ตรัง สร้างนวัตกรเลี้ยงหอยนางรมคอนโดให้ชุมชนชายฝั่ง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง ผศ.มาโนช ขำเจริญ คณบดีคณะวิทยาและเทคโนโลยีการประมง สนับสนุนโครงการการถ่ายทอดเทคโนโลยีและระบบการเลี้ยงหอยนางรมเพื่อสร้างอาชีพทางเลือกให้กับชุมชนชายฝั่งจังหวัดตรัง
เลี้ยงหอยนางรม : โดย ผศ. สุพัชชา ชูเสียงแจ้ว หัวหน้าโครงการ พร้อมทีมวิจัย และคณะทำงานดำเนินโครงการขยายผลวิจัยเทคโนโลยีที่เหมาะสม (Appropriate Technology) ภายใต้แผนงานริเริ่มสำคัญ (Flagship) ซึ่งก่อนหน้านี้ได้มีการดำเนินโครงการ “สร้างนวัตกรเลี้ยงหอยนางรมแบบคอนโดแก่เกษตรกรชุมชนชายฝั่ง” มาแล้วนั้น
เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2566 ณ โรงเพาะพันธุ์หอยทะเล คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง มทร.ศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง ผศ. สุพัชชา ชูเสียงแจ้ว หัวหน้าโครงการ พร้อมทีมวิจัย และคณะทำงาน จัดโครงการฝึกอบรม และศึกษาดูงาน เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีและระบบการเลี้ยงหอยนางรม สร้างอาชีพทางเลือกให้กับชุมชนชายฝั่งจังหวัดตรัง “ชุมชนนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน” ประจำปีงบประมาณ 2566
ซึ่งได้รับการสนับสนุนวิจัยจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) โดยมีเกษตรกรชุมชน เข้าร่วม จำนวน 20 คน ได้แก่เกษตรกรชุมชน บ้านทอนหาร และหยงสตาร์ ต. ท่าข้าม อ. ปะเหลียน จ.ตรัง โดยทั้ง 2 ชุมชน เป็นชุมชนที่มีการเลี้ยงปลาในกระชัง รวมถึงหอยนางรมที่จัดหามาจากแหล่งธรรมชาติในชุมชน ถือเป็นแหล่งที่มีความอุดมสมบูรณ์และเป็นแหล่งที่เหมาะสมต่อการส่งเสริมการเลี้ยงหอยนางรม
ข่าวน่าสนใจ:
ด้าน ผศ.สุพัชชา ชูเสียงแจ้ว หัวหน้าโครงการ กล่าวว่า การดำเนินการฝึกอบรม ถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการเพาะเลี้ยงหอยนางรมแก่เกษตรกรชุมชนนั้นเป็นการอบรมเชิงปฏิบัติการ ตั้งแต่การจำแนกเพศหอยนางรม การเพาะพันธุ์ การอนุบาลลูกหอยให้มีขนาด 5 มม. ในโรงเพาะฟัก การอนุบาลลูกหอยนางรมขนาด 5 มิลลิเมตรในระบบทุ่นลอยน้ำในบ่อดิน จนถึงขนาดประมาณ 1-2 เซนติเมตร
จากนั้นนำลูกหอยที่ได้อนุบาลต่อในตะกร้าพลาสติก จนกระทั่งมีขนาด 3-4 เซนติเมตร โดยใช้เวลาประมาณ 2-3 เดือน ซึ่งเป็นขนาดที่สามารถนำออกเลี้ยงในแหล่งน้ำธรรมชาติ โดยเกษตรกรชุมชนกลุ่มดังกล่าว สามารถนำองค์ความรู้ที่ได้จากการอบรมไปปรับใช้กับการเลี้ยงหอยนางรมในพื้นที่ของตนเองเพื่อให้มีอัตราการรอดและการเจริญเติบโตที่ดี สร้างรายได้จากการเพาะพันธุ์ การอนุบาลลูกหอยให้มีขนาด ใหญ่ขึ้นเพื่อจำหน่ายไปยังกลุ่มผู้บริโภค หรือจำหน่าย พันธุ์ลูกหอยนางรมไปยังเกษตรกรรายอื่นๆ โดยราคาจะอยู่ที่หอยนางรมขนาด 1 ซม.จะขายต่อในราคาตัวละ 1 บาท หรือมากว่านั้นขึ้นอยู่กับขนาดของลูกพันธุ์หอยนางรม
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: