กลุ่มผู้พิการ จ.ตรัง สู้ชีวิตไม่ท้อ ร่วมประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์หัตกรรมจักสานและงานฝีมือออกขายสร้างรายได้เสริมเลี้ยงตัว บอกไม่มีใครอยากเป็นภาระสังคม สินค้ามีจำหน่ายที่การประปาส่วนภูมิภาคจังหวัดตรัง สำนักงานคุ้มประพฤติฯ และที่ทำการชมรมฯ
กลุ่มผู้พิการ วันที่ 14 พฤษภาคม 2562 ที่ทำการชมรมคนพิการเทศบาลนครตรัง เลขที่ 34/123 ถนนสังขวิทย์ ซอย2 ต.ทับเที่ยง อ.เมือง จ.ตรัง กลุ่มผู้พิการซึ่งเป็นสมาชิกของชมรมได้ร่วมกันประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์จักสานเส้นพลาสติกหลากหลายชนิด อาทิ ตะกร้าใส่ผลไม้ ตะกร้าใส่ผ้า กระเช้าใส่ของขวัญกระเป๋าสะพาย กระเช้าใส่ขวดน้ำ ที่ใส่กระดาษทิชชู ฯลฯ
เพื่อนำออกจำหน่ายสร้างรายได้เสริมให้กับสมาชิก และทันต่อความต้องการของลูกค้าที่สั่งซื้อเข้ามาอย่างต่อเนื่อง จนผลิตภัณฑ์บางอย่าง เช่น กระเช้าใส่ขวดน้ำ ผลิตแทบไม่ทัน เนื่องจากใช้งานได้เอนกประสงค์ และได้ตะกร้าสวย ๆ ฝีมือดีราคาถูกกว่าท้องตลาดแล้ว ยังได้ช่วยเหลือผู้พิการให้มีรายได้เสริมไปเลี้ยง
นางสาวสุกานดา สุริยะรังษี ประธานชมรมคนพิการเทศบาลนครตรัง กล่าวว่า ปัจจุบันสินค้ามีจำหน่ายที่การประปาส่วนภูมิภาคจังหวัดตรัง สำนักงานคุ้มประพฤติฯ และที่ทำการชมรมฯ หรือตามออเดอร์ของลูกค้า สมาชิกก็ร่วมกันผลิตกันอย่างตั้งใจ ทั้งนี้ นอกกจากมีผลิตภัณฑ์เครื่องจักรสานแล้วก็ยังมีการประดิษฐ์ดอกไม้มงคล เช่น ดอกโพธิ์เงิน โพธิ์ทอง และ ต้นมะยม
ซึ่งประดิษฐ์จากลูกปัด ลวด และกระดาษสี ซึ่งการเรียนรู้และการฝึกฝนประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจากหลายหน่วยงาน เช่น สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จ.ตรัง กศน.อำเภอเมืองตรัง จัดทำโครงการฯ ขึ้น เพื่อส่งเสริมอาชีพให้กลุ่มผู้พิการที่มีศักยภาพ
ข่าวน่าสนใจ:
- ตรัง "เมนูลูกปลาปิ้งเครื่อง" จับปลาสดๆจากแหล่งน้ำธรรมชาติ ปรุงเป็นอาหารพื้นบ้านแสนอร่อย
- ตรัง แม่ค้าร้านดังถูกหลอก อ้างเป็นเลขานายกฯสั่งข้าวกล่องช่วยน้ำท่วมสูญเงิน 3 พัน
- หมดวาระอบจ.ตรัง รุ่งขึ้น “บุ่นเล้ง” เปิดตัวทันควัน ใช้ชื่อ “ทีมนายกบุ่นเล้ง” แทน “ทีมกิจปวงชน” ชูนโยบาย “รวมพลังที่ยิ่งใหญ่ ขับเคลื่อนตรังให้เป็น 1”
เพราะลำพังเงินช่วยเหลือที่รัฐบาลจัดสรรให้ผู้พิการคนละ 800 บาท ไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพอีกทั้ง ผู้พิการรุ่นใหม่ไม่มั่วแต่รอคอยการช่วยเหลือจากภาครัฐเพียงอย่างเดียวแต่ต้องพยายามหาลู่ทางสร้างงานสร้างอาชีพ เพื่อสามารถมีรายได้เลี้ยงตัวเองและครอบครัวได้อย่างมีศักดิ์ศรี
ซึ่งสมาชิกกลุ่มผู้พิการใช้เวลาเรียน7วัน ก็สามารถจักสานได้ และนำออกจำหน่าย ซึ่งจะชมรมฯก็มีรายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ประมาณเดือนละ 2,000-3,000 บาท ราคาสินค้าก็มีตั้งแต่ 40-450 บาท ขึ้นอยู่กับชนิดของสินค้า โดยจะแบ่งรายได้ให้กับคนจักสานใบละ 50 -150บาท แล้วแต่ความยากง่ายและราคาของภาชนะแต่ละชิ้น
ซึ่งทุกคนสามารถนำกลับไปทำที่บ้านได้ โดยวัสดุทุกอย่างไม่ต้องหาซื้อ เนื่องจากมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้การสนับสนุน และยังหาตลาดให้ ทำเสร็จนำมาส่งและรับเงินกลับบ้านได้ทันที โดยผลิตภัณฑ์ที่ขายได้สร้างความภาคภูมิใจให้กับผู้พิการเป็นอย่างมาก
นายทะนง อำไพ อายุ 40 ปี อยู่บ้านเลขที่ 27 ม.9 ต.ท่าสะบ้า อ.วังวิเศษ จ.ตรัง หนึ่งในสมาชิกผู้พิการ กล่าวว่า ตนเองใช้เวลาไม่นานในการเรียนรู้และฝึกฝนประดิษฐ์ดอกไม้มงคล ก็รู้สึกดีใจที่มีการฝึกอาชีพให้ผู้พิการ ทำให้มีรายได้เสริมอีกทางหนึ่ง ซึ่งก็ตั้งใจทำไปเรื่อยๆ หากมีการสอนทำผลิตภัณฑ์อื่นๆ เพิ่มเติมตนก็พร้อมจะเรียนรู้เพิ่ม เพราะพวกตนก็อยากมีรายได้พอเลี้ยงตัวเองได้และไม่มีใครอยากเป็นภาระสังคม
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: