ตรัง: เกษตรกรตรังปลูกกะหล่ำปลีสำเร็จ ใช้พื้นที่แค่ไร่เศษสร้างรายได้ นับแสนบาท เน้นปลูกผักหมุนเวียนแบบผสมผสาน สร้างรายได้ตลอดทั้งปี มีทีเด็ดใช้น้ำมักเป็นตัวกำจัดแมลงและบำรุงดิน
วันที่ 3 มีนาคม 2561 ที่สวนผักสุขรัก ของนางกัลยารัตน์ หมุนเวียน Young Smart Farmer ต้นแบบจังหวัดตรัง และครอบครัว อาศัยอยู่บ้านเลขที่ 92 หมู่ 3 ต.กะลาเส อ.สิเกา จ.ตรัง พบกับแปลงผักกะหล่ำปลี กะหล่ำดอกและผักใบเขียนมากมาย บนพื้นที่ไร่เศษ และในช่วงนี้กะหล่ำปลีพร้อมที่จะตัดส่งขายให้กับกลุ่มลูกค้าที่รักสุขภาพ และกะหล่ำดอกก็กำลังออกดอกเช่นกัน
นางกัลยารัตน์ หมุนเวียน กล่าวว่าตนเอง ไม่สารมารถทานผักที่ซื้อมาจากท้องตลาดได้เนื่องจากแพ้สารพิษที่ตกค้างในพืชผัก เลยต้องปลูกผักทานเอง แรกๆก็จะปลูกผักที่โตเร็วดูแลง่ายอย่างผักบุ้ง ผักกวางตุ้ง แตงกวา เมื่อมีผลผลิตมากก็นำออกขายให้กับเพื่อนบ้าน แต่ด้วยความรักและสนใจในผักเมืองเหนือที่มีความสวยงามอย่างกล่ำปลีที่มีลักษณะเหมือนดอกกุหลาบ
ตนเองเลยให้เพื่อนที่อยู่จังหวัดเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ส่งเมล็ดพันธุ์มาทดลองปลูกปีแรก ไม่ประสบความสำเร็จ เลยศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมและทดลองปลูกใหม่จนประสบผลสำเร็จ และสามารถนำออกจำหน่ายได้ นอกจากที่สวนผักสุขรัก จะปลูกกะหล่ำปลี กะหล่ำดอกแล้วยังมีคะน้าหอม ผักกวางตุ้ง ผักขาดขาว ผักบุ้ง ฯ โดยจะปลูกหมุนเวียนกันไปตามฤดูกาล และต้องศึกษาว่าในช่วงอายุผักกี่วันที่เดือนถึงจะเก็บเกี่ยวได้ และจะได้ผลดีต้องปลูกช่วงฤดูกาลไหน
ทั้งนี้ สวนสุขรัก มีวิธีการดูแลและกำจัดศัตรูพืชด้วยระบบธรรมชาติ กล่าวคือ การปล่อยให้หญ้าขึ้นในแปลงผักเพราะแมลงจะมากินดอกหญ้า ใช้น้ำหมักชีวภาพในการกำจัดศัตรูพืช และเป็นการให้ปุ๋ยไปในตัวด้วย นอกจากนี้จะใช้กาวดังแมลงแทนการใช้สารเคมีฉีดพ่น
ข่าวน่าสนใจ:
- ตรัง "เมนูลูกปลาปิ้งเครื่อง" จับปลาสดๆจากแหล่งน้ำธรรมชาติ ปรุงเป็นอาหารพื้นบ้านแสนอร่อย
- ตรัง แม่ค้าร้านดังถูกหลอก อ้างเป็นเลขานายกฯสั่งข้าวกล่องช่วยน้ำท่วมสูญเงิน 3 พัน
- หมดวาระอบจ.ตรัง รุ่งขึ้น “บุ่นเล้ง” เปิดตัวทันควัน ใช้ชื่อ “ทีมนายกบุ่นเล้ง” แทน “ทีมกิจปวงชน” ชูนโยบาย “รวมพลังที่ยิ่งใหญ่ ขับเคลื่อนตรังให้เป็น 1”
ในปีหนึ่งๆ ตนและครอบครัวจะมีราชได้จากการขายผักได้มากกว่า ปีละ 400,000 – 500,000 บาท เลยที่เดียว กลุ่มลูกค้าหลักๆจะเป็นโรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงพยาบาล เพราะเป็นผักปลดสารพิษ 100% ผักที่ปลูกในสวนสุขรักได้รับรองมาตรฐาน GAP จากกรมวิชาการเกษตรเป็นที่เรียบร้อย
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: