เพชรภูไพรโฮมสเตย์ สองพี่น้องชาวอ.รัษฎา จ.ตรัง ใช้ที่ดินกว่า 3 ไร่ เปิดเป็นโฮมสเตย์ให้นักท่องเที่ยวแวะพักมานานกว่า 10 ปีแล้ว ล่าสุดผุดไอเดียสร้างโฮมสเตย์บนต้นไม้ขึ้น 2 หลังโดยใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านหวังดึงดูดนักท่องเที่ยวให้แวะพักมากขึ้น
เพชรภูไพรโฮมสเตย์ วันนี้(1 ก.ค.62) สองพี่น้องชาวตำบลหนองบัว อ.รัษฎา จ.ตรัง ใช้ที่ดินกว่า 3 ไร่เปิดเป็นโฮมสเตย์จำนวน 6 หลัง ให้ชื่อว่า “เพ็ชรภูไพร” เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้แวะพักมานานกว่า 10 ปีแล้ว เน้นใช้วัสดุธรรมชาติตามหัวไร่ปลายนาในที่ดินของตนเอง โดยสร้างเลียนแบบธรรมชาติให้ได้มากที่สุด เนื่องจากพื้นที่ของตนอยู่ติดกับภูเขา
ซึ่งยังมีสัตว์ป่า เช่น นก กระรอกกระแต ค่างและชะมดเป็นจำนวนมาก ล่าสุดเมื่อ 2 เดือนที่ผ่านมาได้ใช้ไม้สะเดาเทียมที่ล้มอยู่ข้างบ้าน มาทำห้องพักเพิ่ม โดยศึกษาจากยูทูปและเห็นว่านักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ จะชื่นชอบบ้านพักบนต้นไม้
จึงลงมือสร้างด้วยไม้สะเดาเทียมที่มีอยู่ หลังแรกมีความสูงจากพื้นดิน 4 เมตร สร้างโอบล้อมต้นมะปรางอายุกว่า 300 ปี เหลือเพียงสร้างห้องน้ำอีกประมาณ 1 เดือนจึงสามารถเปิดให้บริการได้
ส่วนหลังที่ 2 สร้างโอบล้อมต้นเหรียงอายุกว่า 400 ปี มีความสูงจากพื้นดินประมาณ 5 เมตร ต้นนี้มีความกว้างรอบลำต้นขนาด 7 คนโอบ กำลังเร่งก่อสร้าง ซึ่งบ้านต้นไม้ทั้งสองหลัง คิดค่าบริการปกติคือคนละ 200 บาท แต่ละหลังสามารถนอนได้ 5-7- คน
ข่าวน่าสนใจ:
ไม่รวมค่าอาหารพื้นบ้านอีกคนละ 150 บาท เมื่อแวะพักที่เพ็ชรภูไพรแล้ว นักท่องเที่ยวสามารถเดินเที่ยวชมป่าตามเส้นทางธรรมชาติ
หรือไปแวะเล่นน้ำที่ถ้ำพระยาพิชัยสงคราม ถ้ำนาคราช โบราณสถานและวิสาหกิจชุมชนได้อย่างสนุกสนานตลอดทั้งวัน เป็นราคาเบา ๆ ที่อยากเชิญชวนนักท่องเที่ยวไปสัมผัส โดยมีสถานที่จัดเลี้ยงสัมมนาในราคาถูกสุด ท่ามกลางขุนเขาและอากาศที่เย็นสบาย ซึ่งอาหารว่างคือของป่าหายาก เช่น ลูกชก ลูกประ มะไฟกาและสาคู
ด้านนายวิรัตน์ เพ็ชรสงค์ อายุ 49 ปี เจ้าของโฮมสเตย์บนต้นไม้กล่าวว่า ตรังยังไม่มีบ้านต้นไม้เพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยวจึงทำให้แหวกแนวเพื่อเป็นเอกลักษณ์ของชุมชนบ้านหน้าเขา-ในวัง โดยมีที่พัก 6 หลัง มีบ้านต้นไม้ 2 หลังหลังแรกสูง 4 เมตร
หลังที่ 2 สูง 5 เมตร มีต้นมะปรางกับต้นเหรียง อายุกว่า 300-400 ปี จึงอยากให้นักท่องเที่ยวที่มีความต้องการเที่ยวแบบธรรมชาติและความเป็นดั้งเดมิของชุมชน เรื่องอัตลักษณ์ก็เชิญเที่ยวได้ตลอดทั้งปี ส่วนไม้ใช้ไม้เทียมหรือไม้หัวไร่ปลายนา ใช้เวลาทำไม่เกิน 3 เดือนจึงแล้วเสร็จ
https://youtu.be/hqykt2qiZj4
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: