อาลัยมาเรียม หลับให้สบายนะ นางฟ้าของพวกเรา จนท.เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบงร่วมกับทีมสัตวแพทย์ จิตอาสา ผู้นำท้องที่ท้องถิ่น ทำการเฝ้าระวังลูกพะยูน (น้องมาเรียม) ตลอดเวลา แต่อาการเจ็บป่วยรุนแรงน้องมาเรียมไม่สารมารถทนต่อไปได้ตายในที่สุด
อาลัยมาเรียม : เมื่อวันที่ (16 สิงหาคม 2562) ตลอดทั้งวันตั้งแต่เวลา 08:00-19:00น. จนท.เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบงร่วมกับทีมสัตวแพทย์ จิตอาสา ผู้นำท้องที่ท้องถิ่น ทำการเฝ้าระวังลูกพะยูน (น้องมาเรียม)ในบ่อผ้าใบ โดยทำการสูบน้ำจากทะเลลงบ่อผ้าใบถ่ายน้ำออกจากบ่อพร้อมกันเป็นทำการวนน้ำ และต้มน้ำร้อนใส่ในบ่อ
เพื่อปรับอุณหภูมิในบ่อให้เหมาะสมกับการดำรงอยู่ของมาเรียม และเอาทรายใส่กระสอบทำทางเดินบริเวณขอบบ่อผ้าใบ เก็บหญ้าทะเลให้น้องมาเรียม และเจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายได้ทำการเฝ้าระวังตลอดเวลา
ต่อมาเวลาประมาณ 23:00 น.น้องมาเรียมเกิดอาการช๊อค ทีมสัตวแพทย์ได้ทำการช่วยเหลือโดยปั้มหัวใจ อยู่ประมาณ ครึ่งชั่วโมงก็เสียชีวิตในวันนี้(17สิงหาคม 2562) เวลา 00.09 น.
เมื่อเวลา 05.52 น. ของวันที่ (17สิงหาคม 2562) มีการผ่าพิสูจน์สาเหตุการเสียชีวิตของมาเรียม ทีมสัตวแพทย์ 10 คนจาก ทช จุฬา ทร. และ มทร.ร่วมกัน รองศาสตราจารย์นายสัตวแพทย์หญิง นันทริกา ซันซื่อ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำ คณะสัตวแพทย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า เศร้ามากค่ะ ที่พบว่าเธอตายโดยมีสาเหตุจากการช๊อค
ข่าวน่าสนใจ:
จากการเบื้องต้นจากเศษพลาสติกเล็กๆหลายชิ้นขวางลำไส้จนมีอาการอุดตันบางส่วนและอักเสบ จนทำให้มีแก๊สสะสมเต็มทางเดินอาหาร มีการติดเชื้อในกระแสเลือด ปอดเป็นหนอง ตามมา
ช่วงแรกของการรักษาสามารถลดการติดเชื้อในระบบหายใจลงได้บางส่วนแต่ในทางเดินอาหารที่มีขยะพลาสติกนั้นไม่สามารถรักษาได้ จึงลุกลามไปจนช๊อคเสียชีวิตในที่สุด รอยโรคอีกส่วนหนึ่งที่พบคือมีรอยช้ำเลือดในกล้ามเนื้อและผนังช่องท้องด้านใน ซึ่งอาจเกิดจากการกระแทกกับของแข็งที่ไม่มีคมเช่น โดนพะยูนอื่นชน
ทุกคนเศร้าเสียใจกับการสูญเสียครั้งนี้ แต่สิ่งที่ตอกย้ำให้ต้องแก้ไขถ้าจะอนุรักษ์ให้สัตว์ทะเลหายากยังคงอยู่กับเราต่อไปคือเรื่องการรักษาสิ่งแวดล้อมให้ทั้งคนและสัตว์
ทั้งนี้ขอบคุณทุกฝ่ายที่ช่วยกันมาโดยตลอด ขอบคุณท่าน รมว. ทส. ท่านจตุพร บุรุษพัฒน์ อธิบดี ทช. ท่านธญญา เนติธรรมกุล ท่าน ดร. ปิ่นสักก์ สุรัสวดี สัตวแพทย์ทุกๆคน อาสาสมัคร และประชาชนในเกาะลิบงเป็นอย่างสูงค่ะ รองศาสตราจารย์นายสัตวแพทย์หญิง นันทริกา ซันซื่อ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำ คณะสัตวแพทย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทุกท่าน
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: