใหม่ก็ไม่ได้ทำลายพระพุทธรูปองค์ดังกล่าวแต่อย่างได ทั้งที่ได้ล้มยางพาราแล้วปลูกใหม่ทดแทนไปแล้ว อีกไม่นานได้มีชาวบ้าน ในพื้นที่ ต.แหลมสอม อ.ปะเหลียน ได้ฝันว่ามีพระพุทธรูปอยู่ข้างป่าช้า ใน ต.บ้าหวี จำนวน 2 องค์ จึงเดินทางไปตรวจสอบและพิสูจน์ตามฝัน ผลปรากฏว่ามีจริงๆ จึงได้ทำการอัญเชิญ องค์เล็กไปบูชาที่วัดโคกมะขาม หรือวัดหาดเลา เพียงองค์เดียว จนเป็นที่เคารพบูชามาจนถึงปัจจุบัน ส่วนที่เหลืออีกหนึ่งองค์ ยังปล่อยทิ้งอยู่ในสวนยางพารา
พระมหารัตนากร กล่าวอีกว่า เวลาได้ผ่านไป ทางสำนักสงฆ์คีรีราชพัฒนา ได้ยกฐานะขึ้นมาเป็นวัด โดยมีเจ้าอาวาสถึง 2 รูปด้วยกัน ซึ่งทั้งสองได้มรณภาพไปหมดแล้ว รวมทั้งพระเหียน จนวันที่ 10 ก.ค. 64 หรือ 2 ปีกว่าที่ผ่านมา ทางคณะสงฆ์ ได้มีคำสั่ง ส่งพระนักเทศน์ ทุ่นเล่าเรียนหลวง รุ่นที่ 1 เจ้าอาวาสรูปใหม่ คืออาตมา พระมหารัตนากร ปวโร (นาคพล) เข้ามารับตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดในเขา เป็นเจ้าคณะ ต.ท่าพญา และเลขาฯ เจ้าคณะอำเภอปะเหลียน
ขณะที่ นายถนอม ชิตแก้ว ประธานคณะกรรมการวัดในเขา และเป็นอดีตกำนันตำบลบ้าหวี กล่าวว่า ‘ทิดเหียน’ เป็นคนเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา จึงได้หล่อปั้นพระพุทธรูป โดยปั้นด้วยมือของตนเอง จำนวน 2 รูป ในลักษณะเดียวกันแต่ขนาดต่างกัน ขณะเดียวกันเวลาผ่านมาท่านพระมหารัตนากร ปวโร (นาคพล) ได้ไปสำรวจบริเวณป่าช้าดังกล่าว ท่านก็ได้บอกพระพุทธรูปองค์ดังกล่าว ถ้าท่านจะกลับวัดให้หาช่างปั้นรูปตกแต่งให้สวยงามมารับบูรณะ ในขณะนั้นเวลาถัดมาได้มีเจ้าภาพแสดงความประสงค์รับเป็นเจ้าภาพทางพระมหารัตนากร ปวโร (นาคพล) จึงได้นิมนต์กลับวัด
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าหลังจากที่พระพุทธรูปดังกล่าวได้ถูกนำมาบูรณะและประดิษฐานภายในวัด ได้มีบรรดาญาติโยมและสาธุชนแห่กันเข้ามาจุดธูป เทียน นำดอกไม้ ไปวางยังหน้าพระพุทธรูปทันที และต่างขอพร ขอโชคลาภ โดยที่ส่วนใหญ่ต่างนำเอาอายุของพระพุทธรูปคือ 46 ปี และวันที่ในการนำพระพุทธรูปองค์ดังกล่าวมาประดิษฐานคือวันที่ 27 ตรงกับ ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 6 และบางรายถึงกับเห็นเลข 460 ซึ่งต่างก็นำไปซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาล ที่ได้มีพ่อค้ามาจำน่ายกันถึงภายในวัด.
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: