รองนายกฯประชุมหารือสถานการณ์ฝุ่น PM2.5 ระบุ สื่อสารให้ประชาขนเข้าใจตรงกันยากและคนแข็งแรงแต่ไม่ได้อยู่กลางแจ้งเป็นระยะเวลานาน ก็ไม่จำเป็นต้องใส่หน้ากาก รวมถึงขอให้ฟังข้อมูลจาหน่วยงานราชการเท่านั้น!
(17 ม.ค. 62)เวลา 09.30 น. พล.อ. ฉัตรชัย สาริกัลยะ รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธานการประชุมหารือแนวทางการแก้ไขปัญหา PM2.5 พื้นที่กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ที่ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร
ข่าวน่าสนใจ:
- 33 ปี ยอยศยิ่งฟ้าอยุธยามรดกโลก 13-22 ธันวาคม 67
- กกต.ตรัง พร้อมเปิดสนาม จัดเลือกตั้งอบจ. เปิดยิม 4,000 ที่นั่งรับสมัคร พื้นที่กว้างขวางรองรับกองเชียร์ผอ.กกต.ตรัง เผยการข่าวพบ 3…
- เชียงใหม่- อบจ.มอบ 10 ล.เปิดศูนย์ รับ PM2.5 ปี 68
- สงขลา"ตลาดหัวลำโพง"สวรรค์การค้าชายแดนไทย-มาเลย์ รุ่งเรืองสุดสู่อนาคตที่อาจมืดดับ
ภายหลังการประชุม พล.อ.ฉัตรชัย ยอมรับว่าการสื่อสารเรื่องฝุ่น PM2.5 กับประชาชนให้เข้าใจตรงกันถือเป็นเรื่องยาก เช่น บางข้อมูลบอกว่ากรุงเทพฯมีค่า AQI (Air Quarlity Index) ที่สูงซึ่งค่า AQI นั้นประกอบด้วยหลายค่า หนึ่งในนั้นคือ PM10 ซึ่งสามารถใช้น้ำฉีดพ่นเพื่อบรรเทาได้ ซึ่งหลายหน่วยงานมีการวางแผนไว้แล้ว และย้ำว่าหากเดินสัญจรไปมาบนท้องถนน ในระยะเวลาสั้นๆ ฝุ่น PM2.5 จะไม่มีผลต่อร่างการจะเริ่มมีผลเมื่อไปอยู่ในที่ๆมีค่าฝุ่น PM2.5 เกินมาตรฐาน ซึ่งจะผลต่อร่างกายเมื่อสูดดมต่อเนื่องเกิน 12 ชม. ซึ่งทางกระทรวงสาธารณะสุขได้เตรียมความพร้อมรับผู้ป่วยที่ได้รับผลกระทบจากฝุ่น PM2.5 แล้ว
ขณะที่ในอีก 7 วันข้างหน้า มีความกดอากาศจากประเทศจีนลงมาอาจทำให้ฝุ่นกระจายตัวได้ช้า และได้มอบหมาย กระทรวงพาณิชย์ให้ควบคุมราคา ไม่ให้มีการขายหน้ากาก N95 เกินราคา ซึ่งเมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมาก็สามารถดำเนินการจับกุมไปได้แล้ว 2 ราย
และสุดท้าย พล.อ.ฉัตรชัย ระบุว่า ช่วงนี้ในหลายๆประเทศ คือช่วงที่มีอากาศเย็น จะทำให้อากาศไม่ถ่ายเท จึงทำให้การกระจายตัวของฝุ่นทำได้น้อย ซึ่งนายกรัฐมนตรีทราบและสั่งการมาตลอด เพียงแต่ว่าไม่ได้มีการรายงานออกมา และขอให้ทุกคนฟังข่าวสารจากภาครัฐ เนื่องจากนักวิชาการบางท่านที่ออกมาพูด อาจมีชุดข้อมูลที่ไม่ตรงกัน
ซึ่งจากข้อมูลของกรมควบคุมมลพิษ ระบุตั้งแต่ปี 2559-2561 สถานการณ์ฝุ่นควันไม่กระจายตัวจองกรุงเทพมหานครจะส่งผลต่อกันตั้งแต่เดือน ธันวาคม ถึง เดือนมีนาคม ซึ่งแหล่งที่มาส่วนใหญ่ของกรุงเทพมหานครคือ การจราจรถึง ร้อยละ 52 ซึ่งมาตรการระยะยาวตั้งแต่ปี 2561 คือการยกระดับมาตรฐานรถยนต์ให้เป็น
ใครบ้างที่ต้องใส่หน้ากาก ?
พญ.ฉันทนา ผดุงทศ ผู้อำนวย การสำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้กล่าวต่อระหว่างการแถลงข่าวว่า ผู้ที่จำเป็นต้องใส่หน้ากากคือคนที่ต้องเดินทางและอาศัยอยู่ในจุดที่มีค่าฝุ่นละอองเกินมาตรฐาน และอีกหนึ่งกลุ่มที่ควรจะใส่หน้ากากคือผู้ที่ทำงานหรือเดินทางกลางแจ้งเกิน 12 ชั่วโมงต่อวัน
และสำหรับกลุ่มคนที่มีโรคประจำตัว เช่นภูมิแพ้ ก็ควรต้องใส่หน้ากาก ส่วนผู้ที่แข็งแรงดีและไม่ได้ทำงานกลางแจ้งเป็นระยะเวลานาน ก็ไม่จำเป็นต้องใส่
เอาทิชชู่มาซ้อนหน้ากากอนามัยธรรมดาช่วยได้หรือไม่ ?
พญ.ฉันทนา ระบุว่า เนื่องจากการวิจัยดังกล่าวทำในห้องทดลองที่มีการควบคุม ดังนั้ยเมื่อนำมาใช้จริงอาจส่งผมทำให้ปนะสิทธิภาพจากการทดลองดังกล่าวลดลง เพราะมีตัวแปรอื่นๆเข้ามาส่งผล ซึ่งต้องดูบริบทในพื้นที่นั้นๆ
ขอให้เชื่อข้อมูลจากกรมควบคุมมลพิษ
วิจารย์ สิมาฉายา รองปลัดกรมควบคุมมลพิษ ระบุว่าเนื่องจากมีบางเว็บไซต์มีการนำข้อมูลมาแสดงผลด้วยตัวเลขที่สูงจึงทำให้ประชาชนตื่นตระหนก ดังนั้นจึงขอให้ประชาชนรับฟังข้อมูลจากหน่วยงานราชการด้วย เพราะ กรมฯ มีเครื่องตรวจจับฝุ่นละอองแม่นยำและมากที่สุดในกรุงเทพฯ ซึ่งทางกรมฯก็จะส่งข้อมูลและขอให้เว็บไซต์ดังกล่าว ปรับข้อมูลให้ตรงกับ เพราะมีการอ้างถึงแหล่งข้อมูลของกรมควบคุมมลพิษด้วย แต่ตัวเลขไม่ตรงกัน
โดยก่อนหน้านี้ วันที่ 16 มกราคม 2562 กรมควบคุมมลพิษ ได้จัดการประชุมเร็งรัดและทบทวน มาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหา PM2.5 ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
เพื่อทบทวนและเพิ่มเติมมาตรการให้มีความเข้มข้นยิ่งขึ้นและสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ซึ่งนายประลอง ดํารงค์ไทย อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ ได้รายงานในที่ประชุมว่าปัจจุบัน กรมควบคุมมลพิษมีสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศ 19 สถานี และสถานีของกรุงเทพมหานคร จํานวน 24 สถานี
ครอบคลุม กรุงเทพมหานครและปริมณฑล
โดยมาจากยานพาหนะประมาณร้อยละ 60 และการเผาในที่โล่ง ร้อยละ 35 โดยกรมควบคุมมลพิษและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีการดําเนินงานตามนโยบายของ เช่น การ
ตรวจจับควันดํา , การจํากัดเวลาห้ามรถบรรทุกเข้าพื้นที่กรุงเทพตามช่วงเวลาต่างๆ
ส่วนมาตรการระยะยาว จากการที่ได้หารือบริษัทผู้ผลิตรถยนต์และกระทรวงพลังงาน ที่จะเปลี่ยนน้ํามันดีเซลเป็น
B20 ที่มีผลวิจัยว่าช่วยลดการปลดปล่อยฝุ่นละอองได้ และการปรับเปลี่ยนรถยนต์เป็นรถยนต์ไฟฟ้า
สําหรับกรณีที่มีการเผยแพร่ข้อมูลว่า จุดความร้อนจากประเทศกัมพูชาเป็นปัจจัยเสริมในการเพิ่ม PM2.5 ในพื้นที่กรุงเทพฯ อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ ชี้แจงว่าไม่ใช่สาเหตุหลักที่ทําให้เกิด PM2.5 ในพื้นที่กรุงเทพ กรมควบคุมมลพิษได้ประสานไปทางสํานักงานเลขาธิการอาเซียน เพื่อแจ้งประเทศกัมพูชาถึงสภาพปัญหาและ ผลกระทบที่เกิดกับประเทศไทยแล้ว
โดยมาตรการเร่งด่วนในที่ประชุมเมื่อวันที่ 16 ม.ค. ที่เพิ่มเติมคือ การเพิ่มจุดตรวจรถยนต์ควันดำ , ห้ามจอดรถริมถนนสายหลักตลอด 24 ชม. เพื่อระบายรถติด , ให้รถเมล์ ขสมก. ปรับมาใช้น้ำมันดีเซล B20 ภายใน 1 ก.พ.นี้ , ให้ ขสมก. ตรวจสอบควันรถร่วมบริการ , เร่งให้การก่อสร้างรถไฟฟ้าที่กินพื้นผิวถนน คืนพื้นที่โดยเร็ว และพิจารณาขอความร่วมมือให้ประชาชนทำงาน(บางประเภท)ที่บ้านแทนการขับรถออกมาทำงานนอกบ้าน
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: